ราคาน้ำมันวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ในเดือนกรกฏาคม
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่าเพียงเดือนกรกฏาคมเดือนเดียว "ราคาน้ำมัน" เบนซิน แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นถึง 3.20 บาทต่อลิตร
โดยมีการปรับราคาขึ้น-ลงทั้งหมด 13 ครั้ง (ข้อมูลถึงวันที่ 26 ก.ค.66) ประกอบด้วย
ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกเบนซิน และแก๊สโซฮอลในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่นปัจจุบัน เป็นดังนี้
กลุ่มน้ำมันเบนซิน
ประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ก็คือ เรื่องของค่าการตลาดว่าอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ เหตุใดน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ถึงปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ต่อเรื่องค่าการตลาดดังกล่าวกระทรวงพลังงานชี้แจงได้ 2 สาเหตุ ได้แก่
จากข้อมูลของ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) วันที่ 25 ก.ค. 66 พบว่า ค่าการตลาดต่ำสุดของกลุ่มเบนซินอยู่ที่ประมาณ 3.0288 บาทต่อลิตร โดยเป็นชนิดเบนซิน 95 สูงสุดอยู่ที่ 4.4753 บาทต่อลิตร จากชนิด E85 ส่วนดีเซลอยู่ที่ประมาณ 1.8187 บาทต่อลิตร
ส่วนราคาน้ำมันดีเซลนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม เห็นชอบให้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ประมาณ 32 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป รองรับการสิ้นสุดของมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี กลไกการอุ้มราคาของกองทุนน้ำมันฯครั้งนี้ ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาสิ้นสุด แต่จะยึดสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯเป็นหลัก
ปัจจุบันฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 ติดลบอยู่ที่ 48,477 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมันติดลบ 3,124 ล้านบาท และบัญชีแอลพีจีติดลบ 45,353 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานยืนยันว่าจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเกิน 110-125 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะมีการทบทวนราคา เพราะหากแบกรับราคา 32 บาทต่อลิตรอาจไม่ไหว ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดิบโลกยังอยู่ระดับไม่เกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนฐานะกองทุนน้ำมันฯในปัจจุบันแม้จะติดลบถึง 48,477 ล้านบาท แต่มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นหลังจากได้เงินกู้ยืมเข้ามาเติมในระบบ ซึ่งขณะนี้กองทุนชำระหนี้ให้ผู้ค้ามาตรา 7 ไปแล้วประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท จากการอุดหนุนราคาดีเซลไปก่อนหน้านี้ ทำให้เหลือเงินกู้อีกประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท สามารถนำมาใช้อุดหนุนราคาน้ำมันได้ จากเงินกู้ที่บรรจุเป็นหนี้สาธารณะแล้ว 1.1 แสนล้านบาท
ดังนั้น ยังเหลือวงเงินกู้ที่ยังไม่บรรจุเป็นหนี้สาธารณะอีกประมาณ 4 หมื่นล้านบาท จากกรอบวงเงินกู้ทั้งสิ้น 1.5 แสนล้านบาท