นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ได้ดำเนินการร่วมมือเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและการดำเนินงานอย่างยั่งยืนครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. ในการนำความแข็งแกร่งของแต่ละองค์กรมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจร่วมกัน โดย GC มีนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กับเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืน
ส่วน OR ดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกของไทย มีฐานผู้บริโภคทั่วประเทศ โดยคาดจะมีการขยายผลต่อยอดสู่การผสานความร่วมมือระหว่างองค์กร (Synergy) ของกลุ่ม ปตท. ในมิติด้านต่างๆ ได้อีกในอนาคตเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรและประเทศ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง CEO GC กล่าวว่า GC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยหลักความยั่งยืนภายใต้สมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Business) สร้างการเติบโตควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) การผสานร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการนำศักยภาพ จุดแข็งของ GC ในหลายมิติ
ทั้งด้านการดำเนินการด้านความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ด้านการผลิตที่มีผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ พลาสติกชีวภาพที่มีกำลังการผลิตเป็นอันดับ 1 ของโลก
,พลาสติกรีไซเคิลมาตรฐานระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน อีกทั้งมีแพลตฟอร์มการบริหารจัดการขยะพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร (YOUเทิร์น Platform) ผสาน กับ OR ที่มีจุดแข็งเชี่ยวชาญโมเดลธุรกิจ มี physical platform ที่เข้าถึงผู้บริโภค
นายดิษทัต ปันยารชุน CEO OR กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปตามแนวคิดในการผนึกกำลังของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท. ของ OR หรือ Synergy for Impact เพื่อความร่วมมือสู่การเติบโตร่วมกัน โดยอาศัยจุดแข็งของทั้ง OR และ GC ใน 4 ด้าน
อีกทั้งความร่วมมือดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน OR’s SDG ที่จะตอบโจทย์เป้าหมาย OR 2030 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน G หรือ GREEN ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon-neutrality) ภายในปี 2030 ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Carbon Zero) ในปี 2050 ต่อไป