โดยเชิญผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่างมานั่งคุยกัน เพื่อหาหนทางทั้งในแง่มุมมองของเศรษฐศาสตร์และทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งก็ได้มือหนัก ๆ มาถกกัน อาทิ
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ และ พิชัย ชุณหวชิร รวมทั้ง ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ กูรูทางด้านดิจิทัล ซึ่งผลก็เป็นดังคาดครับ ฝ่ายที่เห็นด้วยก็ยังคงเห็นด้วย และรัฐต้องเดินต่อไปด้วยเหตุผลต่างๆ นานา
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ก็ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของนโยบาย รวมถึงความเสี่ยงทางด้านการคลังในอนาคต ซึ่งหลังจากที่ประชุม ประเด็นต่างๆ ได้ถูกนำไปขยายต่อในสื่อสาขาต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ดูน่าตื่นเต้น หรือบางรายก็มองว่า “ไม่น่ารอด” จนคนเชียร์มาตรการนี้รู้สึกว้าวุ่น
ในฐานะที่เป็นโต้โผการจัดงานครั้งนี้ ผมขอสรุปสาระสำคัญเป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นข้อมูล
ในการถกเถียงกันต่อในเวทีอื่น
การเสวนาครั้งนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็น ของผู้เข้าร่วมเสวนา ไม่ได้สะท้อนถึงความคิดเห็นขององค์กรหรือสถาบันของผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ก็อย่าไปโยงอะไรกันมากมาย ซึ่งสำหรับตัวผมเองแล้ว รัฐบาลดูเหมือนมีทางออกน้อย เพราะได้แจ้งกับ กกต. ไว้แล้วว่าตัวเงินที่จะใช้นั้นจะมาจาก 4 แหล่ง
แต่ทั้งหมดนั้นจะผ่านระบบงบประมาณรายจ่ายอยู่ดี และนายกรัฐมนตรีก็ได้แถลงเรื่องนี้ในรัฐสภาแล้วเช่นกัน ผมว่าช่วงนี้หยุดให้ข่าวและโต้กลับฝ่ายไม่เห็นด้วย ใช้เวลาไปหาทางแคะประเด็นในทางกฎหมายเรื่องแหล่งเงินให้ดี ๆ ครับ เพราะแม้ว่าหาแหล่งเงินได้แล้ว แต่ถ้าที่มาไม่ตรงกับที่แจ้งกับ กกต. ก็โดนหาเรื่องอยู่ดีครับ ตอนนี้เข้าใจว่ากำลังหาทางออกอยู่ แต่ผมเชื่อว่าอย่างไรก็แจกอยู่ดี แจกแน่ ๆ แต่จะแบบไหนก็ต้องรอดูว่าลำไม้ไผ่ พอเหลาแล้วจะเป็นอะไร