จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ผลการรับมือสถานการณ์จากประเทศฝั่งเอเชียถือว่าทำได้ดี เมื่อเทียบกับความล้มเหลวครั้งใหญ่ในการรับมือของกลุ่มประเทศแถบตะวันตกที่พรั่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีและเงินทุน ผลครั้งนี้มิใช่เป็นเพียงแค่เรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด แต่ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อไปในทั่วโลกที่เข้าสู่ยุคใหม่ที่เอเชียเป็นผู้นำ ดังที่เห็นในภาคธุรกิจของประเทศไทยในปีที่ผ่านมา การเร่งสปีดเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างกะทันหันท่ามกลางสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนไป ระเบียบการป้องกันการระบาดที่เคร่งครัดมากขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน วิถีการดำเนินธุรกิจ การทำการตลาดในรูปแบบเดิมๆ ตามหลักสากลที่ทำกันมาช้านานทั่วโลก จึงไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดหรือเติบโตต่อไปได้แล้วในปัจจุบัน
นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า การเดินหน้าทำธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2021 นี้ ถือเป็นความท้าทายระลอกสองที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญไปพร้อมๆ กันโดยไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวใดๆ มาเป็นหลักบรรทัดฐานอีกต่อไป แบรนด์ควรให้ความสำคัญในเรื่องของพฤติกรรม ความชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมายในตลาดนั้นๆ เป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดเอเชียรวมถึงไทย ที่ผู้ใช้มีพฤติกรรม ความชื่นชอบที่แตกต่างจากโลกตะวันตกโดยสิ้นเชิง การตลาดที่จะดึงดูด มัดใจกลุ่มเป้าหมายนี้ได้ ก็ควรแตกต่างและเป็นในแบบฉบับสำหรับคนไทย คนเอเชียด้วยกันโดยมีรากฐานจาก Insight หรือข้อมูลดาต้าที่แม่นยำ
LINE ประเทศไทยเล็งเห็นถึงประเด็นความสำคัญนี้ เผย 4 เทรนด์การทำธุรกิจในไทย ในวันที่หลักสากลอาจไม่ใช่หนทางการเติบโตที่เห็นผลชัด และเมื่อศักยภาพของเอเชียมุ่งพร้อมสู่การเป็นอนาคตใหม่ของเศรษฐกิจโลก แนะแบรนด์และนักการตลาดไทยตื่นตัว ปรับเปลี่ยน สร้างกลยุทธ์ธุรกิจในแบบฉบับตนเอง
1. ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ Advanced Data Marketing
Data is New Oil ยังคงเป็นหลักในการทำการตลาดออนไลน์อยู่เสมอ แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันบนโลกดิจิทัลอย่างแท้จริงในปีนี้ การทำData Marketing เพียงผิวเผิน โดยไม่มีการสร้างฐานข้อมูลลูกค้าเป็นของตนเอง บวกกับปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายการตั้งค่าบล็อก Third-Party Cookies เป็นค่าเริ่มต้นจากแพลตฟอร์มต่างๆ จะยิ่งกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเติบโตบนโลกดิจิทัล ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญกับการมีข้อมูลของลูกค้าเป็นของตนเอง (1st Party Data) โดยต้องเป็นข้อมูลที่ลูกค้าอนุญาต ด้วยการสร้าง CDP หรือ Customer Data Platform เป็นของตนเอง เพื่อเดินหน้าสู่การทำ
‘Advanced Data Marketing’ ยกระดับโครงสร้าง ระบบการทำธุรกิจบริการในทุกภาคส่วน (Full-Loop) ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำสู่วิถีดิจิทัล ไม่ใช่เพื่อการสื่อสาร การตลาดเพียงอย่างเดียว โดยใช้ดาต้ามาพัฒนาตั้งแต่ระบบภายในองค์กรสู่ Cross-Functional Integration คือการ Sync หรือแชร์ดาต้าภายในแผนกต่างๆ ร่วมกันได้ดีกว่าเดิม ต่อยอดไปถึงการพัฒนา Co-Brand Campaign ให้แม่นยำมากขึ้น รวมไปถึงการนำเอาดาต้ามาวางแผน Customer Journey ที่เชื่อมต่อทุก Touchpoint ของธุรกิจให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างประสบการณ์การอันไร้รอยต่อให้กับลูกค้า ตัวอย่างแบรนด์ที่เริ่มสร้าง CDP และมีการนำดาต้ามาสร้าง Journey ที่ดีให้กับลูกค้า
