“อัครเดช เดี่ยวพานิช” เจ้าของเพจ Coinman & Chairman, Crptomind Group ได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับ "Metaverse” ในฐานะกูรูทางด้านคริปโท ผ่านรายการ Trader KP Talk (EP.6) ในหัวข้อ"Metaverse” โลกคู่ขนาน ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน!? โดยบอกเล่าถึงนิยาม Metaverse คืออะไร และอาชีพที่มีโอกาสบนโลก Metaverse เราต้องปรับตัวสร้างตัวตน และโอกาสบน Metaverse
โดยเขากล่าวว่า กระแส Metaverse ฮอต มาแรงตั้งแต่ เฟซบุ๊ก เปลี่ยนมาตัวเองมาใช้แบรนด์ Meta โดยนิยามในความคิดของตนเองนั้นมองโลก Metaverse โลกเสมือนที่เหมือนจริง บางคนนิยามว่าโลกเสมือนจริง แต่ในมุมมองของคนโลกคริปโทมองว่าเป็นโลกจริงที่ไปอยู่บนโลกดิจิทัล หมายความว่าเราจะมีชีวิตนึงที่ย้อนกลับไม่ได้ โลกที่ทำบนนั้นประสบการณ์ที่ทำบนนั้น สินทรัพย์ที่สามารถซื้อ สิ่งต่างๆ ที่ไปซื้อในนั้น เราเป็นเจ้าของไปตลอด ถ้าเราขายก็ขายไปเลย ไม่ได้เป็นของคนใดคนนึง
เป็นโลกที่เอาตัวเราไปอยู่ในนั้นแล้วปฏิสัมพันธ์ หรือ อินเตอร์แอคกับมันสามารถดึงออกมาได้ เหมือนไปเดินห้าง เราซื้อของก็ได้ของกลับมาจริงๆ แต่โลกปัจจุบันเราเข้าเฟชบุ๊ก ทุกอย่างอยู่บนเฟชบุ๊ก เราเอาออกมาไม่ได้ เจ้าของยังคงคือเฟชบุ๊กอยู่ บัญชีก็เป็นของเฟซบุ๊ก แต่โลกต่อไปอนาคตที่เรียกว่า Metaverse เราเป็นตัวตนของเรา เป็นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง หรือ ยูสเซอร์เซ็นทริกซ์ เราเข้าไปเอนเกจกับที่ต่างๆที่เรียกว่า Metaverse ไม่ว่าจะเป็น Meta Metaverse หรือไมโครซอฟท์ Metaverse หรือเกมแซนบล็อก เราเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ตรงนั้นแล้วเอาของออกมาได้ สิ่งที่เราเสียไป เวลาที่เสียไป พลังงานที่ลงทุนลงแรงไป มันจะผลิตออกดอกออกผล แล้วไม่หายไป เวลาที่บริษัทปิดตัวไป มันต้องมีอะไรที่เราสามารถเอาออกมาได้ หรือเอาออกมานอกโลกเขาได้ ซึ่งอันนี่คือนิยามของโลกจริง
ในอดีตการมีโลกแบบนี้แถบเป็นไปไม่ได้ หลายคนอาจเห็นในหนัง Lady Plyer One เราสามารถเข้าไปอยู่ในโลกโน้น คนเล่นเก่งๆ สามารถได้เงิน มีของโน้น มีของนี่ ไอเดียนี้มีมานาน แต่ขาดจิ๊กซอร์หลายอย่าง ความเป็นเจ้าของ ให้นึกภาพเราเข้าไปเล่นในเกม เจ้าของคือผู้พัฒนาเกม ผลิตเงินเพิ่มเท่าไรก็ได้ สามารถสร้างของกี่ชิ้นก็ได้ ลดจำนวนของก็ได้ หรือลบไอดีเราทิ้งยังได้เลย เราไม่มีสิทธิ์ ในตัวเกม ซึ่งแบบนี้ไม่ใช่ Metaverse มันแค่เป็นโลกของบริษัทผู้พัฒนาเกมที่เราเข้าไปแล้วไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร
จิ๊กซอร์หลักที่ทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายของได้ คือ บล็อกเชน โดยบล็อกเชนเข้ามาปลดล็อคทำให้เราเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ไปมา คนที่คุ้นเคยกับคริปโท เหมือนเรามีวอลเล็ตคริปโท แล้วโอนเงิน เรารู้สึกว่าเราไม่โอนเงินผ่านธนาคาร ไร้ตัวกลาง โอนจากกระเป๋าหนึ่งไปยังอีกกระเป๋าที่มีแอดเดรส ถัดมาเราสามารถอินเตอร์แอคกับ Defi Decentralize ไฟแนนซ์ ต่างๆ เอาไปสว็อปบนเอ็กซ์เชนจ์ ปล่อยกู้กับแพลตฟอร์มที่ทำงานด้วยโค้ด ที่ไม่มีตัวกลางได้เหมือนกัน พอไปสว็อปอีกที่เหรียญก็กลับมาหาเรา เราเป็นศูนย์กลาง ที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ แต่ของทุกอย่างมันจะกลับมาอยู่ที่เรา เพราะเรามีความเป็นเจ้าของอยู่
