คลองโอ่งอ่างจุดเช็คอินและสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สวยงาม ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของภาคประชาชนริมคลองและศิลปินจิตอาสา ที่มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ จนกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ท่ามกลางคลองสวนน้ำใสที่ถูกพลิกโฉมให้กลายเป็นเวนิสตะวันออก สะพานและถนนคนเดินที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
เมื่อมีการเปิดเมืองเปิดประเทศทำให้ย่านกรุงเก่าตอนปลายของเยาวราชคึกคักและเต็มไปด้วยผู้คนนักเดินทางมาบันทึกภาพ ช็อปชิม สังเกตตึกเก่า กลายเป็นแหล่งบรรเลงศิลปะร่วมสมัย สีสันจัดจ้าน ร้านหมูแผ่นหมูหยองคนไทยเชื้อสายจีนนั่งทำสดๆ พร้อมแพคถุงจำหน่วย ร้านอาหารขนาดกระทัดรัด
พื้นที่ช็อปปิ้งที่เต็มไปด้วยแฟชั่นสมัยใหม่ หากอยู่ในช่วงเทศกาล คลองโออ่างจะสร้างสีสันอย่างมากโดยเฉพาะกิจกรรมทางน้ำอย่างเทศกาลลอยกระทงและการแข่งขันเรือพาย ประดับประดาไฟระยิบระยับแข่งกับแสงดาวในยามค่ำคืน
นอกจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่นี่ จะได้เพลิดเพลินกับการเดินเที่ยวชมงานแล้ว ยังสามารถถ่ายรูปกับสตรีทอาร์ตบริเวณสะพานหันอีกด้วย
สาเหตุที่คลองโอ่งอ่างเปลี่ยนไป เกิดจากกรุงเทพมหานคร ในสมัยของพลตำรวจตรีอัศวิน ขวัญเมืองและรัฐบาลต้องการพลิกโฉมเมืองจึงจัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสภาพแวดล้อมรอบเกาะรัตนโกสินทร์บริเวณคลองโอ่งอ่าง ตั้งแต่สะพานโอสถานนท์ ถึงสะพานดำรงสถิต ความยาว 750 เมตร รวม 2 ฝั่ง ความยาว 1,500 เมตร
ปัจจุบันเมื่อแล้วเสร็จจากทางเดินริมคลองจะสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลอง ที่เรียงกัน 5 สะพาน คือ สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) สะพานภาณุพันธ์ สะพานหัน สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนท์ บริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้า อันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์
คลองโอ่งอ่าง เป็น ส่วนหนึ่งของ คลองรอบกรุงถูกขุดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเดิม โดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือที่ตำบลบางลำพู ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ใกล้กับวัดจักรวรรดิราชาวาส
นอกจากนี้คลองโอ่งอ่างยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานครในอดีตคลองโอ่งอ่าง เป็นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญของฝั่งพระนครประกอบด้วยชุมชนตลอดช่วงสองฝั่งริมคลอง และถือเป็นแหล่งขายเครื่องปั้นดินเผาของชาวจีนและมอญที่สำคัญเมือง จึงเป็นข้อสันนิษฐานของชื่อคลองโอ่งอ่างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างสะพานหันที่ถอดรูปแบบสะพานริอัลโต เมืองเวนิช ประเทศอิตาลี
ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในยุคนั้น จนเมื่อเมืองได้ขยายตัวมากขึ้น ความสำคัญของคลองก็ได้ลดลง การสัญจรส่วนใหญ่เปลี่ยนรูปแบบไปใช้บนถนน ทำให้เกิดชุมชนแออัดโดยรอบคลองและแปรเปลี่ยนสภาพเป็นคลองระบายน้ำทิ้ง
โดยเฉพาะในทางทิศเหนือของสะพานภาณุพันธุ์ไปจรดสะพานรพีพัฒนภาค ที่มีการวางหลังคาสังกะสีปิดผิวคลองทั้งหมด ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี2558 กรุงเทพมหานคร โดยมติของรัฐบาลได้ทำการรื้อถอนอาคารร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลองโอ่งอ่างเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้กลายเป็นถนนคนเดินกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯเนื่องจากถูกบดบังทัศนียภาพมานานกว่า 40 ปี
แม้บริเวณคลองโอ่งอ่าง จะเป็นเขตอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ แต่ความทันสมัยต้องยกให้ ทั้งแหล่งรวมแฟชั่น มีการปรับปรุงสะพานข้ามคลอง 5 แห่ง ได้แก่ สะพานดำรงสถิต สะพานภาณุพันธ์ สะพานหัน สะพานบพิตรภิมุข และสะพานโอสถานนท์ ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพิ่มเติม จำนวน 46 ตัว
เพื่อดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชน ตลอดจนการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองโอ่งอ่างให้มีความสะอาดสวยงามและร่มรื่น รวมทั้งดำเนินการขุดลอกคลองช่วงสะพานดำรงสถิตถึงสะพานภานุพันธ์ จากเดิมความลึกของคลองอยู่ที่ระดับ -1.50 ม.รทก. (เมตร ระดับน้ำทะเลปานกลาง) โดยขุดลอกคลองในระดับความลึก -3.40 ม.รทก. (เมตร ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
สำหรับประชาชนสามารถเดินทางมาได้ทาง รถไฟฟ้าใต้ดิน รถประจำทาง 8 สาย ได้แก่ สาย 4/5/7/21/37/40/85/529 มีจุดจอดรถบริเวณ ลานจอดรถข้างสถานีรถไฟฟ้าสามยอด,อาคารจอดรถทนุไทย, อาคารจอดรถเมก้าพลาซ่า, ลานจอดรถเวิ้งนาครเขษม, ลานจอดรถสแลนเขียว, อาคารจอดรถการไฟฟ้า, ลานจอดห้างอินเดีย, ลานจอดรถวัดเลียบ, ลานจอดวัดบพิตรพิมุข และลานจอดวัดจักรรรดิได้ทุกวัน