เแผน 5 ปี "ปตท.สผ." ทุ่ม 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขยายธุรกิจรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน

20 ธ.ค. 2567 | 05:44 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ธ.ค. 2567 | 05:44 น.

เแผน 5 ปี "ปตท.สผ." ทุ่ม 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขยายธุรกิจรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน เผยปี 68 ยังมุ่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ ควบคู่สร้างความแข็งแกร่งและขยายลงทุนธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศ

นางชนมาศ ศาสนนันทน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานประจำปี 68 ของ ปตท.สผ. และบริษัทย่อย (ปตท.สผ.) ภายได้แผนกลยุทธ์ Drive-Decarbonize-Diversify เพื่อขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2593 

รวมถึงขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transtion) โดยจัดสรรงบประมาณประจำปี 68 รวมทั้งสิน 7,819 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) จำนวน 5,299 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายจ่ายดำเนินงาน (Operarating Expenditure) จำนวน 2,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เป้าหมายการดำเนินงานของบริษัทในปี 68 ยังคงมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย ควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งและขยายการลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยาว โดยให้ความสำคัญกับแผนงานหลัก ประกอบด้วย 
 

1. เพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมจากโครงการปัจจุบัน โครงการผลิตหลักที่สำคัญเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ได้แก่ โครงการจี 1/61 (แหล่งเอราวัณ) โครงการจี 2/61 (แหล่งบงกช) โครงการอาทิตย์ โครงการเอส 1 โครงการคอนแทร็ค 4 โครงการพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเชีย และโครงการซอติก้าและโครงการยาดานาในประเทศเมียนมาที่มีการนำก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เข้ามาใช้ในประเทศไทย 

รวมถึงโครงการผลิตหลักในต่างประเทศที่สำคัญ เช่น โครงการในประเทศมาเลเซีย และประเทศโอมาน โดยได้จัดสรรรายจ่ายลงทุน จำนวน 3,676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว

อีกทั้งยังมีแผนงานสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยครอบคลุม Scope 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและ Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ (Operational Control) 

และกำหนดเป้าหมายระหว่างทาง (Interim Targel) ในการลดปริมาณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission Intensity) จากปีฐาน 2563 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 30% และ 50% ภายในปี 2573 และ 2583 โดยตั้งงบประมาณสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2568 ทั้งสินจำนวน 77 ล้านดคคลลาร์สหรัฐ
 

2. เร่งผลักดันโครงการหลักที่อยู่ในระยะพัฒนา (Development Phase) ได้แก่ โครงการสัมปทานกาชา โครงการอาบูดาปี ออฟซอร์ 2 โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 และโครงการพัฒนาในประเทศมาเลเชีย เช่นโครงการมาเลเซีย เอสเค405ปี โครงการมาเลเซีย เอสเค417 และโครงการมาเลเซีย เอสเค438 เป็นต้น ให้สามารถริ่มการผลิตได้ตามแผนงาน โดยจัดสรรรรรรายจ่ายลงทุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,464 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

3. เร่งดำเนินการสำรวจในโครงการปัจจุบัน ทั้งโครงการที่อยู่ในระยะสำรวจ โครงการในระยะพัฒนา รวมถึงโครงการที่ดำเนินการผลิตแล้ว เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว โดยจัดสรรรรายจ่ายลงทุนจำนวน 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลของโครงการในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศเมียนมา

นางชนมาศ กล่าวอีกว่า งบประมาณ 5 ปี (ปี 2568 – 2572) ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ โดยแบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน ตั้งแต่ในปี 2568-2572 รวมจำนวน 21,249 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นรายจ่ายดำเนินงานรวมจำนวน 12,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดแล้วรวมเป็นรายจ่ายทั้งสิ้น 33,587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยงานแผนงานและการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว บริษัทคาดการณ์ปริมาณปิโตรเลียมในปี 2568-2572 ดังนี้ โดยในปี 2568 คาดการณ์ปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ย 5.07 แสนบาร์ต่อวัน ปี 2569 ที่ 5.41 แสนบาร์ต่อวัน ปี 2570 ที่ 5.28 แสนบาร์เรลต่อวัน ปี 2571 ที่ 5.85 แสนบาร์เรลต่อวัน และปี 2572 ที่ 5.81 แสนบาร์เรลต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ. ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มดำเนินการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จึงได้สำรองงบประมาณ 5 ปี (2568-25-2572) เพิ่มเติมจากงบประมาณข้างต้นอีกจำนวน 1,747 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่ง ธุรกิจดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS as a Service) ธุรกิจเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 

รวมไปถึงการลงทุนในธุรกิจและเทคโนโลยีผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำในอนาคต และการดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายต่อไป