ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค. 2566 ลงคะแนนที่ไหน คลิกเดียวรู้

13 พ.ค. 2566 | 11:49 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ค. 2566 | 12:19 น.

ตรวจสอบหน่วนเลือกตั้ง ส.ส. 14 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ 2 ช่องทาง เว็บไซต์กรมการปกครอง แอปฯ Smart Vote ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลักง่ายๆ คลิกเดียวรู้เลยลงคะแนนเลือกตั้งที่ไหน

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สามารถตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง สถานที่ลงคะแนนตรวจสอบรายละเอียดผ่านระบบออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์กรมการปกครอง และแอปฯ Smart Vote ซึ่งคุณจะทราบทันทีว่าคุณต้องไปเลือกตั้งที่ไหน

เว็บไซต์ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง ของกรมการปกครอง

วิธีตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง 2566

ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง 2566 ผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง คลิกที่นี่

  1. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เสร็จแล้วกดปุ่มตรวจสอบ
  2. ระบบจะแจ้งข้อมูลวันที่เลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่ลงคะแนนเลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อ ให้ทราบ ตามภาพด้านล่าง ซึ่งคุณจะทราบทันทีว่าเลือกตั้งที่ไหน

ผลตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้งผ่าน แอปฯ Smart Vote

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ Smart Vote Android IOS
  2. เปิดแอป Smart Vote
  3. กดเลือกไปที่เลือกตั้ง ส.ส.
  4. กดเลือก ตรวจสอบสิทธิ/แจ้งเหตุ และลงทะเบียนเลือกตั้ง
  5. กดตรวจสอบรายละเอียดสิทธิเลือกตั้ง
  6. กดยืนยัน
  7. กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก แล้วกดตรวจสอบแล้วระบบจะแจ้งรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทราบ ทั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อ

วิธีตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผ่าน แอปฯ Smart Vote

สำหรับคนที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถไปใช้สิทธิกันในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยเริ่มใช้สิทธิ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566

คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  • มีสัญชาติไทย หรือ หากเคยแปลงสัญชาติ
  • ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ตํ่ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
  • ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายง

หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการเลือกตั้ง

  • บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
  • บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้โดยมีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเช่น บัตรประจำตัวเจ้า หน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ พาสปอร์ต
  • บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์จาก แอปพลิเคชัน D.DOPA หรือ ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จากแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงตนได้

บัตรเลือกตั้ง

บัตรเลือกตั้งมี 2 แบบคือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(สีม่วง) และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ(สีเขียว)

ตัวอย่าง บัตรเลือกตั้ง

 

5 ขั้นตอนในการลงคะแนนเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ

ตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานแสดงตน

ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตน ให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางเพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้ง

รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้ว บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจําที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 4 ทําเครื่องหมายกากบาท

เข้าคูหาลงคะแนน ทําเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดหรือบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองใดเลย ให้ทําเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือ ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด

ขั้นตอนที่ 5 หย่อนบัตรด้วยตนเอง

เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท ให้เรียบร้อย และหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทให้ถูกต้องด้วยตนเอง

ตัวอย่างบัตรดี-บัตรเสีย

ตัวอย่างบัตรดี-บัตรเสีย