รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป (1)

27 ก.ค. 2566 | 08:45 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ค. 2566 | 08:50 น.

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป (1) ผู้นำวิสัยทัศน์ กานต์กนิษฐ์ ทิพรัตน์ Strategic Planner Initiative Thailand

รู้จัก GEN Y

ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 - 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25 - 39 ปี ซึ่งนับเป็นประชากรกลุ่ม Working Adult ซึ่งในข้อมูลจาก

ปี 2566 ประชากรกลุ่ม GEN-Y มีจำนวนมากกว่า 14.57 ล้านคน ซึ่งนับเป็น 22% ของคนไทยทั้งประเทศ สำหรับ GEN Y ในช่วงยุคนี้มีประเด็นที่น่าสนใจหลายข้อ แต่ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือประเด็นเรื่องของการเติบโตจากนิยาม “วัยรุ่น” ยุค GEN Y ที่เติบโตในช่วงยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ในวันนี้เหล่าวัยรุ่นในยุคดิจิทัลเหล่านั้นได้กลายเป็น “ผู้ใหญ่” ที่เดินทางเข้าสู่วัยทำงานอย่างเต็มตัว

• +295% มีตำแหน่งสำคัญในหน้าที่การงาน

• +197% เป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง

• 55% ของ GEN Y มีบ้านและครอบครัวเป็นของตัวเอง

โดยชีวิตผู้ใหญ่ของ GEN Y เป็นความท้าทายใหม่ของพวกเขา โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาตนเอง ความก้าวหน้าทางอาชีพการงาน ไปจนถึงอิสระภาพทางการเงิน

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป (1)

ด้วยสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเติบโตมา เหล่า GEN Y เป็นคนที่คาดหวังความก้าวหน้าและพัฒนาตลอดเวลา เปิดรับสิ่งใหม่ได้ง่ายและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าคนยุคก่อนๆหน้า เช่น การเข้าคอร์สใหม่ๆ การเรียนรู้การลงทุนแบบใหม่ เช่น Crypto Currency เป็นต้น GEN Y จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นคือ

การสร้างชีวิตที่มีความหมายกับคนรอบตัวไม่ว่าจะเป็น คนสำคัญ เพื่อนๆ ครอบครัวหรือที่ทำงาน พวกเขามองหาความสัมพันธ์ที่ดีและมีความหมายเป็นเป้าหมายในการชีวิตและหาสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงานให้ได้หรือ Work Life Balance ที่มีส่วนผสมระหว่างชีวิตการทำงาน (Work) งานอดิเรกที่ตนเองชอบ (Play) และความรักและความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Love)

ความท้าทายที่ GEN Y กำลังเผชิญในวันนี้

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป (1)

แต่ว่าในช่วงชีวิตของ GEN Y แม้ว่าจะมีความฝันในการหาสมดุลในการใช้ชีวิตและการใช้ชีวิตให้มีความหมายนั้น สภาพทางการเงินและหน้าที่การงานของ GEN Y ก็ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยและอุปสรรคสำคัญของพวกเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันทางด้านการเงิน ที่จะต้องมีภาระการใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นและสภาวะทางจิตใจที่มีแนวโน้มต่ออาการป่วยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ทำให้เหล่าผู้ใหญ่หน้าใหม่ต้องเป็นอันตกงานหรือโดนปรับลดเงินเดือนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ความเครียดของเหล่า GEN Y เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด 

• ผลสำรวจของ Deloitte พบว่ามีเพียง 35% ของ Gen Y ที่มีความรู้สึกเชิงบวกต่อสถานการณ์ต่างๆในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า Gen Y มีความรู้สึกเชิงลบต่อสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

• เมื่อเทียบกับ GEN Z จะพบว่า GEN Y มีความรู้สึกเชิงบวกน้อยกว่าโดยเฉพาะในเรื่องของสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง 44% GEN Z vs 35% GEN Y และ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 30% GEN Z vs 27% GEN Y

(อ่านต่อฉบับหน้า)

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,908 วันที่ 27 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566