“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

11 ม.ค. 2564 | 10:51 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ม.ค. 2564 | 02:00 น.

“สายสีทอง”สร้างอีก1สถานีเอาใจคนฝั่งธนฯ ผู้ว่ากทม.ยันลากอีก900เมตรวงเงิน3,000 ล้าน

 

 

 

 

กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีทองระยะแรก1.74กิโลเมตรไปแล้วจำนวน3สถานีนับตั้งแต่วันที่ 16ธันวาคม2563 ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี   สถานีเจริญนครและสถานีคลองสาน หรือหากผู้โดยสารจะใช้บริการไปตามเส้นทาง ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จะเริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนครฝั่งเหนือ ผ่านวัดสุวรรณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน และไปสิ้นสุดที่สถานีคลองสาน ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มในอนาคต

“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

ขณะเดียวกันเพื่อให้ คนฝั่งธนฯได้ เข้าถึงระบบรางมากขึ้น และรองรับโครงการขนาดใหญ่ริมน้ำเจ้าพระยาไม่ว่าจะเป็นห้างไอคอนสยามเฟส2 คอนโดมิเนียม โรงแรมหรู ฯลฯ  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหนครระบุว่ามีแผนขยายเส้นทางในระยะที่2 อีก1สถานีคือสถานีประชาธิปก(G4) 0.9 กิโลเมตร หรือ900 เมตร งบประมาณ3,000 ล้านบาท

 

คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ไม่เกิน1ปีข้างหน้า โดยแนวสายทางตั้งอยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ส่วนใหญ่เป็นย่านเก่าแก่มีร้านรวงร้านอาหารอร่อยๆสลับกับโครงการอยู่อาศัย ในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เตรียมเปิดประมูลภายในต้นปี2564นี้

 

 

“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

ทั้งนี้สายสีทองระยะ2หากก่อสร้างครบทั้งหมด จะวิ่งตรงต่อไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก บริเวณด้านหลังอนุสรณสถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน

 

 

“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

 

 

 

เมื่อความเจริญเข้าถึง ผังเมืองกรุงเทพมหานคร ใหม่ ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก)เพิ่มพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) ให้เป็นย่านพัฒนาเชิงพาณิชย์ย่อย หรือซับซีบีดีที่ขยายจากย่านสีลม สาทร ย่านซีบีดีหลัก ข้ามฝั่งมาพร้อมกับรถไฟฟ้าเส้นนี้ ตึกเก่าทรุดโทรมกลายเป็นคอนโดมิเนียม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า เกิดขึ้นคึกคักโดยเฉพาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถเชื่อมโยงการใช้ชีวิต ระหว่างคนฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร ได้อย่างไร้รอยต่อ มองว่านับจากนี้หากต้องการเดินทางจากแหล่งงานขนาดใหญ่ใจกลางเมืองใช้เวลา เพียง 20 นาที ข้ามฝั่งมายังที่พักอาศัย เขตคลองสานได้อย่างไรข้อจำกัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด รถไฟฟ้า สั้นที่สุด ในประเทศไทย

"บีทีเอส" สร้างเพิ่ม 2 สถานีรับตึกขยาย

“คูคต-คลองสาน”คึกคัก ใช้บริการ2รถไฟฟ้าแน่น