เรื่องที่ ChatGPT ไม่เคยบอกเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำ

23 ก.ย. 2567 | 00:00 น.

ในยุคที่ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน มีการใช้ ChatGPT เพื่อตอบคำถาม สร้างสรรค์เนื้อหา และแก้ปัญหาต่างๆ แต่เบื้องหลังความสะดวกสบายนี้ซ่อนความจริงที่ว่า ChatGPT ใช้น้ำหนึ่งขวดต่อทุก 20-50 คำถาม

ChatGP แชทบอท AI ของ OpenAI ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากความสามารถพิเศษในการตอบคำถามได้อย่างแม่นยำ หลังจากเปิดให้สาธารณชนทดลองใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แชทบอทนี้ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การเขียนบทความ การเขียนโค้ด ไปจนถึงการตอบคำถามในข้อสอบสำหรับนักศึกษาแพทย์

ถึงแม้จะมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลก แต่การวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ AI ประเภทนี้ยังคงมีน้อยมาก

การศึกษาวิจัยใหม่จากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดริเวอร์ไซด์และมหาวิทยาลัยเท็กซัสอาร์ลิงตันในสหรัฐฯ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำ 

แชทบอท AI ใช้น้ำอย่างไร?

ตัวเลขการใช้น้ำ ของการศึกษานี้หมายถึงน้ำสะอาดที่ใช้โดยศูนย์ข้อมูล หรือ Data Center เพื่อผลิตไฟฟ้าและทำความเย็นในชั้นวางของเซิร์ฟเวอร์

ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของแชทบอทที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อาศัยเซิร์ฟเวอร์หลายพันเครื่องภายในศูนย์ข้อมูลทั่วโลก คอมพิวเตอร์ถูกใช้เพื่อฝึกอัลกอริทึมที่เรียกว่า "โมเดล" เพื่อดำเนินการต่างๆ เช่น การตอบคำถามจากผู้ใช้

ระหว่างการสนทนากับแชทบอท AI ประมาณ 20-50 คำถาม การศึกษาประเมินว่าต้องใช้น้ำขวดขนาด 500 มล.ได้ แม้ว่าปริมาณนี้อาจดูไม่มากเกินไป แต่ปริมาณการใช้น้ำโดยรวมเมื่อพิจารณาจาก ผู้ใช้ ChatGPTหลายพันล้านคนก็ถือว่าใช้น้ำประมาณมาก 

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในขณะที่ฝึก GPT-3 เพียงอย่างเดียว Microsoft อาจใช้น้ำไปมากถึง 700,000 ลิตรเลยทีเดียว ขณะที่โมเดลรุ่นต่อไปที่ซับซ้อนกว่า เช่น GPT-4 อาจกินพลังงานมากขึ้นระหว่างการฝึก แต่แทบไม่มีข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ประมาณการได้อย่างแม่นยำ

บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องรับผิดชอบและเป็นผู้นำโดยการเป็นตัวอย่าง ผู้เขียนผลการศึกษาได้เรียกร้องให้บริษัทต่างๆรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นตัวอย่างเพื่อจัดการกับปัญหาการใช้น้ำในสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ทั่วโลก

เมื่อต้นปีนี้รายงานสำคัญด้านเศรษฐศาสตร์น้ำ ระบุว่า คาดว่าความต้องการน้ำจืดจะเกินอุปทานถึง 40 % ภายในสิ้นทศวรรษนี้ รายงานจากคณะกรรมาธิการเศรษฐศาสตร์น้ำโลกระบุว่า อุตสาหกรรมทั้งหมดจำเป็นต้องปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่สิ้นเปลือง

ผู้เขียนผลการศึกษายังเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสมากขึ้น เพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของระบบ AI เหล่านี้ ได้ดียิ่งขึ้นผ่านการวิจัยประเภทนี้

โดยย้ำว่า ปริมาณการใช้น้ำในโมเดล AI ไม่สามารถถูกมองข้ามได้อีกต่อไป ปริมาณการใช้น้ำจะต้องได้รับการจัดการเป็นลำดับความสำคัญเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับความท้าทายด้านน้ำระดับโลก

อ้างอิง