วันนี้ 10 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร ได้เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง นางแชสตี เริดส์มูน เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ต่อประเด็นข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มนาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ่ส คอมมุนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศนอร์วกดันให้บริษัท เทเลนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTAC พิจารณายุติข้อเสนอควบรวมที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากจะทำให้เกิดการผูกขาดตลาดการให้บริการมือถือของไทย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้บริโภค กระทบสิทธิเสริภาพของประชาชนที่อาจถูกแทรกแซงข้อมูลข่าวสาร หากการควบรวมสำเร็จ
ด้าน นางแชสดี เริดล์มุน เอกครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ได้รับทราบถึงความเดือคร้อนและจะนำเอาแถลงการณ์ของภาคประชาชนในครั้งนี้ ส่งเรื่องให้ทางเทเลนอร์แล:รัฐบาล และขอยืนยันว่า จะตรวจสอบเรื่องนี้ หากไม่ถูกต้องหรือผิดหลักธรรมภิบาลของนอร์เว เรื่องนี้ก็จะไม่ปล่อยไว้ เพื่อให้พิจารณาทบทวนถึงการรวมกิจการครั้งนี้ เนื่องจากเทเลนอร์เป็นบริษัทใหญ่อันดับ 3 ในประเทศ โดยสถานทูตก็จะช่วยเป็นสื่อกลางส่งต่อแถลงการณ์นี้
สำหรับแถลงการณ์ของกลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร ได้แสดงความกังวลอย่างยิ่ง ในข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC โดยเห็นว่า ข้อเสนอในการควบรวมกิจการของทั้งสองบริษัทฯ ขัดต่อ พ.ร.บ.โทรคมนาคม มาตรา 21 ที่บัญญัติว่า
"การประกอบกิจการโทรคมนาคม นอกจากต้องอยู่ในบังคับของ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการเฉพระตามลักษณะการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม มิให้ผู้รับใบอนุญาตกระทำการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือ จำกัดการแข่งขันในการให้บริการกิจการโทรคมนาคมในเรื่องดังต่อไปนี้
กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน มีความกังวลอย่างยิ่ง ในข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ดังนี้
การควบรวมกิจการของบริษัท TRUE และ DTAC จะทำให้ผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมน้อยลง เหลือผู้ให้บริการฯ หลักเพียงสองรายเท่านั้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งในแง่การพัฒนาคุณภาพบริการ การกำหนดราคา และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและแข่งขันในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยและนานาประเทศ ให้ความสำคัญในโลกยุคใหม่
โดยปัจจุบัน DTAC มีส่วนแบ่งการตลาดสำหรับสัญญาณมือถืออยู่ที่ 19.6 ล้านเลขหมาย (20%) TRUE อยู่ที่ 32.2 ล้านเลขหมาย (34%) และAIS อยู่ที่ 44.1 ล้านเลขหมาย (46%)
จะเห็นได้ว่าหากการควบรวมเกิดขึ้น จะทำให้มีผู้ให้บริการรายใหญ่เหลือเพียงสองราย และจะทำให้บริษัทที่ควบรวมแล้ว มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถชี้นำตลาดได้ ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพของการให้บริการ
หากผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมมีจำนวนน้อยลง ก็จะทำให้การแทรกแซง คุกคาม จำกัด และปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการใช้เทคโนโลยีสปายแวร์ ในการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของนักกิจกรรมและผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ โดยไม่ได้รับอนุญาต
บริษัทเอกชนเองก็มีความรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ซึ่งในเสาหลักที่สองได้เน้นย้ำว่า บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)
ทางกลุ่มฯ ทราบดีว่าบริษัทเทเลนอร์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTAC เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทเทเลนอร์ให้ความเห็นไว้ว่า การสื่อสารโทรคมนาคมนั้น มีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสื่อสารความคิด และเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว การรักษาจุดยืนในเรื่องนี้อาจเป็นไปได้ยากขึ้น หากเกิดการควบรวมกับบริษัทภายในประเทศ ที่มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการรักษาความเป็นส่วนตัว ไม่เท่ากับมาตรฐานของบริษัทเทเลนอร์
ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้เทเลนอร์ยุติข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC ในครั้งนี้ และขอเรียกร้องรัฐบาลนอร์เวย์พิจารณาว่า ข้อเสนอควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC ในครั้งนี้เป็นไปตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่.