รายงาน Culture Next ฉบับแรกโดย Spotify สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเปิดเผยความหมายความเป็นตัวตนของประชากรยุคใหม่ บทบาทของคอนเทนต์เสียงในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม และความหมายของคอนเทนต์เสียงในมุมมองของแบรนด์ Culture Next เกิดจากความร่วมมือขององค์กรการทำวิจัย Culture Co-Op และYouGov โดย Spotify พูดคุยกับประชากรรุ่น Gen Z และรุ่น Millennials กว่า 3,000 คนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประชากร วัฒนธรรม แบรนด์ คอนเทนต์ เทคโนโลยี และชุมชนของพวกเขา
รายงานฉบับนี้ยังประกอบด้วยบทสัมภาษณ์ของศิลปิน นักสร้างสรรค์ อินฟลูเอนเซอร์ และข้อมูลการสตรีมบน Spotify ที่จะส่งเสริมให้รายงานฉบับนี้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อผู้คนในการสร้างสรรค์อนาคตของพวกเขา
ปัจจุบัน พิกัดทางภูมิศาสตร์ และภูมิหลังของแต่ละบุคคลจะไม่สามารถบรรยายความเป็นตัวตนของพวกเขาได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกต่อไป ในขณะเดียวกันผู้คนทั่วโลกต่างเชื่อมถึงกันมากขึ้นด้วยความหลงไหล และความสนใจต่างๆ
57% จะมีเพื่อนที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ
61% อธิบายความเป็นตัวเองด้วยการบอกเล่าเกี่ยวกับเพื่อนของตน สิ่งที่พวกเขาหลงไหล รวมถึงสิ่งที่กลุ่มของเขาให้ความสนใจ
88% เชื่อว่าเสียงเพลงช่วยให้พวกเขาเชื่อมต่อกับผู้อื่น และวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
Najwa Hisham อายุ 26 ปี ผู้ผลิตภาพยนตร์ นักเขียน และครูสอนโยคะ กล่าวว่า “รูปแบบการบริโภควัฒนธรรมกลายเป็นวิถีทางการสื่อสารของเรา” และ “การติดตามศิลปินคนโปรดผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นหัวข้อการพูดคุยกับเพื่อน รวมถึงผู้คนอีกนับร้อยจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้การสนับสนุนศิลปินคนเดียวกัน”
ประชากรยุคใหม่ของโลกนี้ใช้คอนเทนต์เสียง และเสียงเพลงในการค้นหา และแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของชุมชนเล็กๆ ของพวกเขาด้วยการเชื่อมต่อกับผู้คนที่มีความคิด ความสนใจในหัวข้อต่างๆ ที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน และนี่คือข่าวใหญ่สำหรับแบรนด์ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยอ้างอิงจากกลุ่มความสนใจผ่าน Spotify ที่มีระบบสตรีมมิ่งที่ชาญฉลาด เปิดโอกาสให้คอนเทนต์เสียงที่สร้างสรรค์ก่อให้เกิดประสบการณ์การฟัง และเชื่อมโยงผู้ฟังเข้าด้วยกันแบบเรียลไทม์ รายงานฉบับนี้ค้นคว้าโอกาสสำหรับนักการตลาดที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความสนใจต่างๆ เช่น K-Pop ที่มีผู้สตรีมมากกว่า 500 ล้านครั้งในหนึ่งเดือนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงอย่างเดียว
ในอีกแง่มุมหนึ่ง เพลงเป็นสื่อที่ทรงพลังในการสร้างความเป็นหนึ่ง ไม่ใช่สำหรับแฟนเพลงเท่านั้น แต่สำหรับศิลปินเช่นกัน Daboyway แร็ปเปอร์ชาวไทยสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของ “พลเมืองโลก”
“พลเมืองโลกคือกลุ่มคนที่รู้ถึงจุดยืนของตนเองบนโลกนี้ และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการกระทำของพวกเขาจะส่งผลโดยตรงต่อผู้คนรอบตัว คนกลุ่มนี้คือผู้นำ และด้วยมุมมองนี้พวกเขาดำเนินธุรกิจที่มีการตอบแทนสังคมด้วยการนำพาวัฒนธรรมให้ก้าวไปข้างหน้า”
ในขณะที่ผู้คนเชื่อมถึงกันมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ประชากรแห่งอนาคตนี้จะใส่ใจพิจารณาความสัมพันธ์ของพวกเขากับสื่อดิจิทัลอย่างถี่ถ้วน และส่งผลถึงสื่อที่พวกเขาเลือกที่จะบริโภคเช่นกัน โดย 59% รู้สึกว่าพวกเขาถูกกระตุ้นด้วยภาพมากเกินไปรายงาน Culture Next นี้ช่วยสร้างความเข้าใจแก่นักการตลาดเกี่ยวกับวิธีการที่พวกเขาจะสามารถสร้างประโยชน์จากคอนเทนต์เสียง และมีส่วนร่วมกับผู้ฟังตลอดช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ติดกับหน้าจอได้ในทุกๆ วัน
Spotify เปิดโอกาสให้แบรนด์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นเรียลไทม์รายงานฉบับนี้เน้นย้ำความแตกต่างของสิ่งที่แบรนด์จะได้รับจากการใช้งานคอนเทนต์เสียง เพื่อสร้างบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ทั้งในด้านอารมณ์ และการมีส่วนร่วมกับพวกเขา ด้านล่างนี้คือข้อมูลเฉพาะจากประเทศไทย:
82% กล่าวว่าพวกเขาคาดหวังว่าแบรนด์จะเป็นส่วนหนึ่งของการโต้เถียงเพื่อประชาสัมพันธ์ค่านิยมที่เป็นประโยชน์ รวมถึงแสดงบทบาทที่มีความหมายต่อสังคม
77% เชื่อว่าแบรนด์มีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สังคมบนพื้นฐานของความสนใจและความหลงไหลที่ผู้คนมีร่วมกัน
70% คิดว่าท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่อยู่รอบตัวพวกเขาในโลกดิจิทัล รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย
แจน-พอล เจฟฟรีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Spotify กล่าวว่า “เมื่อเกิดโอกาสสำคัญทางวัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนโลก เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บน Spotify ด้วย และสิ่งเหล่านี้ปรากฏเด่นชัดในปี 2563 สำหรับรายงาน Culture Next เรามุ่งหวังที่จะอธิบายเทรนด์ที่สะท้อนตัวตนของประชากรรุ่น Gen Z และรุ่น Millennials เพื่อเป็นตัวช่วยแก่แบรนด์ในการเชื่อมต่อ และสร้างพลังแก่ผู้ฟัง โดยพลังของ Spotify คือการสร้างบริบท เพื่อให้คอนเทนต์ต่างๆ มีความหมายในตัวเอง ผู้คนต่างใช้คอนเทนต์ของเราเพื่อประกอบในทุกกิจกรรมที่พวกเขาทำในการใช้ชีวิต” และ “การทำความเข้าใจว่าประชากรรุ่น Gen Z และรุ่น Millennials ค้นหาตัวตน และบรรยายถึงสิ่งนั้นอย่างไร ทำให้เราเข้าใจบทบาทของคอนเทนต์เสียงในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมได้”