24 มีนาคม 2565 - บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล จำกัด หรือ FPIT ในเครือ FPT กลุ่มเจ้าสัวเจริญ โดยนายโสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FPIT เปิดเผยถึงแผนธุรกิจปี 2565 และ ระยะ 5 ปีข้างหน้า ว่า จากการฟื้นตัวของภาคส่งออกไทย หลังสถานการณ์โควิด19 และการกลับเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้พื้นที่พาณิชย์เชิงอุตสาหกรรมกลับมาเติบโต และเป็นโอกาสของธุรกิจอย่างมาก
อีกทั้ง ยังมองว่า ในอนาคต อาคารอุตสาหกรรม จะกลายเป็นตัวกลางของการทำธุรกิจในหลายประเภท ซึ่งพื้นที่โรงงาน คลังสินค้า ในรูปแบบต่างๆ จะเข้ามามีความสำคัญอย่างมาก พลิกโฉมจากอดีต ให้ผู้ผลิต และลูกค้ามาเจอกันเร็วขึ้น เพียงไม่กี่ชั่วโมง ผ่านการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่กำลังจะเติบโตอย่างรวดเร็ว
สานต่อกลยุทธ์น่านน้ำสีม่วง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับโอกาสข้างต้น ภายใต้กรอบกลยุทธ์ ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2564 ในแง่ “น่านน้ำสีม่วง” (Purple Ocean Strategy) และวางยุทธศาสตร์ “เราพร้อม” (We are ready) และ “เราต่าง” (We are different) นั้น สำหรับปี 2565 ได้จัดงบลงทุนเพิ่มจำนวน ราว 1 หมื่นล้านบาท จัดงบลงทุนเพิ่มจำนวน หนึ่งหมื่นล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในโครงการปัจจุบัน และโครงการเมกะโปรเจ็คท์ รวมถึงการขยายฟุตพรินท์ในต่างประเทศ โดยโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย ด้วยความมุ่งมั่นของ FPIT ในการพลิกโฉมการให้บริการอสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรมสู่ยุคใหม่ การันตีด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ซึ่งจะมีเพิ่มไฮไลท์ในทุกมิติ ได้แก่
" ในปี 2565 นี้ บริษัทฯ จะต่อยอดความสำเร็จของกลยุทธ์น่านน้ำสีม่วง ที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และเพิ่มขีดสามารถขององค์กรเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19 สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นำเสนอจุดแข็งที่โดดเด่นและแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นอย่างชัดเจน ในปีนี้ บริษัทฯ มีแผนจะลงนามสัญญาพัฒนาอาคารอุตสาหกรรมใหม่ พื้นที่รวมกว่า 200,000 ตารางเมตร และยังมีลูกค้าในไปป์ไลน์ที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาอีกจำนวนมาก เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่อาคารโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก "
FPIT วาง 5 ปีทุ่ม 5 หมื่นล้าน ขยายพอร์ตโฟลิโออาคารอุตสาหกรรม
นายโสภณ ยังระบุว่า ปัจจุบัน FPIT มี พอร์ตโฟลิโออาคารอุตสาหกรรมของ ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยมีพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการรวมทั้งสิ้น 3.1 ล้านตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งยังมีโรงงานมาตรฐานและคลังสินค้าสำเร็จรูปพร้อมให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการพื้นที่แบบเร่งด่วน FPIT ยังคงเป้าหมายในการขยายพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการรวมสู่ 4 ล้านตารางเมตร ภายในปี 2568 หรือ ตั้งเป้าขยายพื้นที่ 150,000-200,000 ตารางเมตรต่อปี
นอกจากการลงทุนในประเทศไทยแล้ว FPIT ยังใช้ประสบการณ์ที่มีเพื่อลงทุนในต่างประเทศ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2558 ที่บริษัทฯได้เริ่มเข้าไปลงทุนในธุรกิจพัฒนาคลังสินค้าสำหรับเช่าในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีพื้นที่ให้บริการรวมกว่า 150,000 ตารางเมตร และล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมา FPIT ได้ขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม ที่เมืองบินห์เยือง ประเทศเวียดนาม ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าอย่างท่วมท้น จึงเตรียมเดินหน้าเปิดโครงการเฟส 2 เพิ่มเติมอีก 70,000 ตารางเมตร จึงจะทำให้บริษัทฯ มีพื้นที่เช่าให้บริการในประเทศเวียดนามรวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 ตารางเมตร
