กรอ.ลุยหาแนวทางกำจัดซากโซลาร์เซลล์

02 ก.ค. 2562 | 07:43 น.

กรอ.เดินหน้าหาแนวทางกำจัด และควบคุมซากโซลาร์เซลล์  เชื่อจะมีปริมาณเพิ่มากขึ้น  พร้อมเตรียมจัดตั้งโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม 4 ภูมิภาค  เน้นนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และเข้มงวดกฎหมายลงโทษผู้กระทำผิด

นายทองชัย  ชวลิตพิเชฐ  อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปีนี้ กรอ. กำลังศึกษาแนวทางในการกำจัดซากโซลาร์เซลล์ว่าควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป  เนื่องจากมองว่าซากดังกล่าวน่าจะต้องมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศ  โดยหากหมดอายุการใช้งานก็จะจ้องมีวิธีการจัดการ  ไม่ว่าจะเป็นารรีไซเคิล  หรือจัดการเรื่องกากของเสีย

กรอ.ลุยหาแนวทางกำจัดซากโซลาร์เซลล์

นอกจากนี้ กรอ. ยังได้ส่งผลศึกษาให้มีการจัดตั้งโรงงานกำจัด บำบัดและรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาคทั้ง 4 ภาค เพื่อแก้ปัญหาโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมในบางพื้นที่มีไม่เพียงพอที่จะรองรับกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องส่งกากอุตสาหกรรมไปกำจัดหรือบำบัดนอกพื้นที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ซึ่งจะต้องหารือกับการนิคมอุตสาหกรรมฯว่าจะทำในรูปแบบใด เช่น การตั้งโรงงานกำจัดกากภายในนิคมฯที่มีอยู่หรือจะสร้างนิคมฯใหม่ และจะต้องเลือกว่าจะตั้งในจังหวัดแต่ละภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคกำจัดกากขยะให้ถูกต้อง 
                ทั้งนี้  จะมีใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Aoto -E-licence  ติดตามรถขนส่งและของเสียอันตรายแบบ real time  ด้วยการติด GPS เพื่อแจ้งเตือนหากมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ขณะนี้ติดตั้งในรถขนส่งกำจัดกากไปแล้วจำนวน 900 คัน คาดว่าทั้งปีจะติดครบ 4,000 คัน  รวมถึงจะตรวจสอบการของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานในประเทศ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
                นายทองชัย กล่าวต่อไปอีกว่า กรอ.มีแผนที่จะผลักดันส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงานที่รับกำจัด /บำบัด/รีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 30 ล้านตันต่อปี เน้นส่งเสริมให้มีการจัดการกากอุตสาหกรรมในพื้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการกากอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น  เนื่องจากปัจจุบันในบางพื้นที่มีโรงงานรับกำจัดหรือบำบัดไม่เพียงพอที่จะรองรับกากอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้นๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องส่งกากอุตสาหกรรมไปกำจัดหรือบำบัดนอกพื้นที่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงมาก เช่น สัดส่วนโรงงานผู้ก่อกำเนิดต่อโรงงานผู้รับกำจัด/บำบัดในภาคเหนือ คือ 102 : 1 , ภาคใต้ 121 : 1 , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 : 1 ซึ่งต่างจากภาคตะวันออกที่มีสัดส่วน 12 : 1
                “จากข้อมูลการกระจายตัวเชิงปริมาณของโรงงานรับกำจัด/บำบัดในแต่ละภูมิภาค ดังนั้นการส่งเสริมการจัดตั้งอุตสาหกรรมที่รับกำจัด/บำบัด/รีไซเคิลกากอุตสาหกรรม ต้องมีการนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาประกอบการพิจารณา เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคใต้ โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ภาคตะวันออก โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีกากของเสียอันตรายในปริมาณค่อนข้างมาก เป็นต้น โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีในการบริหารจัดการเข้ามาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพด้วย

สำหรับข้อมูลสิ้นเดือนมิ.ย.62 พบว่า มีโรงงานบำบัดน้ำเสียที่ได้รับอนุญาตรวม 133 ราย ส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดน้ำเสียของบริษัทในเครือ  ,โรงงานเผาร่วมในการผลิตปูนซิเมนต์/ปูนขาว 12 ราย  ,โรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ 5 ราย, โรงงานเตาเผาของเสียอันตราย 4 ราย  ,Fรงงานเตาเผาของเสียไม่อันตราย 10 ราย  ,โรงงานคัดแยกของเสียไม่อันตราย 1,609 ราย, โรงงานฝังกลบของเสียไม่อันตราย 20 ราย, โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายและไม่อันตราย 3 ราย และโรงงานรีไซเคิล 960 ราย โดยภาพรวมโรงงานดังกล่าวมีทั้งดำเนินกิจการ รวมถึงยังไม่แจ้งประกอบกิจการ และมีการหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว เป็นต้น

