วันที่เริ่มต้นด้วยเสียงไซเรนหลังการโจมตีทางอากาศได้ดังในตอนเช้าตรู่ (7 ตุลาคม 2566) กลายเป็นการโจมตีที่น่ากลัวที่สุดครั้งหนึ่งในรอบ 75 ปี คนร้ายจากกลุ่มติดอาวุธฮามาสในปาเลสไตน์ที่ควบคุมฉนวนกาซาและมีประชากรหนาแน่น สังหารผู้คนไปหลายร้อยคนและบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน
ล่าสุด กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล กล่าวว่า ชาวอิสราเอลที่ถูกสังหารนับตั้งแต่กลุ่มฮามาสเปิดฉากการโจมตีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 350 คน ขณะที่มีทหารราว 26 นายถูกสังหารในการโจมตีครั้งนี้ เเละกลุ่มฮามาสได้จับตัวประกันและเชลยศึก
ทั้งหมดกระตุ้นให้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ประกาศว่าประเทศนี้อยู่ใน "ภาวะสงคราม" และการระดมยิงโจมตีทางอากาศตอบโต้ของอิสราเอลต่อฉนวนกาซา ซึ่งได้คร่าชีวิตชาว ปาเลสไตน์อย่างน้อย 256 คนถูกสังหารในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ได้รับบาดเจ็บอีก 1,788 คน ตามการแถลงการกระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา
ส่วนประเทศไทย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่า สถานทูตฯ และฝ่ายแรงงาน ได้รับทราบรายงาน เกี่ยวกับแรงงานไทย พบว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 คน รอการช่วยเหลือจากกองทัพ 3 คน และเข้ารักษาตัวที่ รพ. Soroka แล้ว 5 คน มีผู้เสียชีวิต 1 คน และถูกจับ 11 คน ซึ่งไม่ได้มีแค่แรงงานไทยแต่ยังมีคนอิสราเอลด้วยที่ถูกจับไปเป็นตัวประกัน
ความขัดแย้งเข้าสู่วันที่ 2 (8 ตุลาคม 2566) กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ริชาร์ด เฮชท์ โฆษกนานาชาติของ IDF กล่าวว่า จุดที่ต้องโฟกัสคือการควบคุมฉนวนกาซา โดยจะโจมตีเป้าหมายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางทหารเเละเป้าหมายของกลุ่มฮามาสทั้งหมด ขณะเดียวกันปืนใหญ่ของกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) กำลังโจมตีพื้นที่ในเลบานอนเพื่อตอบสนองต่อการยิงจากเลบานอนเข้าสู่อิสราเอล
สำหรับเลบานอนและอิสราเอลถือเป็นความขัดแย้ง แต่การสู้รบระหว่างทั้งสองเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่ความขัดแย้งในปี 2006 มีการโจมตีด้วยจรวดขนาดเล็กหลายครั้งจากเลบานอนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการโจมตีตอบโต้จากอิสราเอล
เรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ ยังไม่ทราบชะตากรรมของตัวประกันหลายคน รวมถึงทหารอิสราเอลที่กลุ่มฮามาสอ้างว่าจับได้ เเละนี่คือสิ่งที่รู้จนถึงตอนนี้
ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์
เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งประเทศในปี 1948 ผู้คนหลายพันคนจากทั้งสองฝ่ายถูกสังหาร และอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บจากความขัดแย้งที่คุกรุ่นยาวนานในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา
ความรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้นในปีนี้ จำนวนชาวปาเลสไตน์ ทั้งกลุ่มติดอาวุธและพลเรือนที่ถูกสังหารในเขตเวสต์แบงก์โดยกองกำลังอิสราเอล มีจำนวนสูงสุดในรอบเกือบสองทศวรรษ เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลและชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน เสียชีวิตจากการโจมตีของชาวปาเลสไตน์
อิสราเอลและฮามาสมีส่วนเกี่ยวข้องในการสู้รบนับตั้งแต่เหตุการณ์อินติฟาดาของชาวปาเลสไตน์ครั้งแรกในปี 1987 หรือการลุกฮือต่อต้านการยึดครองฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ของอิสราเอล
อิสราเอลยึดฉนวนกาซาจากอียิปต์ในสงครามปี 1967 จากนั้นถอนตัวออกไปในปี 2005 ดินแดนดังกล่าวซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์ราว 2 ล้านคน ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มฮามาสในปี 2007 หลังจากที่กลุ่มฮามาสยึดอำนาจควบคุมฉนวนกาซา อิสราเอลและอียิปต์ก็กำหนดการปิดล้อมดินแดนดังกล่าวอย่างเข้มงวด
ก่อนปฏิบัติการเมื่อวันเสาร์ สงครามครั้งสุดท้ายระหว่างฮามาสและอิสราเอลเกิดขึ้นในปี 2021 ซึ่งกินเวลานาน 11 วัน และคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 250 คนในฉนวนกาซา และ 13 คนในอิสราเอล
การโจมตีเมื่อวันเสาร์เกิดขึ้นในวันครบรอบ 50 ปีของสงครามปี 1973 เพื่อนบ้านอาหรับของอิสราเอลเปิดฉากโจมตีอิสราเอลอย่างไม่คาดคิด ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินของชาวยิว วันที่ 6 ตุลาคม 1973
ฮามาสคืออะไร?
