สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)ได้ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chula Unisearchจัดทำรายงานศึกษาเรื่อง การศึกษาผลกระทบของ OTT ต่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และแนวทางการส่งเสริมและกำกับดูแล เพื่อเป็นแนวทางต่อ กสทช.ในการจัดทำข้อเสนอแนะทั้งเชิงนโยบายในการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และ การกำกับดูแล OTT ในประเทศไทย ซึ่งรายงานได้ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของบริการ OTT ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งศึกษากฎหมาย นโยบาย และแนวทางในการกำกับ
ดูแลบริการ OTT และอุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ในประเทศไทย
ในส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์นี้ Chula Unisearch ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับเนื้อหา และพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ของคนไทยด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,141 คนทั่วประเทศที่จัดกลุ่มอายุ 3 ช่วง ได้แก่อายุตั้งแต่ 23 ปีลงไปในสัดส่วน 32.2% อายุ 24-39 ปี 32.5% และช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในสัดส่วน35.3% จาก 5 พื้นที่ ได้แก่กรุงเทพมหานคร และ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลาง
ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรกในกลุ่มผู้ชมชาวไทยได้แก่ YouTube, Netflix และ Line TV ตามลำดับ โดยส่วนใหญ 65% ของผู้ชมรับชมออนไลน์ผ่านช่องทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีระยะเวลาเฉลี่ยในการรับชม 1-3 ชั่วโมงต่อวัน โดยเป็นการรับชมในทุกวัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘กสทช.’ กางโรดแมป ปี 64 เตรียมพร้อมประมูล 5G คลื่น 3500 MHz
‘กสทช.’ ย้ำโอเปอเรเตอร์ดูแลคุณภาพสัญญาณ ‘ช่วงปีใหม่’
‘ทรู’ ชำระค่าคลื่น 700 MHz งวดแรก 1.8 พันล้าน
ดีอีเอส จับมือ กสทช.-5 ค่ายมือถือส่ง SMS อัพเดทข่าวสารโควิดให้ต่างชาติในไทย