อย่างไรก็ดี กรอ.ยังให้ความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายที่เข้มงวดเพื่อให้โรงงานมีการจัดกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง และถูกกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดให้เร่งรัดโรงงานเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง 100%  โดยล่าสุด กรอ. สามารถผลักดันให้โรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องแล้วจำนวน 32,986 ราย จากโรงงานทั้งหมด 67,989 ราย หรือคิดเป็น 48.52% ของโรงงานทั้งหมด แบ่งเป็นโรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 2,813 ราย หรือคิดเป็น 78.95% ของโรงงานที่อยู่ในนิคมฯ 3,563 ราย และโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมมีจำนวน 30,173 รายหรือคิดเป็น 46.83% ของโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯ 64,426 ราย

กรอ.ลุยหาแนวทางกำจัดซากโซลาร์เซลล์

ส่วนแนวทางในการคุมเข้มและตรวจสอบกากของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานในประเทศนั้น ทาง กรอ.มีกฎหมายที่ควบคุม และดูแลการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานในประเทศจากต้นทางไปถึงปลายทางอย่างเข้มงวด  เช่นโรงงานที่จะนำของเสียออกไปกำจัด บำบัด หรือรีไซเคิลนอกโรงงาน ต้องขออนุญาตจาก กรอ.ก่อน ส่วนโรงงานที่มีการกักเก็บของเสียไว้ภายในโรงงานเกิน 90 วัน ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลากักเก็บของเสียไว้ภายในโรงงานเช่นกันแต่หากดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

กรอ.ยังจัดโครงการยกระดับมาตรฐานการจัดการกากของเสียของโรงงานผู้รับกำจัด/บำบัด/รีไซเคิล เพื่อส่งเสริมให้โรงงานมีมาตรฐานการจัดการของเสียที่ดี พร้อมทั้งมีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Auto E-License เข้ามาเชื่อมโยงกับระบบติดตามรถขนส่งของเสียอันตรายด้วยการติดจีพีเอส ซึ่งจะช่วยในการกำกับดูแลการขนส่งของเสียอันตรายแบบเรียลไทม์และมีการแจ้งเตือนหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง

นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้งบประมาณปี พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงงานที่ประกอบกิจการคัดแยก ถอดประกอบ บดย่อย และรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีศักยภาพในการประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ ให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....

“การคาดการณ์ปริมาณกากขยะวัตถุอันตรายและของเสียอื่นๆ มีปริมาณ 30.94 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นกากอันตราย 1.74 ล้านตัน และไม่อันตราย 29.2 ล้านตัน โดยใน 9 เดือนของปีงบประมาณ 62 (ต.ค.61- มิ.ย. 62) มีปริมาณกากที่เข้าระบบแล้ว 13.184 ล้านตัน แบ่งเป็นกากอันตราย 925,000 ตัน และไม่อันตราย 12.259 ล้านตัน

กรอ.ลุยหาแนวทางกำจัดซากโซลาร์เซลล์

นายทองชัย กล่าวต่อไปอีกว่า ในส่วนของความคืบหน้าการออก พ.ร.บ. โรงงาน  และ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายนั้น  เชื่อว่าจะสมารถแล้วเสร็จทันวันที่ 27 มิถุนายน 62 เพื่อประกาศบังคับใช้  โดยพ.ร.บ. โรงงาน  จะถูกแบ่งเป็น 3 นัยยะ โดนก่อนหน้านั้นเรามี พ.ร.บ. 2512 ซึ่งเป็นเรื่องของการควบคุมตรวจสอบ  หลังจากนั้นจึงได้มีการปรกาศ พ.ร.บ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลต้องการที่จะส่งเสริม  ดังนั้น  พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้จึงเป็นช่วงของการกำกับดูแล  ขณะที่ พ.ร.บ. 2562 นั้น  มองว่าโรงงานทั้งหมดจะมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม  ความปลอดภัย  และเป็นโรงงานสมัยใหม่  เพราะฉะนั้น พ.ร.บ. ฉบับล่าสุดจึงจะเป็นการอำนวยควาสะดวก  รวมถึงส่งเสริม  และพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อไปสู่การแข่งขันในระดับสากล  ควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม  และความปลอดภัยที่เข้มข้นมากขึ้น

ส่วนพ.ร.บ. วัตถุอันตราย กฎหมายลูกจะต้องเสร็จให้ทันภายในวันที่ 27 ตุลาคม 62 โดยจะมีความเข้มงวดกว่าเดิมในเรื่องของการนำเข้ามา  หรือการส่งออกมาจะต้องมีการชี้แจงข้อมูล การนำผ่านจะต้องอยู่ในประเทศไม่เกิน 5 วัน  และมีตัวล็อกเพื่อไม่ให้มีปัญาในประเทศ