ฮามาสเป็นองค์กรอิสลามิสต์ที่มีฝ่ายทหาร หรือ ขบวนการต่อต้านเพื่ออิสลาม (Islamic Resistance Movement) ก่อตั้งในปี 1987 ในช่วงอินติฟาดาหรือการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ครั้งแรก ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านนิกายชีอะห์ และแบ่งปันอุดมการณ์อิสลามิสต์ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งก่อตั้งขึ้นในอียิปต์ในช่วงทศวรรษ 1920
เช่นเดียวกับกลุ่มปาเลสไตน์และพรรคการเมืองส่วนใหญ่ ยืนยันว่าอิสราเอลเป็นอำนาจที่ยึดครอง และกำลังพยายามปลดปล่อยดินแดนปาเลสไตน์ ถือว่าอิสราเอลเป็นรัฐที่ผิดกฎหมาย
การปฏิเสธที่จะยอมรับอิสราเอลเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมจึงปฏิเสธการเจรจาสันติภาพในอดีต ในปี 1993 อิสราเอลคัดค้านสนธิสัญญาออสโล ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)
กลุ่มนี้นำเสนอตัวเองเป็นรัฐบาลปาเลสไตน์ (Palestinian Authority PA) ซึ่งยอมรับอิสราเอลและมีส่วนร่วมในโครงการริเริ่มสันติภาพที่ล้มเหลวหลายครั้งด้วย ปัจจุบัน PA นำโดย มาห์มุดอับบา และตั้งอยู่ในเวสต์แบงก์ที่อิสราเอลยึดครอง
หลายปีที่ผ่านมา กลุ่มฮามาสอ้างว่าได้โจมตีอิสราเอลหลายครั้ง และได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรก่อการร้ายโดยสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอิสราเอล ขณะที่อิสราเอลกล่าวหาอิหร่านศัตรูตัวฉกาจว่าสนับสนุนกลุ่มฮามาส ทั้งด้านเงินทุน การจัดหาอาวุธ และการฝึกซ้อมรบ
มัสยิดอัล-อักซอ ในนครเยรูซาเล็ม
บริเวณอัล-อักซอ เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดในศาสนาอิสลามและศาสนายิว พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวมุสลิมรู้จักกันในชื่อ Al Haram Al Sharif (เขตศักดิ์สิทธิ์อันสูงส่ง) และสำหรับชาวยิวในชื่อ Temple Mount เป็นจุดชวนไฟของความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์มานานหลายทศวรรษ
ฮามาสกล่าวว่า ได้เปิดการโจมตีโดยตั้งชื่อปฏิบัติการโจมตีอิสราเอลว่า "พายุอัล-อักซอ" (Al-Aqsa Storm) ส่วนหนึ่งเพื่อปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
มีเพียงชาวมุสลิมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ละหมาดในบริเวณนี้ภายใต้ข้อตกลงเดิมที่มีมาเมื่อกว่าศตวรรษก่อน ผู้เยี่ยมชมที่ไม่ใช่มุสลิมจะได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมได้ในบางช่วงเวลาและเฉพาะบางพื้นที่ของอาคารเท่านั้น
แต่ชาวมุสลิมจำนวนมากในโลกกลัวว่าสิทธิในการเป็นผู้ละหมาดเพียงผู้เดียวที่นั่นถูกกัดกร่อน และสถานที่เหล่านั้นกำลังถูกคุกคามจากขบวนการชาวยิวที่อยู่ทางขวาสุดที่เพิ่มมากขึ้นและรัฐบาลที่อยู่ทางขวาสุดของอิสราเอล
การปะทะกันเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สถานที่ดังกล่าวระหว่างกลุ่มผู้แสวงบุญชาวปาเลสไตน์กับกองกำลังอิสราเอลบ่อยครั้ง ตำรวจอิราเอลได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่จู่โจมบริเวณนี้หลายครั้งเช่นกัน
อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งชาวปาเลสไตน์ต้องการเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต และเป็นที่ที่ประชาคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นดินแดนที่ถูกยึดครอง โดยอิสราเอลยึดเมืองนี้จากจอร์แดนใน สงคราม 6 วัน (Six Day War) ในปี 1967
