นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในงานงาน PTT Group Tech & Innovation Day ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Beyond Tomorrow: นวัตกรรม นำอนาคต” ว่าในปัจจุบันเกิดวิกฤติมากมายส่งผลให้สภภาพอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย อย่างในปี2566 เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นอย่างไม่ว่าจะเป็น พายุหิมะ อากาศเปลี่ยนเป็นยเย็นสุดขีด หรือร้อนสุดขั้ว มีคลื่นความร้อนเกิดขึ้นในหลายประเทศสร้างความเสียหายให้กับประชาชน ซึ่งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมาในรูปแบบของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปจากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น
การประชุมCOP27 ที่อียิปย์ครั้งที่ผ่านมาได้มีข้อตกลลงกับหลายประเทศร่วมกันลดการปล่อนยก๊าชเรือนกระจก โดยประเทศไทยวางแผนในการลดก๊าซเรือนกระจก และก้าวเข้าสู่สถานะ Net zero หรือ Net zero greenhouse gas emissions ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2065 และ Carbon natural หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ.2050
โดยตั้งเป้าในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก จาก Maximum ของเรา 388 ล้านตันต่อปี ลงไปเหลือ 120 ล้านตันต่อปี ส่วนแผนระยะสั้น ประเทศไทยมีแผนที่ Nationally Determined Contributions หรือที่เรียกว่า NDC ซึ่งจากนี้ไปจนถึง ปี ค.ศ.2030 ไทยตั้งใจว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 40% ประเทศไทยของเราไม่ได้เป็นประเทศที่มีดีแต่พูด ขณะนี้ประเทศไทยได้ทำตามสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยไทยให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโมเดลเศรษฐกิจ Biocircular Green Economy (BCG) ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจในกานส่งเสริมให้ชุมชนมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้กระทรวงมีการทบทวนแผนปฏิบัติการลดก๊าชเรือนกระจกรายสาขา ดังนี้ ด้านพลังงานขนส่ง จะเพิ่มการใช้พลังานทอแทน และการผลิตและใช้พลังงาน โดยเฉพาะการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในระบบสาธารณะ ส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก หรือการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน รวมถึงถังน้ำเสียในอุตสาหกรรมส่วนภาคการเกษตรเน้นส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ปรับปรุงการทำนาข้าวเพื่อลดการปล่อยมีเทน เป็นต้น
นอกจากนี้กระทรวงฯยังมีการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมโดนยคาดว่าน่าจะสามารถจัดตั้งได้ประมาณเม.ย.-พ.ค.66นี้ และในช่วงเดือนส.ค.นี้จะมีการจัดงานสัมมนาTCACครั้งที่ 2ด้วย