“จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” คุณค่าศิลปะในชีวิต

26 พ.ค. 2566 | 09:11 น.
อัปเดตล่าสุด :26 พ.ค. 2566 | 09:37 น.

ด้วยความหวังที่จะเห็นทุกคนกลับมามีพลัง “ข้ามผ่านวิกฤตหลังโควิด 19” ไปพร้อมกัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” จัดการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ประจำปี 2566

ศิลปะ เป็นคำที่มีความหมายมากมาย จนไม่สามารถจำกัดความได้ 

ศิลปะมีอยู่ในทุกด้านทุกมุมมองของชีวิต ไม่จำเป็นต้องเป็นการวาดรูป หรือ การเรียนเกี่ยวกับสีเท่านั้น แต่งานศิลปะยังมีอีกหลากหลายแขนงให้เลือกทำ เช่น การจัดดอกไม้ การพับกระดาษ การถักโครเชต์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นงานศิลปะที่ให้ประโยชน์

จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต

ศิลปะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร ?

1. ช่วยเยียวยาและรักษาจิตใจ ลดความเครียด

งานศิลปะสามารถลดความเครียดได้โดยตรง หากเริ่มรู้สึกไม่สงบ เครียด ให้ลองหยุดทุกอย่างและใช้ศิลปะเยียวยาและรักษาจิตใจ เช่น วาดรูป ฟังเพลง ทำงานฝีมือ นอกจากนี้ศิลปะยังถูกใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชได้อีกด้วย 

2. ทำให้มีสมาธิและเป็นคนละเอียดมากขึ้น 

ในยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีมากมาย ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจทำให้จิตใจไม่นิ่ง ศิลปะจะช่วยให้เรามีสมาธิ สามารถโฟกัสกับสิ่งต่างๆได้นานขึ้น มีความใส่ใจและความละเอียด จึงเป็นการฝึกสมาธิอีกรูปแบบหนึ่ง 

3. ทำให้เราใส่ใจสิ่งรอบตัว

การมีศิลปะในใจ ทำให้มองทุกอย่างสวยงามและอยากให้ทุกอย่างสวยงามเช่นกัน เราจะเป็นคนเอาใจใส่สิ่งต่างๆมากขึ้น เช่น การดูแลตกแต่งบ้าน การจัดสวน การดูแลคนใกล้ชิด แม้แต่การใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสังคมด้วย

4. เข้าใจและดูแลตัวเองดีขึ้น

ศิลปะเปิดโอกาสให้เราตีความสิ่งต่างๆให้สอดคล้องกับมุมมองของชีวิต เป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ถ่ายทอดความคิดออกมาได้ง่ายขึ้น และคนที่มีศิลปะในจิตใจมักจะชอบให้ตัวเองดูสวยงาม ดูดี ซึ่งการดูแลตัวเอง เป็นการแสดงถึงภาพลักษณ์ และอัตลักษณ์ของคนๆนั้น ซึ่งสร้างบุคลิกดึงดูดแก่ผู้พบเห็นได้

5. ช่วยเตือนสติคนในสังคม

ผลงานศิลปะ สามารถสร้างข้อคิดเตือนใจในการใช้ชีวิตได้ หรือเป็นตัวแทนในการแสดงออกและสะท้อนถึงปัญหาสังคม ผ่านมุมมองและความคิด ทำให้คนเราตระหนักถึงสิ่งนั้นๆได้ และยังสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคมได้อีกด้วย

 

ช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม และได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนทั้งโลกโดยสิ้นเชิง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤติโควิด -19 ประชาชนทุกคนและทุกภาคส่วน เริ่มกลับมามีความหวังอีกครั้ง

ในปี 2566 ปตท. ก้าวเข้าสู่ปีที่ 45 ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่อยู่เคียงข้างคนไทยข้ามผ่านวิกฤต

มาหลายครั้ง ครั้งนี้ถือเป็น “ความท้าทาย” และ “โอกาส” ในการพัฒนาธุรกิจพลังงานและริเริ่มธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อ “จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต” พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มอบคุณค่าตอบแทนสังคม พัฒนาศักยภาพความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยความหวังที่จะเห็นทุกคนกลับมามีพลัง “ข้ามผ่านวิกฤตหลังโควิด 19” ครั้งนี้ไปพร้อมกัน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดศิลปกรรม ปตท.

