ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายใต้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สิ่งที่พบบ่อยที่สุดคือ “โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว” ซึ่งผู้ป่วยมากกว่า 50% มักไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้เข้าถึงการรักษาล่าช้าและเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 1.5 – 3.5 เท่า
โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจห้องบน ส่งผลให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งบ่อยครั้งทำให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติมากกว่าครึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งถือนำไปสู่การรักษาที่ล่าช้าได้
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรค ได้แก่ ใจสั่น เพลีย วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก และเกิดความวิตกกังวลระหว่างที่มีหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มีได้ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยที่ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน จนถึงกระทั่งรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่พบได้บ่อย ประกอบไปด้วย
การคัดกรองโรคมีความสำคัญมาก เพราะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ โดยนอกจากการเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอแล้ว การตรวจโดยใช้เทคโนโลยีสวมใส่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาหรืออุปกรณ์เฉพาะ สามารถตรวจจับการทำงานของหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ
การวินิจฉัยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย ตรวจชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เช่น ตรวจหาภาวะโลหิตจาง ไตวาย ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ และอาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor
หลักการในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ประกอบไปด้วย
ในส่วนของการรักษา ปัจจุบันนิยมใช้วิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจเพื่อทำให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ โดยแพทย์จะใช้สายสวนชนิดพิเศษ ใส่ไปในตำแหน่งทีมีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูงเท่ากับคลื่นวิทยุจี้ไปยังตำแหน่งที่มีความผิดปกติ
ขณะทำการรักษาผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึก จึงช่วยลดอาการเจ็บขณะทำหัตถการได้ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจไม่เพียงลดอาการของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยได้เท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอการดำเนินโรค ซึ่งอาจช่วยให้ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคได้เช่นกัน
การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ
ก่อนการทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้างหรือคอด้านขวาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะใส่สายสวน รวมทั้งจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย
การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ
หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่ห้องพักฟื้น 1 คืนเพื่อรับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงห้องพักต้องนอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดใต้ผิวหนัง หากมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้และรู้สึกอุ่น ๆ หรือพบว่ามีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที
“แม้ผู้ป่วยส่วนมากของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่โรคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะเป็นโรคที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่าคนปกติราว 1.5-3.5 เท่า
รวมถึงยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าร้อยละ 60 มีโอกาสสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดี, ร้อยละ 30 จะมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย, ร้อยละ 20 มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้า, และมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมราว 1.4 – 1.6 เท่า
นอกจากนี้ จากสถิติพบผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาตมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากถึงร้อยละ 30 โดยผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วยังมีความเสี่ยงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 10-40 ต่อปี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศราวุธ
ขอบคุณ : ผศ.นพ. ศราวุธ ลิ้มประเสริฐ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี