ประดิษฐ์ปัญญา ฉากที่ 17

12 เม.ย. 2567 | 23:30 น.

ประดิษฐ์ปัญญา ฉากที่ 17 : คอลัมน์เปิดมุกปลุกหมอง โดย... ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3984

กูรูแดนยุโรปถามลูกศิษย์ในห้องเรียนว่า “วิศวกรเครื่องกล และ วิศวกรโยธา มันแตกต่างกันอย่างไร” หัวหน้าห้อง ตอบว่า “วิศวกรเครื่องกล เขาสร้าง อาวุธ! วิศวกรโยธา เขาสร้าง เป้าหมาย! ครับครู” (ฮา)

อันว่า กูรู เขาแปลกันถูกต้องแล้วว่า หมายถึง ผู้รู้ ครู อาจารย์ นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำที่ฉลาด ผู้ศักดิ์สิทธิ์ พฤหัสบดี นักเผยแผ่ แต่ทว่า มีอีกหลายล้านที่เขายังไม่รู้ว่า GURU มี “ความหมายระดับสารตั้งต้น” ตกหล่นหลุดจากคัมภีร์ไปอีกหนึ่งมิติ นักนิรุกติศาสตร์ระบุว่า “กูรู” GU กับ RU ในภาษาสัณสกฤต หมายถึง “ความมืด” กับ “แสงสว่างที่ขับไล่” ดังนั้น กูรู คือ “ผู้ปัดเป่าความมืดมนช่วยผู้คนที่ยังไม่หยั่งรู้”

ลา กับ ม้า เป็นสัตว์ต่างสปีชีส์ก็จริง มีโครโมโซมต่างกันก็ใช่ เมื่อ “ลาตัวผู้” ได้เสียกับ “ม้าตัวเมีย” นักวิชาการ เรียกว่า ผสมพันธุ์! ชาวบ้าน เรียกว่า ผสมพัลวัน (ฮา) คลอดแล้วได้ชื่อว่า ฬ่อ 

“สัตว์ปากเสีย”รวมหัวกันบูลลี่ว่า ไอ้ฬ่อ...ลูกครึ่ง ไอ้ฬ่อ...ลูกครึ่ง รู้กันบ้างไหมว่า เขาเกิดมาแล้วมีแววจะเป็นหมันกันเยอะ “หมอเดา” เห็นใจจึงตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “ล่อ” เล่นเอา พ่อลา ตัวดี แอบขำไปหลายวัน  (ฮา)

จำต้องเอามาแชร์ให้ ล่อ สบายใจว่า โลกนี้ไม่ได้มี สัตว์ลูกผสมข้ามสายพันธุ์ เฉพาะเขา โลกนี้ยังมีอีกหลายชีวิต อย่างเช่น ฮินนี่ (พ่อม้า + แม่ลา) ฮีบรา (พ่อม้า + แม่ม้าลาย)  ซอร์ส (พ่อม้าลาย + แม่ม้า) ซองกี้ (พ่อม้าลาย + แม่ลา) ดองกรา (พ่อลา + แม่ม้าลาย) ไทกอน (พ่อเสือ + แม่สิงโต)

ตามมาด้วย ไลเกอร์ (พ่อสิงโต + แม่เสือ) ลีโอพอน (พ่อเสือดาว + แม่สิงโต) ลิพาร์ด (พ่อสิงโต + แม่เสือดาว) จากลิออน (พ่อเสือจากัวร์ + แม่สิงโต) พูมาพาร์ด (สิงโตภูเขา + เสือดาว) แพะแกะ (แพะ + แกะ) ยัคคาโล (จามรี + ควายไบซัน) โฮลฟิน (พ่อวาฬ + แม่โลมา) คามา (อูฐ + ลามา) เป๊กพ่อไหมล่ะ! 

เซนส์ (Sense) คือ ความรู้สึกที่มากระทบกาย หรือ จิต เพียงแค่กระพิบตาก็จะกระตุ้นให้นึก เมื่อนึกอารมณ์ก็ย่อมกระเพื่อมนำพาไปให้ฉุกคิด พฤติกรรม หรือ ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เราเรียกกันว่า ความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิด จะงอกเงยเพิ่มพูนเป็นปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ตรงในการทำงาน หรือ การใช้ชีวิต 

ปฏิกริยาเหล่านี้จะฟักตัวเป็น “สามัญสำนึก”

วิสัยทัศน์ (Vision) คือ แลเห็น จึง เล็งเห็น เล็งเห็น ก็คิดเห็น คิดเห็น ต้องทำให้ได้เห็น ทำให้ได้เห็น จะเกิดตัวอย่างเกี่ยวกับ “การมองการไกล”

“สามัญสำนึก” กับ “การมองการไกล” ปิดไฟใส่กลอนร่วมเป็นทองแผ่นเดียวกันมันสะแด่วแห้ว!

วิศวกรสองคนมีรสนิยมต่างกันเป็นธรรมดา วิศวกรคนแรกถามคนที่สองว่า “คุณได้จักรยานยนต์คันดีๆ แบบนี้มาจากไหน” คนที่สองยิ้มแล้วตอบว่า “เมื่อวานกำลังเดินไปทำธุระ มัวคิดถึงงานที่ค้างอยู่ จู่ๆ ก็มีสาวสวยโยนจักรยานลงพื้น ถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด แล้วเธอก็พูดว่า เอาอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ ผมก็เลยคว้าเอาจักรยานมาขี่” 

วิศวกรคนที่สองพยักหน้าพูดจาเห็นด้วยว่า “คุณไม่เลือกเอาเสื้อผ้าที่เธออุตส่าห์ถอดทิ้งไว้ แสดงว่า ไซด์ของเสื้อผ้ามันคงจะคับไปหน่อยสำหรับคุณ” (ฮา) คนวงนอกคงจะคอมเมนท์เขาว่า “ไอ้โง่นั้นมันบ้า ถ้าเป็นข้าจะเอาคนไม่เอาของ” (อิๆ…)

 เพลโต นักปราชญ์โบว์แดง ท่านกล่าวเป็นอนุสติเอาไว้ให้คิดว่า…

ยลดูช่องแรก

“การมองเห็นแต่ไม่รู้จึงไม่เกิดสติปัญญา”

ช่องสอง

“ความคิดมีสติปัญญาแต่ก็ไม่ได้มองเห็น”

เราเคยได้ยินวาทกรรมผู้นำจีนมาหลายสิบปีท่าน ให้ความเห็นเอาไว้ว่า “จะเป็น แมวขาว หรือว่า แมวดำ ถ้าจับหนูได้ ก็ดีทั้งนั้น” มันก็อีหรอบเดียวกันเนี่ยแหละ ถ้า Sense กับ Vision สนธิเข้าหากันผกผันออกลูกมาเป็น ไฮบริด (Hybird) คือ “หัวคิดลูกครึ่ง

ใครเป็นคนรุ่นใหม่ต้องใคร่ครวญให้ไวว่า ยุคนี้เขานิยมผสมผสาน