2. Localize และ Personalize คีย์หลักกลยุทธ์ที่ใช่สำหรับคนไทย
แบรนด์เริ่มเปลี่ยนไปเน้นเรื่องคุณภาพของกลุ่มเป้าหมายแทนปริมาณ ในขณะที่กลยุทธ์การตลาด การยิงโฆษณาบนแพลตฟอร์มเดิม ด้วยสูตรเดิมๆตามหลักสากลอาจให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำหรือมีประสิทธิภาพน้อยลง การ‘สร้าง’ กลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ที่ใช่สำหรับคนในแต่ละพื้นที่และ ‘ถูกจริต’ โดนใจกลุ่มเป้าหมายแม้จะได้จำนวนน้อยแต่มีคุณภาพ จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ของกลยุทธ์การตลาดในโลกปัจจุบัน เห็นได้จากแบรนด์ใหญ่แบรนด์ดังระดับโลกหลายแบรนด์ ที่เริ่มละทิ้งแพทเทิร์นเดิมแบบสากลที่ทำมาช้านานสู่การสร้างช่องทาง วางกลยุทธ์ Chat Commerce เจาะตลาดไทยโดยเฉพาะด้วยการเปิด LINE Official Account และลงโฆษณาใน LINE เพื่อเข้าถึงคนไทย โดยการใช้ LINE มาสร้างประสบการณ์การพูดคุยสื่อสารแบบ Personalize เฉพาะเจาะจงไปถึงผู้ใช้รายคน (1:1) ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรู้สึกใกล้ชิด เข้าถึงแบรนด์ได้ และที่สำคัญ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนสำคัญของแบรนด์ด้วยการดูแลเอาใจใส่แบบ Personalize ที่ตรงจุด
3. ลงสนาม LIVE Commerce ผสานความบันเทิงแบบ Shoppertainment
การขายของผ่าน LIVE ยังคงเป็นการขายของที่มีเสน่ห์โดนใจคนในแถบเอเชียโดยเฉพาะ สำหรับในไทย SME อาจเห็นการลงทำ
LIVE Commerce มาแล้วมากมาย แต่มีแบรนด์ใหญ่เพียงบางรายเพิ่งเริ่มลงสนามทำ LIVE Commerce บนช่องทางของตนเองอย่างจริงจัง ซึ่งการสร้างรูปแบบ คอนเทนต์ในการขายได้อย่างอิสระ และลูกค้าได้มีส่วนร่วมโดยตรงกับสินค้าและแบรนด์ไปเต็มๆ ถือเป็น
ข้อได้เปรียบของการทำ LIVE Commerce บนช่องทางตนเองสำหรับแบรนด์ใหญ่ LIVE Commerce ที่เหมาะกับคนไทยและจะเห็นมากขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าแบรนด์จะมองหาลูกเล่นมาสร้างสีสัน ความสนุกในโลกของ LIVE Commerce มากขึ้น และ Shoppertainment จะกลายเป็นรูปแบบหลักที่ผลักดันให้ LIVE Commerce เติบโต
4. Trust over Price ผลักดัน Chat Commerce ในไทยเติบโต
การพูดคุยถึงรายละเอียดสินค้า บริการกับแบรนด์โดยตรงผ่านแชตแบบ 1:1 นำมาสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจในการซื้อสินค้า ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับผู้บริโภคไทย โดยลูกค้าจะมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาไว้ใจ มากกว่าปัจจัยเรื่องราคา หรือที่เรียกว่า ‘Trust Over Price’ ส่งผลให้การขายของผ่านแชตหรือ Chat Commerce ผ่าน LINE Official Account ในไทยเติบโตเป็นอย่างมาก เห็นได้จากยอดตัวเลขการแชตพูดคุยกับแบรนด์ต่างๆ ผ่าน LINE Official Account ที่พุ่งสูงขึ้นถึง 73% (เปรียบเทียบระหว่างครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังปี 2020) และ MyShop เครื่องมือเสริมประสิทธิภาพการขายของผ่าน LINE Official Account ที่มียอดการเติบโตรายเดือน (Monthly Growth) ของจำนวนร้านค้าที่ใช้งานสูงถึง 48% ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การสร้างตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจนบนโลกดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสร้าง ‘Trust’ ให้กับลูกค้าท่ามกลางร้านค้ามากมายในโซเชียลต่างๆ อีกด้วย โดย LINE พบว่ายอดการสมัครบัญชีรับรองหรือ Verified Account จากแบรนด์ต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาเติบโต YoY สูงถึง 38% ชี้ให้เห็นว่าแบรนด์ต่างๆ เริ่มเห็นความสำคัญของการสร้างร้านค้าสร้างธุรกิจหรือแบรนด์ตนเองบนโลกออนไลน์อย่างจริงจัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
LINE BK ปล่อยกู้ดอกเบี้ยพิเศษ 9.99% สู้โควิด-19
LINE เผยพฤติกรรมซีวิตดิจิทัลสุดปังคนไทยปี 63
LINEครองอันดับ2บริษัทที่คนไทยอยากทำงานมากสุด