พิชิตเป้าหมาย NET ZERO ภายในปี 2050 กับ กลุ่มปตท.

07 ก.พ. 2566 | 02:30 น.

ไทย ติดอันดับ 9 ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด กลุ่มปตท. ตั้งเป้าหมายระยะสั้น-ยาว ในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ผ่านมาตรการ 3 เร่ง “เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูกป่า” ขับเคลื่อนสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รู้หรือไม่ ? ประเทศไทย ติดอันดับ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด จากรายงานดัชนีความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศโลกปี 2021โดย German Watch ได้ประมวลข้อมูลช่วงปี 2000-2019 พบว่า ไทยมีความเสี่ยงต่อสภาพอากาศผันผวน เช่น น้ำท่วม คลื่นความร้อนสูงขึ้น น้ำทะเลเพิ่มสูง สะท้อนให้เห็นว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยเราอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดหายนะสภาพภูมิอากาศที่ยากเกินจะหลีกเลี่ยง 

 

หากย้อนกลับไปดูเมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหากับภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้น พื้นที่น้ำท่วมยังคงท่วมซ้ำซากและขยายวงกว้างมากขึ้นในพื้นที่ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อน ในปี 2565 มีจังหวัดที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย 55 จังหวัด มีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายกว่า 530,000 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 4,400,000 ไร่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้คือส่วนหนึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่วิกฤตโลกร้อนยังคงส่งผลกระทบทั่วทุกมุมโลก และทำลายสถิติความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน 

บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศไทย เราจะได้เห็นการปรับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงจากธุรกิจเดิมเพื่อไปสู่ธุรกิจใหม่หรือลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตมากขึ้น สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ ปตท. "Powering Life with Future Energy and Beyond" มุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต โดยมีมาตรการ 3 เร่ง ได้แก่  เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูกป่า เพื่อนำไปสู่การพิชิตเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 พาประเทศไทยสู่เป้าหมายที่เร็วขึ้นอีก 15 ปี

สร้างโลกที่สดใส  พิชิตเป้าหมาย NET ZERO 2050  กับ กลุ่มปตท.

เร่งปรับ - ปรับกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการที่กลุ่มปตท.ดำเนินการโดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มปตท. ลง 15% เช่น 

  • เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานไฮโดรเจนในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นเชื้อเพลิงควบคู่การใช้ก๊าซธรรมชาติ
  • ใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในอ่าวไทย และพื้นที่บนฝั่งในภาคตะวันออก
  • ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต

 

เร่งเปลี่ยน - สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • ปรับพอร์ตการลงทุน เพิ่มสัดส่วน Green Portfolio และบริหารจัดการ Hydrocarbon Portfolio
  • ลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต งบลงทุนประมาณ 32% ของงบลงทุนทั้งหมด

 

เร่งปลูกป่า - เพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก 

  • ยังคงดูแลป่า 1 ล้านไร่เดิม และกลุ่มปตท. ปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ ที่ผ่านมาปตท. ได้ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1.1 ล้านไร่ และกำลังมุ่งหน้าปลูกเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 ซึ่งจะสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 4.15 ล้านตัน/ปี พร้อมส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่โดยรอบของชุมชน 

นอกจากมาตรการเร่งปรับ เร่งเปลี่ยน เร่งปลูกป่า ที่สะท้อนถึงภาพใหญ่ระดับองค์กร ที่กลุ่มปตท. กำลังดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำแล้ว ปีที่ผ่านมา ปตท. ออกแคมเปญเพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมประหยัดพลังงานจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านภาพยนตร์โฆษณาในแคมเปญ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ได้ Salmon House โปรดักชั่นเฮ้าส์โฆษณา มานำเสนอเรื่องราวของการประหยัดพลังงานให้เข้าใจง่ายและใกล้ตัวกับผู้ชมมากที่สุด โดยมีวิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน ใน “กลยุทธ์ 4 ป. 3 ช.” ดังนี้

 

“กลยุทธ์ 4 ป.” ประหยัดค่าไฟ

ปิดไฟ - ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น และเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED 

ปรับแอร์ - ตั้งอุณภูมิแอร์ไม่ต่ำกว่า 25°C

ปลดปลั๊ก - ควรถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน

เปลี่ยนเป็นเบอร์ 5 - ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน (ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5) ซึ่งจะช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อปีได้ 

 

“กลยุทธ์ 3 ช.” ประหยัดน้ำมัน

เช็กรถ - หมั่นตรวจเช็กสภาพรถเป็นประจำ

ชัวร์เส้นทาง - วางแผนการเดินทางทุกครั้ง 

ใช้รถสาธารณะ - ประหยัดค่าน้ำมันกว่ารถส่วนตัว

 

เรื่องของปัญหาภาวะโลกร้อน ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องประเมินผลกระทบอยู่เสมอ เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทุกวัน เพราะกการดำเนินกิจกรรมบนโลกยังคงนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในทุกวินาที สิ่งที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องทำ ณ ขณะนี้ คือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติม และปรับเปลี่ยนธุรกิจ ซึ่ง กลุ่มปตท. มุ่งเน้นเรื่องของการรุกสู่ธุรกิจพลังงานในอนาคตมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้านพลังงาน ในฐานะบริษัทพลังงานของประเทศไทย