"ฝ่ายค้าน-นักวิชาการ" ชำแหละสาเหตุ "ค่าไฟแพง" ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร

05 ก.ย. 2567 | 08:40 น.
อัพเดตล่าสุด :05 ก.ย. 2567 | 09:45 น.

"ฝ่ายค้าน-นักวิชาการ" ชำแหละสาเหตุ "ค่าไฟแพง" ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร ฐานเศรษฐกิจรวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้วที่นี่ ชี้มีการวางแผนพลังงานที่ผิดพลาด นำไปสู่ปัญหาการมีโรงไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็น แนะรับบาลวางแผนพัฒนาไฟฟ้าใหม่

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ตัวแทนพรรคพลังประชาชน เปิดเผยในงานเสวนา "สาเหตุไฟฟ้าแพง ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร" ว่า ค่าไฟที่แพงขึ้นมาจากการวางแผนพลังงานที่ผิดพลาด ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการมีโรงไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็น โดยถือว่าเป็นการผลักภาระมาให้กับประชาชน ซึ่งแตกต่างจากสินค้าชนิดอื่นที่หากผลิตมากเกินไปผู้ประกอบการจะต้องแบกรับต้นทุนเอง

อีกทั้ง ยังต้องเผชิญกับปัญหาการกำหนดชนิดโรงไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการเอื้อต่อกลุ่มทุน ทั้งเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น และการเลือกโรงไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจากกรณีของเขื่อนจากประเทศเพื่อนบ้าน

"หากจะกล่าวโดยสรุปก็คือมาจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุด (PDP 2024) ซึ่งโรงไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นมีจุดเริ่มต้นจากแผนดังกล่าว โดยกล่าวอ้างว่ามีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าจากการสร้างของการไฟฟ้าผลิต (กฟผ.) ,เปิดให้เอกชนประมูล หรือทำสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นต้นเหตุของค่าไฟแพง"
 

ดร.เดชรัต กล่าวอีกว่าการคาดการณ์ที่ผิดพลาดเป็นปัญหาเดิมที่รัฐบาลไม่เคยแก้ไขเกี่ยวกับสมมติฐาน เช่น สถิติอัตราการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ไฟฟ้ากำลังลดลง แต่กาาคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละแผนที่ผ่านมายังคงพุ่งขึ้น ทำให้ปัจจุบันไทยมีโรงไฟฟ้าล้นเกินกว่า 50% ซึ่ง PDP ฉบับล่าสุดก็ยังมีการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าที่ล้นเกินจาก 2 ส่วน ประกอบด้วย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี (GDP) ที่คาดการณ์ว่าจะโตเกินกว่าความเป็นจริง และการคาดการณ์จำนวนประชากรที่มากเกินกว่าความเป็นจริง

"ฝ่ายค้าน-นักวิชาการ" ชำแหละสาเหตุ "ค่าไปแพง" ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร

"สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานแห่งชาติ (สนพ.) ใช้ชุดข้อมูลเก่าที่มีการประมาณการจีดีพีในปี 65 ซึ่งมองว่าจะโต 3.47% ในปี 67 แต่ตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าจะโตแค่ 2.6% ซึ่งต่างกันถึงเกือบ 1% ทำให้ตัวเลขสูงเกินไปเมื่อเทียบกับจีดีพีจริง ทำให้ต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม"

ทั้งนี้ จึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลใหม่จะได้มีการทบทวนแผน PDP ฉบับดังกล่าวซึ่งยังไม่ได้มีการประกาศใช้ เนื่องจากหากเป็นไปตามแผนประชาชนจะต้องจ่ายค่าไฟที่เกือบ 4 บาทต่อหน่วย แต่ในความเป็นจริงหากตัดส่วนที่เรียกว่าค่าไฟที่ล้นเกิน (Over capacity) จะสามารถลดค่าไฟลงได้อีก 50 สตางค์ต่อหน่วย 