ขณะระยะ 5 ปี วางงบลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ไว้ทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยต่อปี 1 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทวางเป้าหมายรายได้จากค่าเช่าที่ระดับ 5,000 ล้านบาท เติบโต 10% จากปีก่อน ซึ่งรายได้ของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของรายได้รวมในพอร์ต FPT
เดินหน้าปั้นที่ดินเปล่าในมือ 3 โลเคชั่นศักยภาพ กว่า 8,000 ไร่
สำหรับ ศักยภาพด้านทำเลซึ่งเป็นจุดแข็งของกลุ่มธุรกิจ FTIP นั้น นายโสภณ เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทและภายใต้กลุ่มบริษัท มีที่ดินเปล่า ซึ่งเป็นแลนด์แบงก์สะสมพร้อมนำมาพัฒนาราว 8,000 ไร่ แบ่งใน 3 พื้นที่สำคัญ ได้แก่
"กลยุทธ์การแข่งขัน จากการเร่งตัวของคู่แข่งที่เข้ามาในอุตสาหกรรมมากขึ้น ยังเป็นเรื่องของศักยภาพทำเลที่เรามี เป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากซื้อ ประมูลสะสมไว้ค่อนข้างเยอะ อีกด้าน ด้วยอาคารแบบมาตรฐาน ทำให้ได้สัญญาเช่า เก็บค่าเช่าแบบระยะยาว เป็นน่านน้ำหลักที่เรามีประสบการณ์ ขณะเดียวกัน ลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการอาคารรูปแบบสั่งสร้าง เราก็มีความพร้อมในการออกแบบให้ด้วย ตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ 60% ของตลาดภายใน 5 ปี "
ส่วนโปรเจ็กต์เปิดใหม่ในปีนี้ 4 แห่งนั้น ประกอบไปด้วย
"สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่ใหม่ ปี 2565 หลักๆ คือ เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ โลจิสติกส์-บิสเนสปาร์คขนาดเล็กใกล้เมือง ซึ่งจะกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยบริษัทฯ จะใช้ประสบการณ์และความชำนาญที่สั่งสมมายาวนานกว่า 30 ปี พร้อมกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ "
"ตัวแปรของธุรกิจ คือ อาณาจักรพื้นที่ บริเวณ บางนา - ตราด ราว 4.6 พันไร่ ซึ่งมีเป้าหมาย ต้องการพลิกเป็น ทาวน์ชิฟขนาดใหญ่ และมีความเป็นไปได้ ที่อาจจะออกมาในรูปแบบ มิกซ์ยูสผสมผสาน กับ 2 ธุรกิจหลักในเครือ ทั้งโครงการที่อยู่อาศัย และพื้นที่คอมเมอร์เชียล เราจะทดลองในทาวน์ชิฟแห่งนี้ ขณะนี้กำลังทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อทำให้เกิดขึ้นมาได้จริงๆ "
3 ปัจจัยหนุนพื้นที่อุตสาหกรรมโต
นายโสภณ กล่าวสรุปว่า พื้นที่เชิงอุตสาหกรรมของไทยได้รับอานิสงค์เติบโตสูงขึ้นมา 40-50% จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.การเร่งเครื่องกลับอีกครั้งของภาคการส่งออก ทำให้หลายภาคธุรกิจมีความต้องการด้านพื้นที่สต็อกสินค้า ขณะเดียวกัน ก็กังวลถึงปัญหาซัพพลายเชน ทำให้มีการขยายพื้นที่ จึงเป็นโอกาสของธุรกิจ 2. ความขัดแย้งของมหาอำนาจ แต่กลายเป็นโอกาสของไทย ทำให้ไทยไปอยู่พื้นที่โลก เป้าหมายประเทศที่นักลงทุนอยากย้ายฐานการผลิตเข้ามา และ 3.เทคโนโลยีดิสรัปชั่น เป็นเทรนด์เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว โดยทำให้อสังหาฯ ที่เคยต้องใช้ทุนในการพัฒนาจำนวนมาก ปรับมาสู่การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้มาก ซึ่งจะเป็นโจทย์ท้าทายให้บริษัทต้องปรับให้ทัน
อีกทั้ง เรื่องราคาน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามยูเครน- รัสเซีย ทำให้ธุรกิจภาคการส่งออกได้รับผลกระทบอีกครั้ง ด้วยค่าขนส่งที่แพงขึ้น ระบบคอนเทนเนอร์มีบทบาทสำคัญ ข้อดี อาจมีลูกค้าเช่าเก็บโรงงาน คลังสินค้าเพื่อเก็บของต่อ เนื่องจากส่งออกไปยุโรปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ยืดเยื้อรุนแรงขึ้น การลงทุนข้ามชาติก็อาจมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งจะกระทบต่อพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม ธุรกิจของเรา