อย่าสับสน!!  58 ต้นไม้ ขายคาร์บอนเครดิตได้หมด เช็คเงื่อนไข ชัดๆที่นี่

14 พ.ย. 2565 | 20:43 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2565 | 16:47 น.

ไม้ยืนต้น 58 ชนิด ที่ใช้เพื่อกู้เงิน เหมือน หรือต่าง กับต้นไม้ 58 ชนิด ที่ขายคาร์บอนเครดิต อย่างไรบ้าง ดูให้เคลียร์ เปิดรายละเอียดชัดๆ ที่นี่ พร้อมแอพช่วยคำนวณคาร์บอนเครดิตง่ายๆ

เนื่องจากในปัจจุบัน ไม้ยืนต้น 58 ชนิด สามารถนำมาเป็นหลักค้ำประกัน เพื่อกู้เงินกับสถาบันการเงิน ตามกฎกระทรวงมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558  ที่ให้ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่าสามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้

 

ซึ่งได้แก่ 
ไม้สัก , พะยูง , ชิงชัน , กระซิก , กระพี้เขาควาย , สาธร , แดง , ประดู่ป่า ประดู่บ้าน , มะค่าโมง มะค่าแต้ , เคี่ยม เคี่ยมคะนอง , เต็ง , รัง , พะยอม
ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว , ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) , สะเดา สะเดาเทียม , ตะกู , ยมหิน ยมหอม , นางพญาเสือโคร่ง , นนทรี , สัตบรรณ , ตีนเป็ดทะเล , พฤกษ์ , ปีบ , ตะแบกนา , เสลา , อินทนิลน้ำ , ตะแบกเลือด , นากบุด ,
ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร ) , แคนา ,กัลปพฤกษ์ , ราชพฤกษ์ , สุพรรณิการ์, เหลืองปรีดียาธร , มะหาด , มะขามป้อม , หว้า ,จามจุรี , พลับพลา , กันเกรา , กะทังใบใหญ่ , หลุมพอ , กฤษณา , ไม้หอม , เทพทาโร ,ฝาง , ไผ่ทุกชนิด , ไม้สกุลมะม่วง , ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม
จะเห็นได้ว่า ในต้นไม้ 58 ชนิดนี้ ต้นไม้บางชนิดมีข้อยกเว้น ไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกัน เพื่อขอสินเชื่อได้ เช่น ไม้ยางพารา หรือ มีข้อจำกัด เช่น ไม้สกุลจำปี เฉพาะ จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร 

 

แต่หากต้องการขายคาร์บอนเครดิต จากต้นไม้ทั้ง 58 ชนิดนี้   สามารถทำได้ทั้งหมด โดยไม่มีข้อจำกัด หรือ ข้อยกเว้น

เนื่องจาก การขึ้นบัญชีโครงการ เพื่อซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ใน โครงการประเภทป่าไม้ และ พื้นที่สีเขียวนั้น มีหลักการ คือ 
ต้องเป็นไม้ยืนต้น ที่มีเนื้อไม้ และมีอายุยืนหลายปี โดยแยกได้ 3 ประเภทโครงการ คือ การปลูกป่า/ต้นไม้ , การอนุรักษ์/ฟื้นฟูป่า และ การเกษตร

 

ซึ่งโครงการแต่ละประเภท จะมีวิธีขึ้นทะเบียน และคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต ที่แต่งต่างกัน เช่น ไม้ยืนต้น จำพวก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ถือเป็นพืชเกษตร การคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตนั้น จะต้องคำนึงถึง การใช้ปุ๋ย การใช้พลังงาน ในการทำการเกษตรด้วย เพราะล้วนส่งผลต่อการเพิ่ม หรือ ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

สำหรับโครงการประเภทปลูกป่า หรืออนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ในปัจจุบัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) มีโครงการธนาคารต้นไม้ และชุมชนไม้มีค่าตั้งแต่ปี 2553 และมีแอปพลิเคชันธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) ทั้งสำหรับ ios และ android เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกธนาคารต้นไม้ในการเก็บข้อมูลต้นไม้บนโทรศัพท์มือถือแทนการจดบันทึกลงในกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกพิกัดต้นไม้ที่ปลูก วันที่ปลูก ชนิดของต้นไม้ ความโต ความสูง 

tree bank tree bank

เพราะฉะนั้น หากประสงค์ขายคาร์บอนเครดิต กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) สามารถนำโครงการทั้ง 7 ประเภท ได้แก่   

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
  2. การพัฒนาพลังงานทดแทน
  3. การจัดการของเสีย
  4. การจัดการในภาคขนส่ง
  5. การปลูกป่า/ต้นไม้
  6. การอนุรักษ์/ฟื้นฟูป่า
  7. การเกษตร

มาขึ้นทะเบียน เพื่อเปิดบัญชี T-VER credit ได้กับ อบก.