ดร.เดชรัต กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลทบทวนส่วนที่เป็นก๊าซธรมชาติที่มีแผนจัดหามาเพิ่ม หรือที่จะจัดหามาจาก สปป.ลาว ก็จะทำให้ค่าไฟลดลงได้อีก 0.08 สตางค์ต่อหน่วย หรือรวมจะสามารถลดค่าไฟลงได้อีกเกือบ 60 สตางค์ต่อหน่วย หากรัฐบาลยังไม่เดินหน้าแผน PDP ฉบับดังกล่าว และนำกลับมาทบทวนใหม่

อีกทั้ง หากยังดำเนินการตามแผน PDP ฉบับดังกล่าวก็จะไม่สามารถทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น Net Zero ได้ตามเป้าหมายที่ปี 2065 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังเปิดช่องให้ภาคเอกชนสามารถซื้อขายไฟได้โดยตรง (Direct PPA) อีก 2,000 เมกะวัตต์จาก ไฟฟ้าสีเขียว ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปซื้อไฟ เพราะขายได้โดยตรงอยู่แล้ว

"ฝ่ายค้าน-นักวิชาการ" ชำแหละสาเหตุ "ค่าไปแพง" ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร

สำหรับข้อเสนอแนะต่อเรื่องการมีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นนั้น มองว่า ควรที่จะต้องมีการจัดทำความต้องการไฟฟ้าในอนาคตใหม่ให้สมจริง รวมถึงปรับสมมติฐาน GDP ,จำนวนประชากรให้เหมาะสม และปรับเกณฑ์ที่ใช้วัดระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในการวางแผนเชิงความน่าจะเป็น (LOLE) จาก 0.7 วันต่อปี กลับไปเป็น 1 วันต่อปี เพื่อลดโรงไฟฟ้าสำรองล้น เป็นต้น

ดร.ชาลี เตริญลาภนพรัตน์ ตัวแทนสภาองคืกรของผู้บริโภค ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าไฟฟ้ามีจุดเริ่มต้นมาจากการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะต้องมีต้นทุนค่าก่อสร้าง และเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า และค่าเชื้อเพลิง ส่วนระบบส่งไฟฟ้าก็จะต้องมีต้นทุนการพัฒนาสายส่ง และค่าการสูญเสียสายส่ง ขณะที่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะมีต้นทุนสถานีไฟฟ้าและสายส่ง ค่าบริการและบำรุงรักษา

แต่ปัจจุบันไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น โดยมีโรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้เดินเครื่อง แต่ก็ต้องมีการจ่ายค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ในรูปแบบค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งสุดท้ายก็จะถูกบวกเข้ามารวมกับค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟเกินกว่าที่ต้องจ่าย รวมถึงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีความผันผวน โดยมีความพยายามใช้ก๊าซธรรมชาติที่สูงเกินจริง และไทยต้องนำเข้ามา ซึ่งมีต้นทุนของการส้รางท่าเรือเพื่อรองรับ มีการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินไป และการวางแผน PDP ที่ไม่ดีพอ

ข้อเสนอแนะในระยะยาว ประกอบด้วย ภาครัฐจะต้องปรับกระบวนการวางแผนพัฒนาไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับแนวโน้มใหม่ และลดการพึ่งพาฟอสวิลด้วยการหยุดสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติใหม่  รวมถึงจะต้องลดการผูดขาด สร้างช่องทางการผลิตและขายไฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ลดอุปสรรคการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ขณะที่ผู้บริโภคจะต้องหันมาพึ่งพาตนเองให้เต็มที่ ทั้งการประหยัดพลังงาน ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลิตไฟฟ้าจากโซลารืเซลล์บนหลังงคา

ด้านข้อเสนอระยะสั้นในการลดค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย รัฐควรส่งเสิรมการผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์บนหลังคาแบบ Net Meterimg ซึ่งควรเริ่มได้แล้วสำหรับครัเวรือนและธุรกิจ SMEs แบบ Net Billing สำหรับภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดใหญ่

ปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ใหม่ โดยให้กลุ่มปิโคตรเคมีต้องซื้อ LPG ที่แยกจากก๊าซอ่าวไทยในราคาใกล้เคียงกับตลาดโลก โดยจะทำให้ค่าไฟลดได้ 12-15 สตางค์ต่อหน่วย เป็นต้น