พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (Over The Top-OTT) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงกรณีที่ Asia Internet Coalition หรือ AIC ได้ออกแถลงการณ์ค้าน กสทช. ที่ออกระเบียบให้ผู้ประกอบการ OTT ต้องเข้ามาจดทะเบียน ว่าจะทำให้ประ เทศถอยหลัง นั้น กสทช.ต้องเดินตามแนวทางที่วางไว้ โดยในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการ OTT ต้องเข้ามาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะเป็นผู้ประกอบการที่ผิดกฎหมาย
[caption id="attachment_169997" align="aligncenter" width="503"]
พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์[/caption]
“การคัดค้านต้องมีเหตุและผล กสทช.ต้องเดินหน้าต่อไป องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมี เพียง 4-5 บริษัท จับมือกันทำเรื่องคัดค้านในหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียด นาม เพราะเสียประโยชน์”
พ.อ.ดร.นที ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เฟซบุ๊กเสียภาษีให้ประเทศไทยปีละ 1 ล้านบาท แต่มีรายได้จากการโฆษณา 4-5 พันล้านบาท เช่นเดียวกับยูทูป ซึ่งในขณะนี้ กสทช. ได้ขอความร่วมมือกับบริษัทที่ลงโฆษณาผ่าน OTT จำนวน 47 บริษัท หากพ้นกำหนดในวันที่ 22 กรกฎาคมแล้ว เฟซบุ๊ก ยูทูบ ยังไม่มาแจ้งลงทะเบียนกับ กสทช. แต่ยังไปลงโฆษณาบน 2 แพลต ฟอร์มดังกล่าว กสทช.จะส่งจดหมาย ไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อแจ้งให้ทราบว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาด ที่ยังลงโฆษณากับ 2 แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นบริษัทไม่มีธรรมาภิบาล หากเป็นบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ กสทช.จะทำจดหมายแจ้งหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ สำหรับมาตรการทางกฎหมาย กสทช.จะเลือกใช้เป็นมาตรการสุดท้าย
“ผมมั่นใจหลังวันที่ 22 กรกฎาคม ถ้าเฟซบุ๊ก และ ยูทูบไม่มาลงทะเบียน OTT บริษัททั้ง 47 แห่ง คงไม่ไปลงโฆษณาอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้องค์กรถูกมองว่าไม่ได้มาตรฐานและไม่มีหลักธรรมาภิบาล” พ.อ.ดร.นทีกล่าว
สำหรับ Asia Internet Coalition หรือ AIC เป็นองค์กรความร่วมมือ ที่มีสมาชิกคือ Facebook, Google, LinkedIn, Apple, Twitter รวมถึง Yahoo, LINE และ Rakuten
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,275 วันที่ 2 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560