“นายกฯ”ตอบละเอียดยิบปมกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศราชกิจจาฯ

29 มี.ค. 2567 | 06:31 น.

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำตอบกระทู้ของ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯ ที่ถามโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล แจงละเอียดยิบถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำตอบกระทู้ ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ถามเรื่อง ปัญหาที่เกิดจากการใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ตอบกระทู้ ตามที่ได้รับรายงานจาก กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ดังนี้

จากการรายงานของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ทราบว่ามีการดําเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                      “นายกฯ”ตอบละเอียดยิบปมกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศราชกิจจาฯ

๑. ในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในรูปแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ และที่แก้ไข เพิ่มเติม และภาษีบํารุงท้องที่ ตามพระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยภาษีโรงเรือนและที่ดินใช้ค่ารายปี (จํานวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ) เป็นฐานในการคํานวณภาษี ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ และทําให้เกิดปัญหาในการประเมิน ค่ารายปี และมีการจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่ที่สูงถึงร้อยละ ๑๒.๕ ของค่ารายปี 

สําหรับภาษีบํารุงท้องที่จะใช้ราคาปานกลางของที่ดิน ตามที่คณะกรรมการพิจารณาราคาปานกลางของที่ดินกําหนดประจําปี พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔ มาใช้เป็นฐานในการคํานวณภาษี ซึ่งไม่สอดคล้องกับราคาที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลง 

อีกทั้ง ยังมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำและมีอัตราภาษีมากถึง ๓๔ ขั้น จึงทําให้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกนํามาใช้แทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นมา เพื่อปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีฐานทรัพย์สิน มีหลักการในการจัดเก็บภาษีที่พิจารณาจากความมั่งคั่ง ที่สะสมไว้ของบุคคลในรูปที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้าง

โดยจัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือผู้ ครอบครองหรือทําประโยชน์ในที่ดิน และหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี ซึ่งประเมินตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่กรมธนารักษ์จัดส่งให้เป็นฐานในการคํานวณภาษี และคํานวณภาษีตามอัตราที่กําาหนดพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔

ได้แก่ ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งกําหนดในลักษณะอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของทรัพย์สินแยกตามประเภทการใช้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีร้อยละ 0.00 - 0.9 อัตราภาษีร้อยละ ๐.๐๒ - ๑.๑ ใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม 0. หรือเป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษีร้อยละ ๐.๓ - ๐.๗ และทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีร้อยละ 0.0 - 0.๗ 

                     “นายกฯ”ตอบละเอียดยิบปมกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศราชกิจจาฯ

ดังนั้น การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทําให้ผู้เสียภาษีที่มีมูลค่า ทรัพย์สินสูงจะต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีมูลค่าทรัพย์สินต่ำ และกรณีผู้เสียภาษีที่มีทรัพย์สินในลักษณะเดียวกัน ขนาดเท่ากัน และมีการใช้ประโยชน์เหมือนกันก็จะมีภาระภาษีเท่ากัน 

อย่างไรก็ตาม หลักการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียภาษี

อีกทั้ง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จัดเก็บตามประเภทการใช้ประโยชน์ โดยผู้ที่ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่าจะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้นร้อยละ ๐.๓ และต้องเสียเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ทําให้ผู้ถือครองที่ดิน ๆ ปี จํานวนมากเริ่มเข้าไปทําประโยชน์ในที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจะทําให้เกิดประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามการใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่ละประเภทดังกล่าว จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง

๒. ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้ในการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเป็นไปตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์แห่งรัฐประจําจังหวัดกําหนด โดยการประเมินราคาที่ดินจะพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับตําแหน่งที่ตั้งของที่ดิน ลักษณะรูปแปลงที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสภาพแวดล้อม ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงการกําหนดราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 

การจัดทําบัญชีราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และแผนที่ประกอบการประเมินราคาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งกระทรวงการคลังออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๒ 

ทั้งนี้ กรณีหากพบว่า ที่ดินบริเวณใดมีราคาเฉลี่ยของราคาซื้อขายที่ดิน ต่างจากราคาประเมินตามบัญชีราคาประเมินที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เกินร้อยละสิบห้า คณะกรรมการประจําจังหวัด มีอำนาจกําหนดราคาประเมินที่ดินใหม่และแก้ไขราคาประเมินที่ดินดังกล่าว พร้อมทั้งจัดทําบัญชีราคาประเมินที่ดินใหม่ โดยไม่ต้องรอให้ครบรอบการใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินนั้น 

และในกรณีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ ให้พนักงานประเมินเทียบเคียงราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้าง ตามบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์ หรือ สํานักงานธนารักษ์พื้นที่จัดส่งให้ หากสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะซึ่งไม่สามารถเทียบเคียงตามบัญชีเทียบเคียงดังกล่าวได้ ให้พนักงานประเมินแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี น่าส่งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง เพื่อประกอบการพิจารณากําหนดราคาของสิ่งปลูกสร้างต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ตามมาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ 

ประกอบกับกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณมูลค่าที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒

ดังนั้น พนักงานประเมินจึงสามารถกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ของสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อจัดเก็บภาษีจากสิ่งปลูกสร้างได้

