มิวสเปซ ผนึก แอร์บัส เร่งสร้างดาวเทียม พัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศไทย

11 ก.พ. 2564 | 02:35 น.

"มิวสเปซ" ผนึก "แอร์บัส" มุ่งสร้างดาวเทียม-ชิ้นส่วนอวกาศเป็นของตนเอง ดันแผนส่งออกและสร้างเสาหลักเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศ

11 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ คอร์ป) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ แอร์บัส (Airbus Defence and Space SAS) บริษัทชั้นนำด้านการผลิตอากาศยานระดับโลก มุ่งสร้างดาวเทียมและชิ้นส่วนอวกาศ เป็นของตนเอง ดันแผนส่งออกและสร้างเสาหลักเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศ  สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง ดันมูลค่าบริษัท พุ่งทะยานสู่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สาระสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ ครอบคลุมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจระยะไกล(Earth-observation) ระบบการเฝ้า ระวังทางอวกาศ (Space Situational Awareness: SSA) กลุ่มดาวเทียมในวงโคจรระดับต่ำ (LEO satellite constellations) การ สำรวจดาวเคราะห์ในอวกาศ (Planetary mission) และระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite Systems: GNSS) ทั้งนี้ แอร์บัส มีความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของ มิว สเปซ คอร์ป ว่าเป็นบริษัทเอกชนไทยที่มีศักยภาพ และ มีความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในประเทศไทย สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่ธุรกิจด้านดาวเทียมและเทคโน โลยีอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและในระดับโลกได้

การผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนประกอบดาวเทียม รวมถึงเทคโนโลยีด้านอวกาศของ มิว สเปซ คอร์ป ในปี 2564 นี้  จะมุ่งเน้นไปที่ การสร้างและพัฒนาระบบพลังงาน (Power Systems) ตลอดจนระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน ในอวกาศ (Avionics) เนื่องจาก มิว สเปซ คอร์ป เล็งเห็นว่าระบบดังกล่าวจะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และคาดว่าจะสามารถเริ่มนำมา ใช้งานได้ในไตรมาสที่สองของปีถัดไป ต่อยอดให้เกิดการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศและการส่งออกในปี 2566

นายวรายุทธ เย็นบำรุง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิว สเปซ คอร์ป เปิดเผยว่า “ในอีก 2-3 ปี ข้างหน้านี้ กิจการทาง อวกาศเชิงพาณิชย์จะมีความเติบโตไปทั่วโลก ซึ่ง มิว สเปซ ได้มองเห็นโอกาสในเรื่อง นี้ จึงร่วมมือเป็นพันธมิตรกับแอร์บัส โดย มิว สเปซ จะผลิตชิ้นส่วนในการสร้างดาวเทียม พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และจากความเข้มแข็งของความร่วมมือนี้ พวกเรามั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้วงการอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศมีความเติบโตได้ในอนาคต”

ความร่วมมือระหว่าง มิว สเปซ กับ แอร์บัส ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ร่วมกันเอื้อให้เกิด โอกาสด้านธุรกิจและสามารถเป็นคู่ค้าในอนาคตได้  นอกจากนี้ประสบการณ์ ความชำนาญ และกระบวนการการผลิตต่างๆ ที่ มิว สเปซ และ แอร์บัส มี โดยจะสามารถสร้างแรงผลักดันและยกระดับให้ภาคอุตสาหกรรมอวกาศในไทยมีมาตรฐานในระดับ สากลได้

นายโจฮาน เปอลิสซิเยร์ (Johan Pelissier) หัวหน้าประจำฝ่ายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของแอร์บัส เปิดเผยว่า “การดำเนินงาน ของ แอร์บัส มุ่งเน้นที่จะตอบสนองนโยบายภาครัฐ โครงการไทยแลนด์ 4.0 และ แอร์บัสมีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับ มิว สเปซ เพื่อช่วยกันพัฒนากิจการด้านอวกาศให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของประเทศไทย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา แอร์บัส ได้ให้การ สนับสนุนอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยนับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ. 2000 ด้วยการพัฒนาและส่งดาวเทียม THEOS-1 ขึ้นสู่วงโคจรในปี 2551 และขณะนี้ก็กำลังพัฒนาดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2 อยู่ ซึ่งในฐานะผู้นำระบบสำรวจโลกแบบครบ วงจรที่มีประสบการณ์ในระดับแถวหน้าของวงการด้านอวกาศ แอร์บัส จึงมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมให้ เศรษฐกิจอวกาศของประเทศไทยมีความเติบโตได้”

นายวรายุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มิว สเปซ รู้สึกยินดีที่ได้ต้อนรับแอร์บัสในฐานะพันธมิตร และจะก้าวไปข้างหน้าด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจร่วมกัน ขณะนี้ มิว สเปซ กำลังสร้างดาวเทียมที่ได้บูรณาการเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในขั้นตอนการผลิต เพื่อให้ดาว เทียมของ มิว สเปซ มีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต สามารถนำเสนอการบริการที่ตอบ โจทย์ความต้องการและใช้งานระหว่างประเทศได้ จากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ แรงงานไทยได้มากกว่าพันตำแหน่ง”

การเปิดระดมทุนของ มิว สเปซ คอร์ป ในระดับ Series B ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก นักวิเคราะห์ด้านการเงินและนักลงทุนต่างเล็งเห็นว่ามูลค่าบริษัทของ มิว สเปซ คอร์ป มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 ล้าน เหรียญสหรัฐ เมื่อเสร็จสิ้นการระดมทุนในครั้งนี้ และมีความเป็นไปได้ที่มูลค่าของบริษัทจะพุ่งทะยานไปสู่ 1 พันล้านเหรียญ สหรัฐ สำหรับการระดมทุนในรอบถัดไป การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ มิว สเปซ จะทำให้เกิดฐานการผลิตด้านเทคโนโลยี ภายในประเทศและสามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลดระวาง 'ไทยคม 5' ทำรายได้ปี 63 ลด 23.7%

‘อินทัช’ โชว์ผลประกอบการกำไรหมื่นล้าน

อว. MOU กสทช. อัพเกรด UniNet รองรับไทยแลนด์ 5.0

‘แฟลช’ หนุนเกษตรกร ร่วมส่งไข่ไก่ในโครงการ “พาณิชย์ลดราคาฯ”

ETDA  ชู 4 ยุทธศาสตร์ หนุน “ดิจิทัล ไอดี” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