ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เผยภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยว่า ยอดขายใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 2,242 หน่วย เพิ่มขึ้น 18.5% มูลค่ารวมอยู่ที่ 8,284 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นการเติบโตในส่วนของบ้านแนวราบถึง 1,748 หน่วย มูลค่า 6,717 ล้านบาท ส่วนอาคารชุดมียอดขาย 494 หน่วย มูลค่า 1,566 ล้านบาท
จังหวัดนครราชสีมายังเป็นอันดับหนึ่งด้านยอดขายบ้านแนวราบสูงสุดที่ 767 หน่วย มูลค่า 2,952 ล้านบาท ขณะที่ขอนแก่นมียอดขายอาคารชุดมากที่สุดที่ 238 หน่วย มูลค่า 404 ล้านบาท
นอกจากนี้ นครราชสีมามีมูลค่าอาคารชุดขายใหม่ประมาณ 1,115 ล้านบาท จากยอดขายเพียง 227 หน่วย ทั้งนี้ เป็นผลจากจากราคาขายต่อหน่วยในจังหวัดนครราชสีมาที่สูงกว่าจังหวัดอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในพื้นที่เขาใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยระดับพรีเมียม
ขณะเดียวกันการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง 51.6% ที่ 1,457 หน่วย มูลค่า 5,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการเลือกที่จะชะลอการเติมสินค้าใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอุปทานส่วนเกิน
อย่างไรก็ตาม ด้วยยอดขายประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายลดลง 12.2% เหลือ 11,278 หน่วย มูลค่า 41,832 ล้านบาท
โดยนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีบ้านแนวราบเหลือขายสูงสุดถึง 4,310 หน่วย มูลค่า 16,997 ล้านบาท ตามมาด้วยขอนแก่น มีจำนวน 2,591 หน่วย มูลค่า 10,758 ล้านบาท
ขณะที่จังหวัดขอนแก่นมีอาคารชุดเหลือขายสูงสุดจำนวนหน่วยที่ 1,205 หน่วย มีมูลค่าเพียง 2,066 ล้านบาท แต่นครราชสีมามีมูลค่าอาคารชุดเหลือขายมากถึง 4,089 ล้านบาท ด้วยจำนวนเหลือขายเพียง 806 หน่วย
อย่างไรก็ตาม จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น ยังคงเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาค โดยนครราชสีมามีการเสนอขายที่อยู่อาศัยมากที่สุด 6,110 หน่วย มูลค่า 25,152 ล้านบาท ขอนแก่นตามมาเป็นอันดับสองด้วยจำนวน 4,478 หน่วย มูลค่า 14,936 ล้านบาท เป็นสองจังหวัดมีการเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุดในภูมิภาคนี้
ในครึ่งปีแรก 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมทั้งสิ้น 6,110 หน่วย ลดลง 7.1% เป็นมูลค่า 25,152 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6.5% โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 5,077 หน่วย มูลค่า 19,948 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 1,033 หน่วย มูลค่า 5,204 ล้านบาท
โดยมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 596 หน่วย ลดลง 43.9% มูลค่า 2,374 ล้านบาท ลดลง 35.4% ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 994 หน่วย เพิ่มขึ้น 33.2% มูลค่า 4,066 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 46.6%
สำหรับที่อยู่อาศัยเหลือขายมีจำนวน 5,116 หน่วย ลดลง 12.3% มูลค่า 21,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ทั้งนี้ คาดการณ์ในปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 1,810 หน่วย มูลค่า 10,509 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 1,945 หน่วย มูลค่า 8,583 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 5,181 หน่วย มูลค่า 21,548 ล้านบาท
ในครึ่งปีแรก 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมทั้งสิ้น 4,478 หน่วย มูลค่า 14,936 ล้านบาท ลดลง 10.2% และ 6.9% ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,035 หน่วย มูลค่า 12,466 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 1,443 หน่วย มูลค่า 2,470 ล้านบาท
โดยมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 635 หน่วย ลดลง 54% มูลค่า 2,233 ล้านบาท ลดลง 49.3% ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 682 หน่วย ลดลง 7.7% มูลค่า 2,112 ล้านบาท ลดลง 19.8%
สำหรับจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขาย 3,796 หน่วยลดลง 10.7% มูลค่า 12,824 ล้านบาท ลดลง 4.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ทั้งนี้ คาดการณ์ในปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 2,140 หน่วย มูลค่า 6,686 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 1,969 หน่วย มูลค่า 5,781 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 3,906 หน่วย มูลค่า 12,736 ล้านบาท
