เว็บไซต์รายงาน ผลการเลือกตั้ง 2566 ของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุ ประชาชนไทยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในปีนี้ (2566) พากันออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 39,293,867 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 75.22% ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ ถือว่าเป็นจำนวนสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ กกต.เคยจัดการเลือกตั้งมา 7 ครั้ง
ปีนี้ มีเพียงจังหวัดเดียวคือ กระบี่ ที่มีผู้มาใช้สิทธิเกิน 90% ขณะที่ จังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งเกิน 1 ล้านคน มี 5 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครราชสีมา เชียงใหม่ อุบลราชธานี และขอนแก่น
การรายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี 2566 ซึ่งยังคงเป็นการรายงานผล "อย่างไม่เป็นทางการ" ณ เวลา 11.13 น. ของวันที่ 15 พ.ค.2566 ระบุว่า ในการจัดการเลือกตั้งทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 76 จังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 95,137 หน่วยเลือกตั้ง มีการนับคะแนนเสร็จแล้ว 94,012 หน่วยเลือกตั้ง หรือคิดเป็นสัดส่วน 98.82% (คลิกดูผลการนับคะแนน)
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ การมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยในจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ 52,238,594 คนนั้น ปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 39,293,867 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 75.22%
โดย จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มี 5 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร ผู้มาใช้สิทธิ 3,306,641 คน จากผู้มีสิทธิ 4,479,155คน คิดเป็น 73.82% (เพิ่งนับได้ 99.83%)
- นครราชสีมา ผู้มาใช้สิทธิ 1,617,061 คน จากผู้มีสิทธิ 2,120,399 คน คิดเป็น 76.26%
- เชียงใหม่ ผู้มาใช้สิทธิ 1,073,005 คน จากผู้มีสิทธิ 1,331,007 คน คิดเป็น 80.62% (เพิ่งนับได้ 95.87%)
- อุบลราชธานี ผู้มาใช้สิทธิ 1,069,058 คน จากผู้มีสิทธิ1,473,971คน คิดเป็น 72.53%
- ขอนแก่น ผู้มาใช้สิทธิ 1,051,368 คน จากผู้มีสิทธิ 1,449,595คน คิดเป็น 72.53%
จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิในสัดส่วน (%) "มากที่สุด" 10 อันดับแรก ได้แก่
- กระบี่ ผู้มาใช้สิทธิ 325,025 คน จากผู้มีสิทธิ 357,245คน คิดเป็น 90.98%
- พัทลุง ผู้มาใช้สิทธิ 352,577 คน จากผู้มีสิทธิ417,458คน คิดเป็น 84.46%
- ลำพูน ผู้มาใช้สิทธิ 281,068 คน จากผู้มีสิทธิ 333,846 คน คิดเป็น 84.19% (เพิ่งนับได้ 97.82%)
- ฉะเชิงเทรา ผู้มาใช้สิทธิ 483,898 คน จากผู้มีสิทธิ 576,962คน คิดเป็น 83.87%
- พิษณุโลก ผู้มาใช้สิทธิ 574,333 คน จากผู้มีสิทธิ686,536คน คิดเป็น 83.66%
- นครปฐม ผู้มาใช้สิทธิ 617,256 คน จากผู้มีสิทธิ 739,787 คน คิดเป็น 83.44% (เพิ่งนับได้ 99.92%)
- สระบุรี ผู้มาใช้สิทธิ 420,642 คน จากผู้มีสิทธิ509,018คน คิดเป็น 82.64%
- นครนายก ผู้มาใช้สิทธิ 173,608 คน จากผู้มีสิทธิ 209,962 คน คิดเป็น 82.69%
- สงขลา ผู้มาใช้สิทธิ 899,222 คน จากผู้มีสิทธิ1,098,389คน คิดเป็น 81.87%
- ราชบุรี ผู้มาใช้สิทธิ 551,682 คน จากผู้มีสิทธิ682,463คน คิดเป็น 80.84%
ขณะที่ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิในสัดส่วน (%) "น้อยที่สุด" 10 อันดับแรก ได้แก่
(หมายเหตุ: เนื่องจากขณะรายงานข่าว บางจังหวัดยังนับคะแนนไม่หมด จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย)
- แม่ฮ่องสอน ผู้มาใช้สิทธิ 112,808 คน จากผู้มีสิทธิ 180,959คน คิดเป็น 62.34% (เพิ่งนับ 80.13%)
- อ่างทอง ผู้มาใช้สิทธิ 142,644 คน จากผู้มีสิทธิ 224,656คน คิดเป็น 63.49% (เพิ่งนับ 98.98%)
- หนองคาย ผู้มาใช้สิทธิ 266,954 คน จากผู้มีสิทธิ 410,200คน คิดเป็น 65.08% (เพิ่งนับ 96.87%)
- หนองบัวลำภู ผู้มาใช้สิทธิ 272,147 คน จากผู้มีสิทธิ 405,513คน คิดเป็น 67.11%
- อุดรธานี ผู้มาใช้สิทธิ 842,344 คน จากผู้มีสิทธิ 1,248,824คน คิดเป็น 67.45% (เพิ่งนับ 99.96%)
- สกลนคร ผู้มาใช้สิทธิ 615,973 คน จากผู้มีสิทธิ 909,763คน คิดเป็น 67.71% (เพิ่งนับ 99.82%)
- นครศรีธรรมราช ผู้มาใช้สิทธิ 843,200 คน จากผู้มีสิทธิ 1,220,778คน คิดเป็น 69.07% (เพิ่งนับ91.86%)
- ร้อยเอ็ด ผู้มาใช้สิทธิ 733,789 คน จากผู้มีสิทธิ 1,054,706คน คิดเป็น 69.57%
- บุรีรัมย์ ผู้มาใช้สิทธิ 872,150 คน จากผู้มีสิทธิ 1,250,148คน คิดเป็น 69.76%
- นครพนม ผู้มาใช้สิทธิ 397,999 คน จากผู้มีสิทธิ 568,353 คน คิดเป็น 70.03%