นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการนำ DEEP Technology ด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้บันทึก Carbon Footprint by Transaction และออกเป็น Blockchain Carbon Receipt เป็นครั้งแรกของประเทศ
ด้วยการนำเทคโนโลยี Smart Contract มาช่วยในการชดเชยคาร์บอน ทำให้งาน บัญชี แฮปปี้ Farm Fair เป็นต้นแบบการบูรณาการร่วมกับการศึกษา เกษตรและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
โดยได้นำสเนอ CBS Application แพลตฟอร์มซื้อขายที่เตรียมนำสินค้าเกษตรขึ้นมาจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้พาร์ทเนอร์อย่าง Cero มาร่วมต่อยอดแอพลิเคชัน สร้างระบบ Sustainable CRM ที่ทุกการซื้อสินค้าเกษตร และกิจกรรมที่สมาชิกทำเพื่อลดการก่อคาร์บอนในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ถุงผ้า การเอาแก้วมาเอง สามารถสแกนผ่านแอพเพื่อสะสม CBS Credit เพื่อรับสิทธิประโยชน์ และของรางวัลมากมาย และในงานนี้นิสิตในรายวิชา Entrepreneur ยังเข้ามาร่วมรับซื้อผลไม้จากเกษตรกร มาแปรรูปเป็นเมนูพิเศษ จำหน่ายผ่าน CBS Pop-Up Café อีกด้วย
อีกทั้งการจัดกิจกรรมของงานบัญชี แฮปปี้ Farm Fair ส่งฟาร์มสุขรับปีใหม่แบบยั่งยืน ตั้งเป้าเป็น Chula Carbon Neutral Fair ผ่านกิจกรรมต่างๆที่ยึดหลัก SDGs ตั้งแต่รูปแบบการจัดงานที่เป็นงานกลางแจ้งเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าให้น้อยที่สุด
และการหา Partnership และพัฒนา Business Model ใหม่ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีมาช่วยกันต่อยอดสินค้าจากเกษตรกรโดย CBE และชุมชนท้องถิ่นโดยชุมนุม SIFE ให้เกิดการซื้อขาย สร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ สินค้า และของที่ใช้ในงานยังเป็นของที่รีไซเคิลมาจากเศษวัสดุตามแนวคิดของ Circular Economy โดยงานนี้ยังมีการเชิญชวนให้ผู้มาร่วมงานนำเสื้อผ้า และของใช้ที่ไม่ใช้แล้ว มาบริจาคเพื่อแลกกับสิทธิในการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคจากเครือสหพัฒน์ ในราคาพิเศษสุดๆ พร้อมรับของแจกในงานอีกมากมาย โดยทุกกิจกรรมในงานตั้งแต่การรับถุง Recycled Shopping, ซื้อสินค้าเกษตร ชุมชนท้องถิ่น ไปจนถึงการนำแก้วมาเองสามารถเริ่มต้นสะสมเป็น CBS Credit ผ่านแอพ CBS เพื่อแลกเป็นของรางวัล และสิทธิประโยชน์มากมาย และขยะที่แยกอย่างเป็นระบบในงานนี้จะถูกส่งต่อไปรีไซเคิลหมุนเวียนใช้ต่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ศาสตราจารย์ นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ คณบดี สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งาน“บัญชี แฮปปี้ Farm Fair” ส่งฟาร์มสุขรับปีใหม่แบบยั่งยืน เป็นการจุดประกายแนวคิดความยั่งยืนให้กับสังคมและนับเป็นโอกาสดีครั้งสำคัญที่นิสิต จุฬาฯได้ทำกิจกรรมร่วมกับเกษตรกร และองค์กรภายนอก ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับนิสิต และเกษตรกร ที่จะสามารถนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ในอนาคต
"งานบัญชี แฮปปี้ Farm Fair ส่งฟาร์มสุขรับปีใหม่แบบยั่งยืน ถือเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า สถาบันอุดมศึกษาวันนี้ ไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่ให้ความรู้แต่ในห้องเรียนเท่านั้นแต่เป็นการบูรณาการนำนิสิต นักศึกษาให้ได้มาทำงานปฏิบัติจริงกับชุมชนเกษตรกรจริง โดยอาศัยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเชื่อมโยงไปถึงเรื่องคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน"
นอกจากนี้เป็นการแสดงถึงการสร้างพลังความร่วมมือกับบุคลากรมหาวิทยาลัย ที่บริบทสุดท้ายเป็นการสร้างความสุขให้กับสังคมและทุกท่านที่ได้มาร่วมงาน การจัดงานในครั้งนี้ มีความหมายมากกว่างานรื่นเริง แต่เป็นตัวอย่างที่ดีในการก้าวออกมาสร้างการเรียนรู้ และเป็น Real Business in the school อย่างแท้จริง
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า บัญชี แฮปปี้ Farm Fair ส่งฟาร์มสุขรับปีใหม่แบบยั่งยืน เป็นงานที่คณะฯ ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบในการเชื่อมโยงเกษตรกรและนิสิตในการทำธุรกิจ ในรูปแบบของ The Real Farmer Business in the school
โดยเปิดโอกาสให้มีการเชื่อมโยงเกษตรกรท้องถิ่น ที่ต้องการช่องทางในการพัฒนาแบรนด์สินค้าของตนเองในอนาคต กับนิสิต บัญชี จุฬาฯ ที่กำลังมองหาโอกาส และประสบการณ์ในการทำงานจริง ทำให้เกิดโครงการพัฒนาแผนธุรกิจใหม่ ร่วมกันระหว่าง CBE (Chula Business Enterprise) ขึ้นภายใต้แนวคิด ความยั่งยืน Sustainable Business Model