๓. มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กําหนด ความหมายของสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีว่า หมายถึง โรงเรือน อาคาร ตึก หรือสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม 

ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําในประเด็นเรื่องคํานิยามของ “สิ่งปลูกสร้าง” ไว้ว่า “สิ่งปลูกสร้าง” ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ มีความหมายต่างจากสิ่งปลูกสร้าง ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยต้องเป็นโรงเรือน อาคาร ตึก หรือ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้หรือที่ใช้เป็น ที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม 

ดังนั้น จุดรับส่งสัญญาณ กังหันลม แผงโซล่าเซลล์ จึงไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ 

                         “นายกฯ”ตอบละเอียดยิบปมกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศราชกิจจาฯ

อย่างไรก็ตาม มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบกับกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒ กําหนดให้กรณีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ ให้พนักงานประเมินเทียบเคียงราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้าง ตามบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้าง ที่กรมธนารักษ์ หรือสํานักงานธนารักษ์พื้นที่จัดส่งให้ 

และหากไม่สามารถเทียบเคียงตามบัญชีกําหนด ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างได้ ให้พนักงานประเมินแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนําส่งเอกสาร หรือ หลักฐานที่แสดงมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง เพื่อประกอบการพิจารณากําหนด ราคาของสิ่งปลูกสร้างต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว 

ดังนั้น หากสิ่งปลูกสร้าง อยู่ในคํานิยาม ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จะไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ก็ตาม พนักงานประเมินย่อมสามารถกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างนั้น เพื่อจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างได้ 

ทั้งนี้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีเจตนารมณ์สําคัญในการกระตุ้น และจูงใจให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างโดยจะจัดเก็บภาษีในอัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์ ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ได้แก่ 

๑) การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม 

๒) การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย 

๓) การใช้ประโยชน์อื่นนอกจากการใช้ประโยชน์ในการประกอบ เกษตรกรรมหรือใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย 

และ ๔) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม 

อย่างไรก็ดี การใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวย่อมต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๖๖ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น

๔. กรณีที่ดินที่มีการขุดดินไปขาย เติมทรัพย์สินดังกล่าวไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน เนื่องจากไม่มีโรงเรือนที่ใช้ประกอบกิจการ แต่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีบํารุงท้องที่ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน

เมื่อเปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินดังกล่าวยังคงอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในประเภทการใช้ประโยชน์อื่น นอกจากการประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย 

โดยเจ้าของที่ดินสามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้น

โดยที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม จะต้องเป็นการใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามความหมายของคําว่า “ประกอบการเกษตร” ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น การทําไร่ การปลูกผัก การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค จําหน่าย หรือ ใช้งานในฟาร์ม และจะต้องมีอัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ อัตราพื้นที่คอก หรือ โรงเรือน อัตราการใช้ที่ดิน หรือ มีลักษณะการใช้ประโยชน์ตามที่กําหนดด้วย 

ทั้งนี้ ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ และประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมและที่แก้ไขเพิ่มเติม  

ดังนั้น หากมีการนําที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างในเขตเมืองมาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม จะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามบัญญัติดังกล่าว จึงจะเข้าข่ายเป็นที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ดังนั้น แม้จะเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมก็จะมีภาระภาษีที่สูงตามอัตราภาษีในอัตราก้าวหน้าด้วย

                   “นายกฯ”ตอบละเอียดยิบปมกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศราชกิจจาฯ

๕. จากข้อมูลการจัดเก็บรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พบว่า ในปีภาษี พ.ศ. ๒๕๖๓ และปีภาษี พ.ศ. ๒๕๖๔ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จํานวน ๓,๕๕๘.๕๐ ล้านบาท และจํานวน ๔,๓๐๕.๙๗ ล้านบาท ตามลําดับ 

ทั้งนี้ เนื่องจากในปีภาษีดังกล่าว มีการลดภาษีร้อยละ ๙๐ ของจํานวนภาษีที่คํานวณได้ เพื่อบรรเทาภาระและผลกระทบให้กับประชาชน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 

อย่างไรก็ตาม ในปีภาษี พ.ศ. ๒๕๖๕ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จํานวน ๓๖,๑๗๙.๑๔ ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้จากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่จัดเก็บได้จํานวน ๓๖,๕๒๘.๐๕ ล้านบาท 

ทั้งนี้ ในระยะต่อไปคาดว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น จากฐานภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณภาษีจะมีการปรับปรุงทุก ๆ 4 ปี โดยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอนาคต 

นอกจากนี้ มาตรา ๓๗ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ยังได้ให้อํานาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกําหนดอัตราที่ใช้จัดเก็บภาษี ภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกากําหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราเพดานภาษีตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒

5. ปัจจุบันกระทรวงการคลัง และ กระทรวงมหาดไทย ได้มีการประสานงานร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงติดตามปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งกําหนดให้หน่วยงานเจ้าของกฎหมายต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมายอย่างน้อยทุก ๕ ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ 

รวมถึงรับฟังความคิดเห็น ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือ ความคิดเห็นจากผู้ซึ่งมีสิทธิหรือหน้าที่ หรือได้รับผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย นําไปสู่การปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา