คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567” หรือไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 รอบแรก เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2567 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา
โดยกำหนดรับซื้อไฟฟ้าเฉพาะไฟฟ้าจากพลังงานลม ไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ รวมเป็น 2,180 เมกะวัตต์ โดยจะเน้นให้สิทธิ์ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกในโครงการไฟฟ้าสีเขียว เฟสแรก แต่ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคขั้นต่ำ และได้รับการประเมินความพร้อมตามเกณฑ์คะแนนคุณภาพแล้ว ซึ่งมีทั้งสิ้น 198 ราย จะได้รับสิทธิ์ในการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 นี้ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้าพลังงานลมอยู่ที่ 3.1014 บาทต่อหน่วย และไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มอยู่ที่ 2.1679 บาทต่อหน่วย
สำหรับโครงการไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 รอบแรกนี้ เกิดขึ้นหลังจาก กกพ. เปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟสแรก ไปเมื่อเดือน เม.ย. 2566 โดยมีเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้า 5,203 เมกะวัตต์ แต่มีผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการในเฟสแรกทั้งสิ้น 175 ราย ปริมาณไฟฟ้ารับซื้อรวม 4,852.26 เมกะวัตต์ แต่เนื่องจากยังมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการอีกจำนวนมาก ทาง กพช. ในสมัยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงมีมติให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 โดยมีเป้าหมายรับซื้อ 3,668.5 เมกะวัตต์
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังจากการเลือกตั้ง และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กระบวนการเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 ที่ยังคงดำเนินต่อไป โดย กบง. เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 จึงได้กำหนดให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 รอบแรก จำนวน 2,180 เมกะวัตต์ ดังกล่าวก่อน จากนั้นจึงจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวที่เหลืออีกประมาณเกือบ 1,500 เมกะวัตต์ ในรอบต่อไป แต่ล่าสุด นายพีระพันธุ์ ได้สั่งการให้ระงับการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 ดังกล่าวแล้ว
สำหรับไฟฟ้าสีเขียวเฟสแรก ได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย. 2566 จำนวน 4,852.26 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มรวมกับระบบกักเก็บพลังงาน 994.06 เมกะวัตต์ , ไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม 2,368 เมกะวัตต์ ,ไฟฟ้าจาก๊าซชีวภาพ ไม่มีผู้ผ่านเกณฑ์ และไฟฟ้าพลังงานลม 1,490.20 เมกะวัตต์ จาก 22 โครงการ ซึ่งในส่วนของไฟฟ้าพลังงานลม มีผู้ขอยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการพิจารณาทั้ง 22 โครงการ ยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ และต้องรอผลพิจารณาตัดสินของศาลปกครองกลางให้เสร็จสิ้นก่อน
อย่างไรก็ดี ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 25 ธ.ค. 2567 มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสำหรับปี 65 –73 ปริมาณรวม 3,668.5 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ กพช. ได้เห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้มองว่าด้วยปัจจัยดังกล่าวเป็นผลให้ราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในวันนี้ปรับตัวลดลง มากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ
จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับบริษัทที่รับผลกระทบจากการชะลอโครงการดังกล่าวพบว่า ประกอบด้วย
- บริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 1 จำกัด จำนวน 41.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ด่านขุนทด วินด์ ทู จำกัด จำนวน 89.70 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท บำเหน็จณรงค์ วินด์ จำกัด จำนวน 89.70 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท กันกุล วินด์ ดีเวลลอปเมนท์ 8 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 6 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท กันกุล วินด์ ดีเวลลอปเมนท์ 3 จำกัด จำนวน 62.40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 1 จำกัด จำนวน 12 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซลาริสท์ หนองยวง จำกัด จำนวน 87 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซลาริสท์ นาแก้ว จำกัด จำนวน 72 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซลาริสท์ บ้านเอื้อม จำกัด จำนวน 48 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เฮลิออส 2 จำกัด จำนวน 61.40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เฮลิออส 1 จำกัด จำนวน 48.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด จำนวน 19.40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ดับบลิวเอชเอ โซล่าร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 5 จำกัด จำนวน 7.80 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 7 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 74.88 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 2 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 3 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 5 จำกัด จำนวน 7.80 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 3 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 6.20 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 7 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 5.30 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซลาริสท์ แม่ปุ จำกัด จำนวน 51 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซลาริสท์ น้ำพุ จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท เฮลิออส 4 จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 44.50 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เอ็กโก คลีนเทค จำกัด จำนวน 27 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เอ็กโก คลีนเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 4.20 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.80 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5.50 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 5 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 6 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 4.40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เอ็กโก คลีนเทค จำกัด จำนวน 21.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 5.55 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม ๒ จำกัด จำนวน 13.20 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อุบล เวลธ์ 1 จำกัด จำนวน 50 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เอ็กโก คลีนเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 35 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 4.90 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อุบล เวลธ์ 1 จำกัด จำนวน 40 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 28 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 35 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 33 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท บ้านปู เน็กซ์ กรีน เอนเนอร์จี จำกัด จำนวน 6.60 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 12.37 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท ราชบุรี เอ็นเนอร์ยี ฟาร์ม จำกัด จำนวน 65 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท เจเจที เอ็นเนอร์ยี จำกัด จำนวน 80 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท เมืองกาญจน์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด จำนวน 52 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 2
- บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 50 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1
- บริษัท เอ็กโก คลีนเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 79.80 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ 1