"ราคาน้ำมัน" มีผลต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจึงพยายามดูแลราคาน้ำมันไม่ให้สูงจนเกินไป โดยใช้กลไกลหลักมาจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนมาตรการ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯในการอุดหนุนราคาน้ำมันตั้งแต่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเข้ามารับตำแหน่ง
สำหรับนายพีระพันธุ์นั้น ได้เข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 รวมถึงประกาศนโยบายตรึงราคาดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร
ซึ่งในเวลานั้นราคาดีเซลอยู่ที่ระดับ 31.94 บาทต่อลิตร และเคยสูงสุดที่ 33.94 บาทต่อลิตร โดยมาตรการตรึงราคาดีเซล 30 บาทต่อลิตร ได้เริ่มใช้ระหว่าง 1 ม.ค.-31มี.ค. 2567
ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 27 ส.ค. 2566 ติดลบรวม 55,091 ล้านบาทม แบ่งเป็น
ส่วนฐานะกองทุนน้ำมันฯ ล่าสุดวันที่ 5 พ.ค. 2567 ติดลบ 109,186 ล้านบาท แบ่งเป็น
เพราะฉะนั้น กองทุนน้ำมันฯ ได้อุดหนุนบัญชี LPG รวม 9 เดือนที่ 2,830 ล้านบาท ส่วนบัญชีน้ำมันอุดหนุน 51,265 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 54,095 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี กองทุนน้ำมันฯได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องรวม 105,333 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 200-250 ล้านบาท โดยยังไม่รวมเงินช่วยเหลือด้านลดภาษีน้ำมันจากกระทรวงการคลังด้วย
นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติเห็นชอบปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 95 และเบนซินแก๊สโซฮอล์ 91 ลงลิตรละ 1 บาท รวม 3 เดือน มีผล 7 พ.ย. 66 โดย 91 ลง 2.50 บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตาม ภาษีสรรพสามิตไม่ได้แบ่งแยกสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 โดยเป็นอัตราเดียวกัน ฉะนั้น จึงมีการเสนอการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ทั้ง 91 และ 95 ลงในอัตรา 1 บาทต่อลิตรเท่ากัน ซึ่งในส่วนของเบนซินแก๊สโซฮอล์ 91 และให้กองทุนน้ำมันฯ อุดหนุนเพิ่มอีก 1.50 บาทต่อลิตร ให้เป็น 2.50 บาท
ซึ่งกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวัน หากคิดอัตราที่ต้องสนับสนุน 2.50 บาทต่อลิตร จะเป็นเงินอุดหนุนอยู่ที่วันละประมาณ 18 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 500 ล้านบาท รวมการช่วยเหลือ 3 เดือนจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท