สถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.00-14.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 20.9-52.2 มคก./ลบ.ม. ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 31.6 มคก./ลบ.ม. โดยค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 9 พื้นที่ คือ
1.เขตคลองสาน
2.เขตบางกอกน้อย
3.เขตบึงกุ่ม
4.เขตทวีวัฒนา
5.เขตหนองแขม
6.เขตบางบอน
7.เขตหนองจอก
8.เขตประเวศ
9.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา
สำหรับค่าฝุ่น PM 2.5 ในกทม. ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนกระทบกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่นั้น ล่าสุดทางกรุงเทพมหานคร ได้มาไขข้อข้องใจพร้อมเปิดเหตุผลว่าทำไมค่าฝุ่นถึงสูงขึ้นจนเกินเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มและสีแดง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ
จุดเผาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน
ในประเทศพบจุดเผาในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก
ในพื้นที่กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าฝุ่นจากเครื่องตรวจวัดระดับพื้นดิน ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่จตุจักร เทียบกับ เครื่องตรวจวัดเสาสูงระดับ 110 เมตร ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อย่างไรก็ตาม จุดความร้อน (Hot Spot) คือจุดที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก ซึ่งส่วนมากก็คือความร้อนจากไฟ แสดงในรูปแบบแผนที่เพื่อนำเสนอตำแหน่งที่เกิดไฟในแต่ละพื้นที่แบบคร่าวๆ การได้มาซึ่งข้อมูลจุดความร้อนอาศัยหลักการที่ว่า ดาวเทียมสามารถตรวจวัดคลื่นรังสีอินฟราเรดหรือรังสีความร้อนที่เกิดจากไฟ (อุณหภูมิสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส) บนพื้นผิวโลก จากนั้นก็ประมวลผลแสดงในรูปแบบจุด