เลือกตั้ง 2566 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ นอกจากพรรคการเมือง ผู้สมัครส.ส. และประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ กปน. ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดด้วย เช่นกัน
กปน. คือใครในการเลือกตั้ง 2566
กปน. หรือ กรรมการประจําหน่วยเลือกตั้ง ถือเป็นเจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้ง ซึ่งในแต่ละหน่วยเลือกตั้ง ต้องมี กปน. จํานวน 9 คน ประกอบด้วยประธาน 1 คน และกรรมการ 8 คน แต่หากหน่วยเลือกตั้งมีผู้ใช้สิทธิ เกิน 800 คน ให้เพิ่ม กปน. 1 คน ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นทุก 100 คน และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อย่างน้อยที่เลือกตั้งละ 1 คน
กปน. มีหน้าที่อะไรบ้าง
กปน. ทำอะไร จึงเรียกว่ามีความผิด
บทลงโทษ กปน. ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
กปน. ที่ทำเจตนากระทำความผิดตาม ม.119 มีโทษจําคุกตั้งแต่ 1- 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น 20 ปี และให้ถือเป็นผู้กระทำการทุจริตการเลือกตั้ง (ม.141 พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.)
นอกจากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งรวมถึงกปน. พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ได้โดยต้องมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ด้วยว่าผู้นั้นขาดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ หรือละทิ้งหน้าที่ หรือไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ และเมื่อกรรมการ กกต. สั่งให้เจ้าพนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งแล้วจะต้องรายงานให้กรรมการคนอื่นทราบด้วย
ทั้งนี้ เจ้าพนักงานดำเนินการเลือกตั้ง นอกจากกปน. ได้แก่ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ,ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ,ประธานกรรมการและกรรมการการประจำที่เลือกตั้งกลาง ,ประธานกรรมการและกรรมการการนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง ,เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง
ที่มา กกต. , พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.