"ลดราคาน้ำมัน"หนึ่งในนโยบายทางด้านพลังงานของพรรคเพื่อไทย ที่ประกาศไว้ตั้งแต่ช่วงหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมา
อีกทั้ง "เศรษฐา ทวีสิน" นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยก็ได้ลั่นวาจาว่า จะลดราคาน้ำมันทันทีหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปดูความเป็นไปได้ของการทำนโยบายลดราคาน้ำมันทำทันทีของพรรคเพื่อไทย
ปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลมีนโยบายให้ตรึงไว้ไม่เกิน 32 บาทต่อลิตร โดยใช้กลไกลของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาช่วยอุดหนุน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 6.43 บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบจากแนวทางที่จะดำเนินการของพรรคเพื่อไทย และแนวทางที่กระทรวงพลังงานคาดว่าจะสามารถทำได้ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นั่นก็คือการใช้กลไกลจากการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมาก็เคยใช้กลไกลดังกล่าวนี้มาก่อน โดยสิ้นสุดมาตรการไปเมื่อ 20 ก.ค. 66
-แนวทางลดราคาน้ำมัน
ล่าสุดนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 พรรคเพื่อไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โพสเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีข้อความระบุถึงแนวทางการลดราคาน้ำมัน ว่า
"ลดราคาน้ำมันดีเซล ทันทีโดยใช้กลไกการปรับลดภาษีสรรพสามิต ส่วนระยะต่อไปจะเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อปรับโครงสร้างราคาและภาษี ให้ราคาปรับลดลงอย่างยั่งยืน ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซิน จะมีการพิจารณาช่วยเหลือชดเชยแบบเฉพาะกลุ่ม"
โดยแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน ซึ่งระบุว่า แนวทางการลดราคาน้ำมันดีเซลที่ดำเนินการได้ ประกอบด้วย
เช่นเดียวกับนายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ซึ่งเคยบอกถึงประเด็นเรื่องของมาตรการช่วยเหลือราคาน้ำมันดีเซลว่า หากจะให้ลดราคาลงโดยไม่กระทบเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งแรกคือลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
-นักวิชาการชี้ลดภาษีสรรพสามิตไวสุด
อย่างไรก็ดี ฐานเศรษฐกิจ ได้สอบถามไปยังศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ถึงแนวทางการลดราคาน้ำมันที่น่าจะเป็นไปได้ โดยระบุว่า หากต้องการลดราคาน้ำมันอย่างเร่งด่วน การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันก็เป็นแนวทางมที่สามารถทำได้เร็วที่สุดในเวลานี้
"เชื่อว่านโยบายลดราคาน้ำมันเร่งด่วน ก็คงจะใช้วิธีลดภาษีสรรพสามิตแน่นอน เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยรายได้ที่จะหายไป โดยทุก 1 บาทที่ลดลลงจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่น้อย แต่ก็ไม่ใช่การเฉือนเนื้อรัฐบาล เพราะเป็นภาษีของประชาชนที่ต้องรับภาระ ซึ่งต่อไปสุดท้ายแล้วก็ต้องหาภาษีมาชดเชยส่วนที่ฟายไป"
ส่วนแนวทางอื่นที่พอจะทำได้ก็คือเรื่องการปรับค่าการตลาด ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าคงไม่ได้ช่วยมากเท่าใดนัก โดยปัจจุบันค่าการตลาดดีเซลก็ไม่ได้สูงมาก หากปรับลดลงผู้ค้าน้ำมันที่เป็นเจ้าของปั๊มก็จะเกิดการขาดทุนได้ และแย่ตามไปด้วย
ด้านราคาหน้าโรงกลั่นตามปกติก็จะเปรียบเทียบกับราคาอ้างอิงจากสิงคโปร์ ซึ่งราคาก็ไม่ความใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะนำเข้า หรือซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ หากลดราคาหน้าโรงกลั่นมากก็จะขาดทุน หรือไม่ได้กำไร
สำหรับมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีการปรับลดทั้งหดมราว 7 ครั้ง กระทบรายได้รัฐ 158,000 ล้านบาท ประกอบด้วย