ในครึ่งปีแรก 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมทั้งสิ้น 1,158 หน่วย มูลค่า 3,567 ล้านบาท ลดลง 16.2% และ 17.6% ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,107 หน่วย มูลค่า 3,484 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 51 หน่วย มูลค่า 83 ล้านบาท
โดยมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 88 หน่วย ลดลง 70.1% มูลค่า 289 ล้านบาท ลดลง 66.7% ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 217 หน่วย เพิ่มขึ้น 13.6% มูลค่า 705 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5%
สำหรับจำนวนหน่วยเหลือขาย 941 หน่วยลดลง 21% มูลค่า 2,861 ล้านบาท ลดลง 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ทั้งนี้ คาดการณ์ในปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 437 หน่วย มูลค่า 1,360ล้านบาท จำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 495 หน่วย มูลค่า 1,674 ล้านบาท จำนวนหน่วยเหลือขาย 1,049 หน่วย มูลค่า 3,266 ล้านบาท
ในครึ่งปีแรก 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมทั้งสิ้น 1,159 หน่วย ลดลง 11.1% เป็นมูลค่า 4,569 ล้านบาท ลดลง 14.6% โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,159 หน่วย มูลค่า 4,569 ล้านบาท
โดยมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 131 หน่วย ลดลง 39.1% มูลค่า 422 ล้านบาท ลดลง 63% ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 233 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 มูลค่า 998 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58%
สำหรับจำนวนหน่วยเหลือขาย 926 หน่วยลดลง 18.6% มูลค่า 3,571 ล้านบาท ลดลง 24.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ทั้งนี้ คาดการณ์ในปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 249 หน่วย มูลค่า 1,241 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 372 หน่วย มูลค่า 1,448 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 858 หน่วย มูลค่า 3,569 ล้านบาท
ในครึ่งปีแรก 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมทั้งสิ้น 615 หน่วย มูลค่า 1,892 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.4% และ 21.2% ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 615 หน่วย มูลค่า 1,892 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 11 หน่วย มูลค่า 9 ล้านบาท
โดยมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 7 หน่วย ลดลง 87.9% มูลค่า 16 ล้านบาท ลดลง 92.3% ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 116 หน่วย เพิ่มขึ้น 136.7% มูลค่า 402 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162.2% จำนวนหน่วยเหลือขาย 499 หน่วย เพิ่มขึ้น 16% มูลค่า 1,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ทั้งนี้ คาดการณ์ในปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเข้ามาในตลาดจำนวน 219 หน่วย มูลค่า 586 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 195 หน่วย มูลค่า 614 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 538 หน่วย มูลค่า 1,636 ล้านบาท
นอกจากนี้ REIC ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ภาพรวมที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัดจะมีที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในตลาดจำนวน 4,855 หน่วย มูลค่า 20,381 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 4,976 หน่วย มูลค่า 18,100 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย 11,532 หน่วย มูลค่า 42,755 ล้านบาท
โดยคาดการณ์หน่วยขายได้ใหม่จะเพิ่มขึ้น 21.2% โดยมีอัตราดูดซับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะในกลุ่มโครงการอาคารชุด
ดร.วิชัย กล่าวเสริมว่า ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิศทางการฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น มีการพัฒนาของยอดขายในประเภทบ้านเดี่ยวที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราดูดซับโดยภาพรวมดีขึ้น
รวมถึงพื้นที่เขาใหญ่-ปากช่องได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่กลับมา และขอนแก่นมีการพัฒนาโครงการอาคารชุดมากที่สุดในภูมิภาค แต่ยังคงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเติมสินค้าใหม่เข้าตลาดในกลุ่มของทาวน์เฮ้าส์
ด้านจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม เริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวจากการทรงตัวของยอดขาย อย่างไรก็ตามทั้ง 3 จังหวัดยังคงต้องระมัดระวังในการเปิดขายโครงการใหม่ เพราะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขายยังคงมีหน่วยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวนพอสมควร