"อินโนเพาเวอร์" ชี้ขาด 2 ปัจจัย "AI-Sustainability" องค์กรแข่งขันได้ยาก

01 เม.ย. 2567 | 07:18 น.

"อินโนเพาเวอร์" ชี้ขาด 2 ปัจจัย "AI-Sustainability" องค์กรแข่งขันได้ยาก ระบุสิ่งที่สำคัญที่สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานได้คือเรื่องต้นทุน เผยหากผู้ประกอบการต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องกรีนมาก จะไม่สามารถแข่งขันได้

นายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยในงานสัมมนา Sustainable Daily Talk Action for Change : ทำเดี๋ยวนี้! เพื่อการเปลี่ยนแปลง หัวข้อ Action for Change : เปลี่ยนธุรกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน จัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ ระบุว่า บริษัทที่ขาด 2 ปัจจัยดังกล่าวนี้จะแข่งขันได้ยาก ได้แก่ นวัตกรรม เช่น เอไอ (AI) เพราะมาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ดี และ Sustainability

ด้าน เจพีมอร์แกน ให้ข้อมูลปีนี้น่าจะเห็นการลงทุนในเรื่องความยั่งยืนมากกว่าปีที่ผ่านมา หลายคนระบุว่าเป็นเทรนด์ไกลตัวหรือไม่ แต่ว่าความเป็นจริง เรื่องความยั่งยืนในไทยเป็นประเทศที่ตระหนักรู้ในเรื่องนี้ความยั่งยืน 

แต่ยังมีสาเหตุที่ทำไมการ Action เรื่องความยั่งยืนยังน้อยกว่าคาด โดยมี 3 เหตุผล คือ

  • เนื่องจากเรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ เรื่อง ความรู้ยังจำกัด (Gap of Knowledge & Expertise about Sustainability)
  • หลายบริษัท ยังมีความเชื่อว่า การจ่ายในเรื่อง Sustainability ไม่คุ้มค่า เพราะว่าข้อมูลมีจำกัด (Mispercepion that Sustainbility is Costly) จ่ายไปไม่เห็นผลหรือไม่เพิ่มความสามารถ 
  • เรื่องการ Allocate Resourcess to Core Business มีงบที่จำกัด แก้โดยได้มีเทคโนโลยี

"อินโนเพาเวอร์" ชี้ขาด 2 ปัจจัย "AI-Sustainability" องค์กรแข่งขันได้ยาก

สิ่งที่สำคัญที่สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานได้ คือ เรื่องของต้นทุน หากผู้ประกอบการต้องมีค่าใช้จ่ายต้นทุนเรื่องกรีนมาก จะไม่สามารถแข่งขันได้ เช่น ความมั่นคงทางด้านพลังงาน หากผู้ประกอบการกรีนบ้าง ไม่กรีนบ้าง บางช่วงผลิตไฟบ้าง ไม่ผลิตบ้าง คงไม่ส่งเสริมความยั่งยืนที่แท้จริง ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ และมีนวัตกรรมมาเสริม

สำหรับการทำ decarbonization หรือกระบวนการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มี 4 ด้าน คือ 
 

  • สร้างความตระหนักรู้ จุดเริ่มต้นไปให้ถึงเป้า เช่น หากไม่รู้ว่ามีใช้ไฟอย่างไร เครื่องมือกินไฟเท่าไรอย่างไร ไม่มีทางเข้าไปถึงเป้าหมายได้ 
  • ผู้ประกอบการต้องการสร้างผลลัพธ์รวดเร็ว หรือการซ่อมแซม ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ในช่วงต้น 
  • การเข้าไปสู่สาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะอยู่ไหม 
  • การทำงานเชิงรุก (Pro Active)

“ปีที่ผ่านมาให้ผู้ประกอบการเข้าถึงพลังงานสะอาด มากกว่า 2 ล้านหน่วย และล่าสุด 2 เดือนที่ผ่านมา เปิดให้ผู้ประกอบการรายย่อยผลิตพลังงานสะอาดเอง สามารถเข้าสู่แพลตฟอร์ม REC ภาคประชาชน เมื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักตัวเองแล้ว สิ่งสำคัญ คือ ต้องพัฒนาไป Root Cost ด้วย”

นายอธิป กล่าวอีกว่า บริษัทอินโนเพาเวอร์ยังได้ลงทุนบริษัทและสตาร์ทอัพต่างๆ รวมถึงจับมือพันธมิตร เพื่อไปสู่การเปลี่ยนผ่านลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่อีวี (EV) ซึ่งผลของปีที่ผ่านมาการทำ decarbonization เป็นโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ที่เป็นพรีเมียม ปีที่แล้วบริษัทโต 700% จากการทำธุรกิจเกี่ยวกับ decarbonization และมีพาร์ทเนอร์มากกว่า 80 แห่งในไทย 

สิ่งสำคัญ คือ จากเป้าหมายของบริษัท สามารถลดคาร์บอนเทียบเท่าได้ถึง 1 ล้านตัน แต่บริษัทยังเป็นบริษัทหนึ่ง ที่อยากจะช่วยสิ่งแวดล้อมของไทยดีขึ้นได้

“ต้องบอกว่าเรื่องของ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของทุกคน ไทยปล่อยคาร์บอนเกินค่าเฉลี่ยอยู่มาก อินโนพาวเวอร์เป็นแค่บริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่งที่มีความฝัน ต้องการจะช่วยให้สิ่งแวดล้อมประเทศไทยดีขึ้นได้ เทียบเท่าปลูกต้นไม้ 45 ล้านต้น และให้แข่งขันได้ในตลาดใหม่ๆ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต ดังนั้นจึงต้องการชวนให้ทุกคน Action for change”