"Thaiflix" เป็นไปได้ไหม ขายคอนเทนต์เหมือน "Netflix"

03 มิ.ย. 2563 | 08:46 น.

ก่อนจะไปถึง "Thaiflix" ตามไอเดียของ รมว.ดิจิทัล พาย้อนไปทำความรู้จัก "Netflix" กันก่อน

จากกรณีที่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีแนวความคิดที่จะสร้าง “แพลตฟอร์มไทย” ขึ้นมาขายคอนเทนต์ที่อาจจะมีชื่อว่า "Thaiflix" แข่งขันกับแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยมีการยกตัวอย่าง ถึง "Netflix" เพราะที่ผ่านมาแพลตฟอร์มขายคอนเทนต์จากต่างประเทศ ซื้อคอนเทนต์ของไทยไปในราคาที่จ่ายเงินครั้งเดียว แต่สามารถนำไปฉายในประเทศอื่นๆ

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลของ เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) เพื่อให้เห็นที่มาที่ไป และความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของ Thaiflix ของประเทศไทย วิกิพีเดียระบุข้อมูลของ Netflix ว่า เป็นบริษัทข้ามชาติ "ผู้ให้บริการสื่อแบบส่งต่อเนื่องตามคำขอทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก (ยกเว้นในบางพื้นที่) และผู้ให้บริการเช่ายืมดีวีดีและแผ่นบลูเรย์ทางไปรษณีย์ในสหรัฐอเมริกา 

บริษัทได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแกทัส รัฐแคลิฟอร์เนีย และมีออฟฟิศในอีกหลายประเทศเช่นเนเธอร์แลนด์ บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

เน็ตฟลิกซ์เริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกแบบเสียค่าบริการในปี พ.ศ. 2542 เมื่อถึงปี พ.ศ. 2552 บริษัทมีดีวีดีให้เลือกเช่ายืมประมาณ 100,000 ชื่อเรื่อง และมีสมาชิกผู้เช่าและผู้รับบริการมากกว่า 10 ล้านราย ในปี พ.ศ. 2556 บริษัทเริ่มขยายธุรกิจไปยังการผลิตภาพยนตร์ต้นฉบับ จนถึงปีพ.ศ. 2559 เน็ตฟลิกซ์ได้ผลิตภาพยนตร์ซีรีส์และภาพยนตร์เรื่องยาวต้นฉบับกว่า 126 เรื่อง มากกว่าช่องโทรทัศน์และเคเบิลใด

\"Thaiflix\" เป็นไปได้ไหม ขายคอนเทนต์เหมือน \"Netflix\"

สำนักงานใหญ่ของ Netflix อยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ให้บริการ 190 ประเทศ อุตสาหกรรมของบริษัทคือ การบันเทิง โดยมีผลิตภัณฑ์ คือ สื่อแบบส่งต่อเนื่องวีดิทัศน์ตามคำขอ การผลิตภาพยนตร์จัดจำหน่ายภาพยนตร์การผลิตละครโทรทัศน์

รายได้มีรายได้ประมาณ 8.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็น รายได้จากการดำเนินงาน 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินได้สุทธิ 187 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินทรัพย์รวม 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

เมื่อปี 2561 กำไรของบริษัทมากกว่าประมาณการไว้ ทำให้มูลค่าตลาดของ Netflix นั้นได้ผ่าน 1 แสนล้านเหรียญ หรือราวๆ 3.2 ล้านล้านบาท ไปได้แล้ว ซึ่งว่ากันว่าเทียบได้กับนำ 3 บริษัทใหญ่ของไทย เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย ปตท. และ CPALL มารวมกันถึงจะเกือบเท่า Netflix บริษัทเดียว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผุดไอเดีย "Thaiflix” สู้ "Netflix" ดันไทย ผู้นำดิจิทัลในภูมิภาค

ละครออนไลน์เฟื่องฟูในจีน “อกเกือบหักแอบรักคุณสามี”ยอดฮิต

 

นายรีด ฮาสติงส์ (Reed Hastings)  ประธานกรรมการบริหารของ  Netflix

ปัจจุบัน Netflix มีผู้ใช้กว่า 109.25 ล้านคนทั่วโลก ภายใต้ลูกจ้างกว่า 3,500 คน มีนายรีด ฮาสติงส์ (Reed Hastings) เป็น ประธานกรรมการบริหารของเน็ตฟลิกซ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2503 อายุ 59 ปี มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

เขาเป็นนักธุรกิจมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Netflix และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการและองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร อดีตสมาชิกคณะกรรมการการศึกษาแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียเฮสติงส์เป็นผู้สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาผ่านโรงเรียนเช่าเหมาลำ 