ครั้งที่ 38 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” 

เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปิน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมถ่ายทอดเล่าความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ในช่วงชีวิตเดียวกันที่ผ่านมาพร้อมความหวังในการขับเคลื่อนไปสู่อนาคต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุของประเทศ ในรูปแบบของงานศิลปะ ผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์

ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดได้ ระหว่างวันที่ 5 - 21 มิถุนายน 2566

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • สัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
  • เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมที่ส่งเข้าประกวดด้วยฝีมือและความคิดของตนเองและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่เข้าประกวด ซึ่งจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคล หรือบริษัทอื่นใด
  • เป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าร่วมประกวดที่ใดมาก่อน

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ 

1. ระดับเยาวชน มี 3 กลุ่ม

  • กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2557)
  • กลุ่มอายุ 9 – 13 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2557)
  • กลุ่มอายุ 14 – 18 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552)

2. ระดับประชาชนทั่วไป (แจ้งเกิดก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป)

 

การส่งงานเข้าประกวด

เอกสารการรับสมัคร ประกอบด้วย

  1. ใบสมัครฉบับจริงที่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสูติบัตร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด 

(กรณีที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 

(กรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด เป็นผู้เยาว์)

  1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด มีสิทธิ์ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น ต่อใบสมัคร 1 ใบ
  2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องกรอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล พร้อมกรอกข้อมูลอื่นๆ ลงในใบสมัครอย่างละเอียดและชัดเจน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ขนาดผลงาน

ระดับเยาวชน 

  • กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี และกลุ่มอายุ 9 - 13 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 40 x 60 เซนติเมตร หรือไม่ต่ำกว่าขนาด A2 และไม่เกิน 60 x 80 เซนติเมตร หรือไม่เกินขนาด A1 ไม่รวมกรอบหรือฐาน
  • กลุ่มอายุ 14- 18 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่ำ 60 x 80เซนติเมตร และมีความกว้าง ความยาว หรือความสูง ไม่เกิน 100 เซนติเมตร ไม่รวมกรอบหรือฐาน

ระดับประชาชนทั่วไป 

  • ผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ หรือผลงานเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาด ผลงาน โดยมีความกว้าง ความยาว หรือ ความสูงไม่เกิน 200 เซนติเมตร รวมกรอบ หรือฐาน
  • ผลงานประติมากรรม หรือสื่อ 3 มิติจะต้องส่งผลงานที่มีขนาดรวมแท่น ฐาน และกรอบ (กว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 150 เซนติเมตร
  1. งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย พร้อมที่จะติดตั้งได้ ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและเหมาะสมเข้าร่วมแสดงผลงาน คณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่เข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย
  2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้ ปตท. มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ นำผลงานของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของ ปตท. โดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงที่จะไม่ให้สิทธิแก่บุคคลอื่นในการดำเนินการข้างต้น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้เอกสารใบสมัครนี้เป็นหนังสืออนุญาตให้สิทธิแก่ ปตท. ตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 (ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ในการยื่นเอกสารการรับสมัคร)

การส่งผลงาน 

1. ส่งทางไปรษณีย์ 

แนบใบสมัครฉบับจริงใส่ซองมาพร้อมกับผลงาน โดยไม่ต้องนำใบสมัครติดหลังผลงาน ซึ่งท่านสามารถใช้บริการขนส่งของบริษัทขนส่งใดก็ได้ หากส่งโดยไปรษณีย์ไทย ต้องส่งโดย EMS เท่านั้น

เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ผลงานจะต้องส่งถึงจุดรับไม่เกินวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เท่านั้น หากผลงานมาถึงเกินวันที่บริษัทฯ กำหนด ขออนญุาตตัดสิทธิ์การประกวดฯ ครั้งนี้

 

ส่งถึง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัย

ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง

จังหวัดนครปฐม 73000  หมายเลขโทรศัพท์ 09 6782 0748

 

2. ส่งผลงานด้วยตนเอง พร้อมใบสมัครฉบับจริง

  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โทร. 09 7242 9333, 09 6782 0748

ระหว่างวันที่ 12 -18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 - 16.00 น.

  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา โทร. 0 7431 7619

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 -16.00 น.

  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี  โทร. 0 3810 2222 ต่อ 2510

ระหว่างวันที่ 12 - 17 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 -16.00 น.

  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โทร. 08 5002 5455

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 -16.00 น.

  • หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5321 8280, 0 5394 4833

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 -16.00 น.

ตัดสินการประกวด   วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566

 

ประกาศผลการตัดสิน

ประกาศผลเป็นทางการในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ทาง www.pttplc.com และสื่อฯ ตามที่ ปตท.กำหนด

พิธีมอบรางวัลและการแสดงผลงาน

ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2566 ณ สถานที่ตามที่ ปตท. กำหนด