นายโสฬส ชาติงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ.เอ็ม.เอส โลจิสติกส์ จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ THE AI LOGISTICS กล่าวว่า ในช่วงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจากการที่ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับชิปปิ้ง จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาสำคัญของระบบอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทโลจิสติกส์ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่ไม่มีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์โลจิสติกส์ ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้มีกระบวนการที่ซ้ำซ้อนในการทำงาน อันเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาด เสียเวลา และค่าใช้ที่จ่ายสูงขึ้นเกินความจำเป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับขีดการแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทย
“ระบบซอฟต์แวร์โลจิสติกส์ในบ้านเราไม่ได้ออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างครบวงจรเมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ของบริษัทข้ามชาติ หากเลือกที่จะใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทข้ามชาติก็จะพบว่าซอฟต์แวร์มีราคาสูงอีกทั้งการออกแบบยังไม่มีความเหมาะสมกับกฎหมาย และวัฒนธรรมของประเทศไทย หรือหากจะลงทุนพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เป็นของตัวเองก็มีต้นทุนสูงเกินกว่าที่ SMEs จะจ่ายได้” นายโสฬส กล่าว
ล่าสุด บริษัท เอ.เอ็ม.เอส. โลจิสติกส์ จำกัด จึงได้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ THE AI LOGISTICS ขึ้นมาโดยคำนึงถึงความสามารถในการจัดการระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร (Total Logistics Software) ที่สามารถจัดการงานโลจิสติกส์ งานบัญชี รวมถึงการจัดการให้ได้มาซึ่งสถิติสำคัญที่ต้องอาศัยแรงงานคนที่มีต้นทุนสูง เป็นเรื่องง่าย แก้ปัญหาระบบการทำงานที่ล่าช้า มีความยืดหยุ่นต่ำ ส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันลดลง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความผิดพลาด และเวลาการทำเอกสาร อาทิ ระบบบัญชีที่สามารถรับข้อมูลจากแผนกโลจิสติกส์ เพื่อสร้างใบแจ้งหนี้และใบวางบิล โดยปราศจากการคีย์ซ้ำไปจนถึงระบบการเก็บเงินหรือระบบภาษี ที่สะดวกรวดเร็วและสอดรับกับกฎหมายของประเทศไทย
โดยในปัจจุบัน บริษัทได้รับการคัดเลือกจาก สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาคมด้านโลจิสติกส์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ที่จะร่วมมือกันสนับสนุนให้สมาชิกที่มีมากกว่า 1,500 บริษัทฯ สามารถเริ่มทดลองใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับระบบซอฟต์แวร์ THE AI LOGISTICS ประกอบด้วย 3 บริการหลัก ได้แก่
1. โปรแกรม AI Shipment หรือ ระบบจัดการงานโลจิสติกส์ ระบบที่ครอบคลุมกระบวนการทำงานตั้งแต่รับงานจนถึงการออกงบการเงินแบบ Real time โดยไม่ต้องคีย์ซ้ำ ช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
2. โปรแกรม HS Code Check หรือ โปรแกรมจัดการงานด้านพิกัดศุลกากร ระบบที่รวมพิกัด และ คำวินิจฉัยไว้ในที่เดียว
3. โปรแกรม Logistics Library หรือ ระบบบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กร ระบบที่จะทำให้ความรู้ติดอยู่กับองค์กร ไม่ใช่พนักงานคนใดคนหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เอ.เอ็ม.เอส. โลจิสติกส์ จำกัด นอกจากการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว ยังที่จะมุ่งยกระดับโลจิสติกส์ SMEs ไทย โดยในปัจจุบัน ข้อมูลจาก DBD ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ประเทศไทยมีบริษัทโลจิสติกส์ที่ยังดำเนินกิจการอยู่ประมาณ 4,500 บริษัท และมากกว่า 90% เป็น SMEs ซึ่งเราเชื่อว่ายังไม่มีซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ เอ.เอ็ม.เอส โลจิสติกส์ จึงตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถดึงบริษัทเข้าร่วมใช้งานโปรแกรม THE AI LOGISTICS ได้มากกว่า 200 บริษัท ภายในปี 2565