นอกจากจะเป็น CEO ของ Netflix แล้ว เขายังเป็นหนึ่งในกรรมการบอร์ดของบริษัท Microsoft ระหว่างปี 2007 – 2012 อีกทั้งยังเป็นกรรมการบอร์ดของ Facebook ตั้งแต่ 2011 

ในปี 2014 เขาถูกเสนอชื่อให้เข้ารับรางวัล The Henry Crown Leadership Award ซึ่งรางวัลนี้ ในแต่ละปีจะมอบให้แก่ผู้ที่พิจารณาแล้วว่ามีผลงานเป็นที่โดดเด่น ประสบความสำเร็จอย่างสูงในหน้าที่การงาน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีมาตรฐานในการบริหารจัดการ ความมีเกียรติยศและศักดิ์ศรี ความมุมานะและขยันหมั่นเพียร มีจิตสำนึกรับผิดชอบและอุทิศตนเพื่อสังคม อันเป็นคุณลักษณะของ Reed Hastings ซึ่งสมควรแล้วที่เขาจะได้รับรางวัลนี้

ในส่วนชีวิตครอบครัวของ Hasting นั้น เขาได้แต่งงานกับ Patrician Ann Quillin มีลูกด้วยกัน 2 คน ส่วนงานด้านการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของสังคม Hastings ได้อุทิศตนและสละเวลาเพื่อช่วยเหลืองานด้านการศึกษา โดยในปี 2006 เขาได้บริจาคเงินทุนประเดิมในการจัดตั้ง Beacon Education Network เพื่อเปิดโรงเรียนในความอุปถัมภ์ใน Santa Cruz County จำนวน 1 ล้านเหรียญฯ (หรือราว ๆ กว่า 30 ล้านบาท)

นอกจากนี้เมื่อแล้วตรวจสอบข้อมูลพื้นที่ของ Netflix แล้ว พบว่า การไหลบ่าของ OTT หรือ Over -the-top การให้บริการทุกประเภทผ่านอินเตอร์เน็ต มีจุดขาย คือ คอนเท็นต์ เข้ามาให้บริการ ไล่เลียงตั้งแต่ เฟสบุ๊ค,ยูทูป ,NetFilx กอบโกยเงินออกนอกประเทศโดยไม่เสียภาษี 

เมื่อมาดูตัวเลขที่ บริษัท นีลสัน ประเทศไทย ได้ออกมาเปิดเผยเม็ดเงินโฆษณาเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 พบว่ามีเม็ดเงินโฆษณา 28,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จาก 28,348 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

เมื่อแยกตามสื่อโฆษณา สื่อทีวียังครองแชมป์สัดส่วน 58% คิดเป็น 16,536 ล้านบาท ตามด้วยสื่ออินเตอร์เน็ต 5,547 ล้านบาท และ สื่อกลางแจ้ง-เคลื่อนที่ 3,093 ล้านบาท

สื่ออินเตอร์เน็ตปัจจุบันเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ การมาของ Pay TV (ทีวีแบบบอกนับสมาชิก) มีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 ประเทศไทยจะมีสมาชิกดู จำนวน 1.48 ล้านราย และ เพิ่มเป็น 2.1 ล้านรายในปี 2566 

และเมื่อพลิกดูผลประกอบการไตรมาสแรก ของ NetFilx  บริษัทสตรีมมิงออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า
ยอดการสมัครสมาชิกลูกค้าใหม่ทั่วโลกถึง 15.77 ล้านราย ปัจจุบันมีสมาชิกที่สมัครแบบชำระเงินจากกว่า 190 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก จำนวน 182.86 ล้านราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 จากปีก่อนหน้า

นั่นจึงเป็นที่มาที่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ต้องการพัฒนาแพลตฟอร์มไทย ภายใต้ชื่อ”ThaiFilx” ขึ้นมา เพราะถ้าดูตัวเลขยอดดาวน์โหลด “ไทยชนะ” อยู่ที่ประมาณ 12 ล้านราย

“ทำไมประเทศไทยถึงไม่มีแพลตฟอร์มของคนไทย ทั้งโซเชี่ยลมีเดียและบริการทางออนไลน์ต่างๆเราต้องไปใช้แพลตฟอร์มของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เม็ดเงินจากอุตสาหกรรมโฆษณา หรือ การค้าขายทางออนไลน์ก็ไหลไปต่างประเทศหมด” 

ต้องรอดูว่า ThaiFilx จะผงาดเทียบชั้น NextFilx ได้มากน้อยเพียงใด เพราะขนาด เอไอเอส เบอร์หนึ่งในตลาดยังบอกว่า “การทำแพลตฟอร์มไทย” เป็นเรื่องที่ยาก ถ้าทำได้ง่าย เอไอเอส ทำนานแล้ว