Z-Touch นวัตกรรมแผ่นฆ่าโควิด จุดสัมผัสร่วม

22 พ.ค. 2564 | 22:35 น.

เชื้อไวรัสโควิด 19” สามารถอยู่ในอากาศประมาณ 4 ชั่วโมง แต่หากติดอยู่บนพื้นผิวจะมีอายุยาวนานได้ถึง 4 วัน  ทั้งที่มือจับเปิดปิดประตู ปุ่มกดลิฟต์  หรือ สมาร์ทโฟน ซึ่งการเกาะติดบริเวณจุดร่วมสัมผัสต่างๆ  ถือเป็นแหล่งทำให้เกิดการแพร่กระจายของ “เชื้อไวรัสโควิด 19”

 จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทำให้สตาร์ตอัพไทย อย่างบริษัท ลีฟคลีน เทคโนโลยี จำกัด  ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องมือฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ร่วมมือกับพันธมิตรจากประเทศเกาหลี ที่มีเทคโนโลยีไมโครพอรัสเลเยอร์ (Micro-Porous Layer) ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโควิด ที่มีขนาด 0.1 ไมครอน และสมาร์ทนาโนไอออน นวัตกรรมการฆ่าเชื้อโควิดได้  99.9%  พัฒนาแผ่น “Z-Touch” เพื่อให้ติดตามจุดสัมผัสต่างๆ

นายวิษณุ จินตนาศิริกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลีฟคลีน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าบริษัท ได้มีการผลิตเครื่องมือเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ที่ผ่านมาได้มีการผลิตเครื่องฆ่าเชื้อ UVZ และ Delivery Box ที่มีการส่งออกไป12 ประเทศ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ “เชื้อไวรัสโควิด 19” ทางบริษัทซึ่งมีความสนใจและศึกษาเรื่อง “นาโนเทคโนโลยี”  แล้วไปพบกับนวัตกรรมของพันธมิตรจากเกาหลี จึงได้ร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฆ่าเชื้อแบบแห้งซีทัช (Z-Touch) นวัตกรรมแผ่นป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดตั้งบริเวณจุดสัมผัสร่วม เพื่อลดการส่งต่อของเชื้อโควิด-19 

โดยแผ่น ซีทัช มีผลการทดสอบจาก ALG LAB Group ประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้มากถึง 99.99% โดยใช้หลักการฆ่าเชื้อด้วยระบบสมาร์ทนาโนไอออน  มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เร็วกว่าแผ่นทองแดงถึง 240 เท่า น

อกจากนั้นผลิตภัณฑ์แผ่นฆ่าเชื้อ ซีทัช ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสถาบันชั้นนำของโลก อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกา, CE-Mark ประเทศยุโรป, SIAA ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งมีผลการทดลองในไทย โดยภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ล่าสุดหลายหน่วยงานและองค์กรชั้นนำได้มีการติดตั้งแผ่น ซีทัช ตามจุดสัมผัสร่วมซึ่งเป็นมาตรการป้องกันเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19

วิษณุ จินตนาศิริกุล

“หลักการทำงานของแผ่นซีทัชนั้นเมื่อมีเชื้อโรคตกลงบนแผ่น ซีทัช เชื้อโรคจะถูกดูดลงสู่ชั้นล่างทันทีด้วยเทคโนโลยี ไมโครพอรัสเลเยอร์ (Micro-Porous Layer) (ซึ่งได้จดสิทธิบัตรนวัตกรรมเป็นเจ้าแรกของโลก) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนหลุมดำ ทำให้พื้นผิวของแผ่นซีทัชสะอาดตลอดเวลา หลังจากนั้นส่วนประกอบของ สมาร์ทนาโนไอออน จะทำปฏิกิริยากับ แอคทีฟอ๊อกซิเจน (Active Oxygen) เข้าไปทำลายผนังเซลล์และโปรตีนของเชื้อโรคจากด้านใน ทำให้เชื้อโรคสูญเสียอาหารและนํ้า โครงสร้างของเชื้อโรคจะถูกทำลายโดยสมบูรณ์ในระดับอาร์เอ็นเอ (RNA) และดีเอ็นเอ (DNA)

Z-Touch นวัตกรรมแผ่นฆ่าโควิด จุดสัมผัสร่วม

นายวิษณุ กล่าวต่อไปว่าหลังจากเริ่มทำตลาดเดือนเมษายน ตลาดให้การตอบรับดี  หลายองค์กรและบริษัทชั้นนำเลือกให้ ซีทัช เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 เชิงรุก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาทิ ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ห้างสรรพสินค้าฟู้ดแลนด์ โรงแรมดีวารี ทรูช็อป ศูนย์ศิลปากรที่ 4 ลพบุรี  นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการติดตั้งในโรงพยาบาลชั้นน และโรงพยาบาล สนามไปแล้ว 5 แห่ง รวมถึงห้างสรรพสินค้า 20 แห่งนำไปใช้งาน โดยแผ่นซีทัช จะถูกนำไปติดตั้งบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อยครั้ง อาทิ ที่ผลักประตู ที่จับประตู ปุ่มกดลิฟท์ โต๊ะห้องประชุมที่จับรถเข็น ฯลฯ ทั้งนี้อยู่ระหว่างการนำแผ่นซีทัชไปติดตามรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชน  

Z-Touch นวัตกรรมแผ่นฆ่าโควิด จุดสัมผัสร่วม

ส่วนแผนการตลาดและการจัดจำหน่าย ได้ร่วมมือกับ บริษัท มาซูม่า จำกัด (ประเทศไทย) ในการเป็นพันธมิตรและเป็นตัวแทนจำหน่ายไปยังกลุ่มโฮม และยา  ล่าสุดได้ร่วมมือกับบริษัทซินเน็ค จำกัด (มหาชน) ในการจำหน่าย ซีทัช ไปยังช่องทางสมาร์ทโฟน และไอที โดยซีทัช ที่วางจำหน่ายจะประกอบด้วย 4 แบบด้วยกัน คือ แผ่นฆ่าเชื้อสำหรับติดมือถือ แผ่นฆ่าเชื้อสำหรับติดประตู แผ่นฆ่าเชื้อสำหรับติดเคาน์เตอร์ และแผ่นฆ่าเชื้อแบบอเนกประสงค์ สำหรับตัดใช้ตามจุดสัมผัสร่วมทั้งหมด 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,681 วันที่ 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564