การรักษาความปลอดภัยชายแดนของอิสราเอล ถูกตั้งคำถาม
กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) หลบเลี่ยงคำถามหลายครั้งว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นความล้มเหลวด้านข่าวกรองหรือไม่ ริชาร์ด เฮชท์ โฆษกนานาชาติ บอกกับ CNN ว่า อิสราเอลมุ่งเน้นไปที่การต่อสู้ในปัจจุบันและการปกป้องชีวิตพลเรือน และจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ตั้งแต่อิสราเอลถอนตัวออกจากฉนวนกาซาในปี 2005 อิสราเอลได้ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อรักษาชายแดนจากการโจมตีด้วยอาวุธใดๆ ที่ยิงจากในฉนวนกาซาเข้าสู่อิสราเอล และหยุดยั้งผู้ก่อการร้ายไม่ให้พยายามข้ามพรมแดนจากทางอากาศหรือใต้ดินโดยใช้อุโมงค์ เพื่อหยุดการโจมตีด้วยจรวด อิสราเอลได้ใช้ไอรอนโดม ซึ่งเป็นระบบป้องกันจรวดที่มีประสิทธิภาพซึ่งพัฒนาขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
อิสราเอลยังใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการสร้างระบบชายแดนอัจฉริยะพร้อมเซ็นเซอร์และกำแพงใต้ดินซึ่งตามรายงานของรอยเตอร์จะแล้วเสร็จในปลายปี 2021
ขณะที่อิสราเอลกล่าวว่ากลุ่มฮามาสยิงจรวดไปแล้ว 2,200 ลูก แม้ว่าจะไม่ได้เปิดเผยตัวเลขจำนวนลูกที่ถูกสกัดกั้นก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นว่ารั้วกั้นชายแดนทำงานได้ตามปกติหรือไม่
ปฎิกิริยาผู้เล่นหลักในภูมิภาค
รัฐทางตะวันตกประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาส และให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนอิสราเอล ในขณะที่รัฐอาหรับ รวมถึงรัฐที่ยอมรับอิสราเอล เรียกร้องความสงบ
ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล และประณามการโจมตีอิสราเอลอันน่าตกตะลึงของผู้ก่อการร้ายกลุ่มฮามาสจากฉนวนกาซาอย่างชัดเจน โดยพร้อมเสนอวิธีการสนับสนุนที่เหมาะสมทั้งหมดแก่รัฐบาลและประชาชนอิสราเอล
ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกำลังเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อทำให้ความสัมพันธ์กับอิสราเอลเป็นปกติ ระบุว่า กำลังติดตามสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างใกล้ชิด และเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหยุดการยกระดับความรุนแรงโดยทันที ตามคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศซาอุดิอาระเบีย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งรับรองอิสราเอลในปี 2020 เรียกร้องให้ใช้ความยับยั้งชั่งใจสูงสุดและการหยุดยิงทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงผลที่เป็นอันตราย
พลเอฟยาห์ยา ราฮิม ซาฟาวี ที่ปรึกษาของคาเมเนอี กล่าวว่า เราขอแสดงความยินดีกับนักรบชาวปาเลสไตน์ และจะยืนหยัดเคียงข้างจนกว่าจะปลดปล่อยปาเลสไตน์และดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเลม
กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กลุ่มติดอาวุธเลบานอนที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ชื่นชมการโจมตีดังกล่าว และกล่าวว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์กำลังติดต่อกับกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ทั้งในและต่างประเทศ
ข้อมูล
Israel says it is 'at war' after Hamas surprise attack
Israel accelerates plans to build underground wall on Gaza border
What is the Palestinian group Hamas?