การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่าง 14 - 19 พ.ย. 2565 นอกจากจะเป็นการประชุมหารือระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจแล้ว ยังมีเวทีย่อยแยกออกมาในการหารือแบบทวิภาคีอ โดยในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้กระทรวงพาณิชย์จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจะมีการนำเสนอแผนงานขับเคลื่อนสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) เพื่อให้ที่ประชุมเห็นชอบออกเป็นแถลงการณ์ ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายการทำงานของเอเปคในเรื่องดังกล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าถึงกำหนดการในการหารือกับประเทศคู่ค้าในเวทีประชุมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2565 (APEC Ministerial Meeting 2022: AMM) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2565ว่า ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 จะมีการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและในช่วงเย็น การเลี้ยงรับรองและงานเลี้ยงต้อนรับรัฐมนตรีเอเปค
และในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เป็นประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค หลังจากนั้นเป็นสักขีพยานการลงนาม MoU ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวันที่ 18-19 พฤศจิกายน เป็นการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29
“ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 จะมีกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจ เช่น การประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศ APEC Digital Prosperity Award เพื่อมอบรางวัลด้านการพัฒนา Mobile Application ที่เป็นเครื่องมือด้านนวัตกรรมในการพัฒนาการเติบโตอย่างครอบคลุมและมั่งคั่ง โดยเฉพาะภาคการเกษตร โดยต่อยอดผ่านการคัดเลือกจากผู้เข้าแข่งขันการพัฒนา Mobile Application ของการประกวด APEC App Challenge เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ขณะเดียวกัน”
ทั้งนี้เอเปค ประกอบด้วย สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนฯ แคนาดา ชิลี จีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลก มี GDP รวมกัน มูลค่า 52 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 62% หรือ 2 ใน 3 ของ GDP โลก นอกจากนี้ การจัดทำ FTAAP จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกเอเปคและไทย เนื่องจากไทยยังไม่มี FTA กับสมาชิกเอเปค อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา รัสเซีย และเม็กซิโก