คอนเซ็ปต์ตรงนี้เมื่อก่อนทำไมได้สุดท้ายต้องไปพึ่งตัวกลาง แต่ตอนนี้มันทำได้แล้ว เพราะโลกของบล็อกเชน คริปโท และ Defi ที่พิสูจน์ตัวเอง เพราะฉะนั้นคนฝั่งคริปโทจะเข้าใจคอนเซ็ปต์ Metaverse แต่แค่ตรงนี้ยังไม่ตอบโจทย์ เหมือนเป็นทรัพย์สินหลังบ้านแล้วย้ายไปย้ายมา เหมือนคนเข้าไปซื้อ NFT (Non-Fungible Token) งานศิลปะ หรือ อาร์ตมา แล้วเอาไปแสดงบนเว็บหนึ่งได้เหมือนกัน เพราะเราเป็นเจ้าของ แต่ประสบการณ์เป็นแบบเหมือนกดดูบนเว็บธรรมดา เวลาเราพูดถึงเมต้าเวิร์สหลายคนจะจินตนาการถึง 3D ใส่แว่น VR ซี่งเราอย่างได้ประสบการณ์ดีสุดบนโลก Metaverse ต้องใส่แว่น VR แต่ในมุมมองตัวเองมันไม่ใช่คอร์หลัก โดยคอร์หลักของระบบข้างหลังที่เราสามารถไปอินเตอร์แอค สามารถเคลื่อนย้าย เคลื่อนย้ายทรัพย์สินได้ในแต่ละโลก ในแต่ละ Metaverse แต่การมีแว่นตา VR มีชุดเข้าไปโลก Metaverse มองว่าเป็นแค่ประสบการณ์
อัครเดช กล่าวต่อไปว่าหากมองว่าตามคอนเซ็ปต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น คิดว่าโลกเราใกล้กับโลก Metaverse มากกว่าที่คิดแล้ว เราสามารถมีตัวตนจริง ทำอะไรแล้วย้อนกลับไม่ได้ สามารถเอาตัวเองเราไปทำกิจกรรมต่างๆ บน Metaverse สามารถเก็บเกี่ยวอะไรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือประสบการณ์ต่างๆ สามารถเก็บไว้ที่ตัวเอง
แต่เรื่องของ VR กับ Metaverse อาจต้องใช้เวลาอีกสักพัก โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาพัฒนาเป็น 10 ปี ถ้าเราต้องการทุกคนมีประสบการณ์แบบนั้น ต้นทุนอุปกรณ์แว่นวีอาร์ที่ซื้อมาใส่ยังมีราคาแพงอยู่ บางคนอาจมองว่าสมาร์ทโฟนสามารถทำได้ แต่ถ้าอยากให้ทุกคนเข้าถึง สมาร์ทโฟนต้องมีราคาถูกลง อย่างไรก็ตามมองว่าไม่ใช่เรื่องหลัก ถ้าต้องรอถึง 10 ปี เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์เหมือนระดับที่เฟซบุ๊กต้องการทำ แต่มองว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะได้สัมผัสในอีกมุมมองหนึ่ง คือเราสามารถเข้าไปมีโลกจริงในโลกดิจิทัลได้ โดยอาจทำผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เหมือนกับเล่นเกม
คนพยายามทำหลายคนถ้าเอาคอนเซ็ปต์ที่รวมบล็อกเชน ประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียกว่าเมต้าเวิร์สได้ ที่เป็นโซเชียลแพลตฟอร์ม หรือเป็นเกม คาดว่าจะใช้เวลาอีก 2 ปี วันนี้มีหลายบริษัทที่พัฒนาเกม คอนเซ็ปต์เหมือน Metaverse คือให้คนเช้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเกม แต่ยังไม่สามารถเอาอะไรออกมาได้
ส่วนการเกิดของ Metaverse นั้นจะกระทบกับชีวิตอย่างไรนั้นมองว่าขึ้นอยู่กับวัย ผู้สูงวัยมักมองว่าคนรุ่นใหม่วันๆเล่นแต่มือถือ มองว่าทำไม่ใช้เวลาในโลกเสมือนมากกว่าโลกจริง ไม่สนโลกจริง แต่อยากให้มองว่าเด็กรุ่นใหม่ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากอยู่แล้ว เขาไม่ได้มองว่าอะไรเปลี่ยนไป มันคือชีวิตของเขาอยู่แล้ว เด็กรุ่นใหม่อยู่กับเกมมากกว่าออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน Metaverse มาแค่แพลตฟอร์มเปลี่ยน แต่สังคมเขายังเหมือนเดิม
