ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. รายงานสถานการณ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs) ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดเมื่อปี 2563 ว่า 61.4% ยังไม่มีช่องทางการขายผ่านออนไลน์ ในขณะที่มีถึง 79.3% ที่สามารถรับชำระเงินผ่าน ทางออนไลน์ได้แล้ว โดยมีเพียง 38.6% ที่มีช่อง ทางขายบนออนไลน์ และช่องทางที่ขายดีที่สุดคือ บนเฟซบุ๊ก, ไลน์ และเว็บไซต์ ตามลำดับ
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะ ผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจถูก “ดิสรัปต์” โดยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ค่อยๆ เข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ (New Business Model) ไปพร้อมกัน และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเกิดภาวะการระบาดจากโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากสร้างความเสียหาย และเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไป โดยสิ้นเชิงแล้ว สำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ที่แม้จะเป็นกลุ่มธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบโดย ตรง ทั้งจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ และภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า แต่ก็นำมาซึ่งโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจด้วยเครื่องมือดิจิทัลโซลูชัน หรือออนไลน์ เข้ามาเป็นส่วนผสมใหม่ของการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน
ทั้งนี้จากผลการสำรวจพบว่าวิกฤติิที่เกิดขึ้นส่งผลให้เอสเอ็มอีมีการปรับกลุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ 6 ด้าน ได้แก่ 1. เน้นการควบคุมเรื่องของค่าใช้จ่ายเป็นหลัก 2. เน้นการสร้างธุรกิจสำรอง หรือแตกไลน์ธุรกิจใหม่ 3. การสร้างสินทรัพย์ออนไลน์ต่างๆ มากขึ้น 4. การสร้างสื่อเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการ 5.เตรียมแผนสำรอง BCP Plan และ 6. หาเครื่องมือเพื่อเป็นตัวช่วยในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้การปรับตัวที่เอสเอ็มอีควรโฟกัส 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การเพิ่มการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์ 2. การเพิ่มนวัตกรรมเพื่อปรับตัวรับสถานการณ์ 3. เพิ่มความยืด หยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และ 4. ปรับโครงสร้างต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ
ปัจจุบันเอไอเอสมีผู้ใช้บริการ 41 ล้านราย เป็นลูกค้าเอสเอ็มอีกว่า 2.5 ล้านราย โดยสมาชิกกว่า 1 แสนรายใช้โซลูชันของเอไอไอสในการทำธุรกิจ ด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันมากกว่า 80 โซลูชัน เนื่องจากมีความเชื่อว่าโซลูชันเดียวไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ทุกคนทุกเซ็กเมนต์ได้ มีพาร์ทเนอร์ 40 ล้านรายที่ทำงานร่วมกัน รวมถึงการพาร์ทเนอร์กับบริษัทสตาร์ทอัพกว่า 50 ราย และมีการทำธุรกรรมผ่านเอไอเอส ออนไลน์ เซอร์วิส มากกว่า 4 ล้านธุรกรรมต่อปี
“อย่างไรก็ตามสำหรับภาพรวมธุรกิจเอสเอ็มอีไทยมีการใช้จ่ายด้านดิจิทัลที่สูงขึ้น 2 ดิจิต โดยสัดส่วนรายได้ของเอไอเอสบิสิเนส ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10% ของทั้งบริษัทซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีการเติบโตค่อนข้างดี ขณะที่ธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในตลาดเอสเอ็มอี เอไอเอสมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 53% ซึ่งยังเป็นโอกาสที่จะทำงานร่วมกันเพื่อขยายสัดส่วนทางธุรกิจในตลาดให้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าขณะนี้สัดส่วนรายได้หลักของเอไอเอสบิสิเนสยังมาจากธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์ แต่เชื่อว่าด้านเอสเอ็มอีจะสามารถขยายการเติบโตต่อไปได้” นายธนพงษ์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,645 หน้า 16 วันที่ 17 - 20 มกราคม 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อาลีบาบา”เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
บสย.จัดหนัก 100,000 ล้าน เยียวยา SMEs เร่งด่วน
“สมาพันธ์เอสเอ็มไทย” ผนึก “ก.ล.ต.” หนุน SME สู่ตลาดทุนไทย