นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการใช้จ่ายงบกลางจำนวน 10,464 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากค่าไฟแพง โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าผ่าน 2 มาตรการเดิมที่เคยผ่านการเห็นชอบจากครม.ครั้งก่อน
อย่างไรก็ตามในขั้นตอนต่อจากนี้ หลังจากผ่านการเห็นชอบจากครม. แล้วสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะเสนอมติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พิจารณาตามกฎหมายต่อไป
“มาตรการการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน เป็นมาตรการเดิมที่เคยเสนอครม.ครั้งก่อน และนำมาเข้าพิจารณาในครม.อีกครั้ง โดยมีการปรับตัวเลขจากสัปดาห์ก่อน จากเดิม 11,112 ล้านบาท เป็นวงเงิน 10,464 ล้านบาท เชื่อว่าจะสามารถใช้ได้ทันในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้” นายอนุชา ระบุ
สำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าทั้ง 2 มาตรการ แบ่งเป็น
1.มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง โดยต่ออายุมาตรการเดิมออกไป 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 รวม 18.32 ล้านราย วงเงินลดลงจากเดิม 7,602 ล้านบาท เหลือ 6,954 ล้านบาท หลังจากกกพ. มีการลดค่าไฟฟ้า งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 อยู่ที่ 7 สตางค์ต่อหน่วย
2.มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย โดยจะให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาทต่อราย เฉพาะบิลเดือนพฤษภาคม 2566 รวม 23.4 ล้านคน ใช้งบกลาง 3,510 ล้านบาท
มาตรการลดค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง
มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มเปราะบาง 4 เดือน ในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2566 โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายละเอียดการช่วยเหลือแยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
มาตรการช่วยค่าไฟฟ้าเร่งด่วน
มาตรการช่วยเหลือประชาชนระยะเร่งด่วน เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนในส่วนของค่าไฟฟ้า ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6% มีรูปแบบการช่วยเหลือ ประกอบด้วย