อัครเดช ยังได้สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น โดยระบุว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำมาหากิน เอาเงินมาลงทุนซื้อที่ดิน คนรุ่นต่อมาเงินลงทุนต่ำ ไม่มีพื้นที่ทำกิน มาอาศัยช่องทางออนไลน์สร้างรายได้ ส่วนคนยุคใหม่ อยากเป็นเกมเมอร์ แคสเกม ยูทูปเบอร์ แต่ช่องทางออนไลน์ในปัจจุบันเริ่มเต็มแล้ว เขาต้องการเข้าไปสร้างโลกใหม่ ที่เป็นบูลโอเชียน ที่เข้าไปแล้วมีตัวตนจริง และสามารถสร้างรายได้ให้กับเขา เด็กในยุคถัดไป พอ Metaverse เปิด เปิดพื้นที่ใหม่ให้เขา ต่อไปเขาอาจมีที่ดินบน Metaverse มันเป็นอะไรที่เขามองว่าเข้าไปใช้เวลาในนั้นแล้วสร้างแวลลูได้ เด็กรุ่นใหม่ต้องพยายามมองหาอะไรที่เก่งและเข้าใจมากกว่าคนรุ่นก่อน มองว่าทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจะสร้างให้เกิดโอกาสใหม่ ส่วนคนรุ่นก่อนที่ปรับตัวทันก็สามารถหาโอกาสจากตรงนี้ได้
สำหรับอาชีพที่มาแน่ในโลกMetaverseคือ โปรแกรมเมอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ มาตลอดกาล โลกต่อไปไม่ได้สร้างด้วยคอนกรีต โลกต่อไปจะสร้างด้วยโค้ด ตัวอย่างเช่น บล็อกเชน คริปโท ที่สร้างด้วยโค้ด เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนต้องการมากสุดคือคนเขียนโปรแกรม หรือ โค้ด คนกลุ่มนี้สามารถสร้างสรรค์แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเงิน กู้ยืมเงิน หรือกระดานเทรด แม้กระทั่งเกมถูกสร้างขึ้นมาด้วยโค้ด โลกยุคต่อไปคนเข้าไปอยู่บน Metaverse ฐานของ Metaverse คือ การเขียนด้วยโค้ด อีกอาชีพที่น่าสนใจและเป็นโอกาสมากคือครีเอทีฟอาร์ต เวอร์ชวลสตูดิโอ ที่ปัจจุบันงานถูกจำกัด เช่นต้องทำเกมอย่างเดียว หรือทำเวอร์ชวลอาร์ตให้บริษัทต่างๆ แต่ในโลกต่อไปยุค Metaverse คนทุ่มเวลาโลก Metaverse แสดงว่าคนเริ่มเอาเงินซื้อของบนโลก Metaverse เช่น เสื้อผ้า เหมือนกับเกมที่เข้าไปซื้อไอเทมเกม คนทำเสื้อขายในเกมก็จะมีตลาดบน Metaverse หรือว่าเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน โลกเดิมใช้สถาปานิก แต่ในโลก Metaverse เป็นอะไรก็ได้ ไม่ต้องอาศัยกฎฟิลิกซ์ในการสร้าง ต้นทุนต่ำกว่าเยอะ ทำให้สามารถสร้างไอเทมสร้างแวลูมากขึ้น
โลกปัจจุบันวงลูกค้าจำกัดอาจต้องหาลูกค้าในประเทศ แต่ตัวอย่างเช่น คริปโท คนไปขาย NFT ภาพวาด ขายอวตาล คนไทยเป็นท็อปของโลก ที่เป็น NFT ครีเอเตอร์ แล้วเป็นตลาดที่คนไทยเข้าไปไวมาก แต่ถามว่าทำไมต้องไป เพราะเป็นตลาดที่ขายให้คนทั่วโลก ไร้พรมแดน เปิดโอกาสให้คนที่มีฝีมือ
อัครเดช กล่าวปิดท้ายว่า นักลงทุนต้องติดตามตามบริษัทพัฒนา Metaverse ว่ามีการพัฒนาอะไรใหม่ๆออกมา ขณะที่นักธุรกิจต้องจับตามองรอจังหวะและโอกาสเข้าสู่ Metaverse ส่วนแบรนด์มองหาโอกาสเข้าไปทำตลาดบน Metaverse ขณะที่คนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปหาประสบการณ์ใหม่ๆเพื่อความบันเทิงบน Metaverse