เคยมีคนถามผม พระพุทธเจ้าสอนอะไรกันแน่ เพราะว่า คำสอนในพุทธศาสนา คำก็ทุกข์สองคำก็ทุกข์
แล้วทำไมศาสนา สอนให้คนมีความรู้สึกแบบคิดลบในเรื่องของความทุกข์ ตลอดทั้งในเรื่องของความตาย อันนี้เป็นคำถามกับคนต่างประเทศที่ต่างศาสนา
ผมจึงบอกเขาไปว่า ความจริงแล้วศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งความสุข แต่ว่าทุกสิ่งอย่างเราจะมีความสุข ได้อย่างแท้จริงก็ต้องเรียนรู้ผ่านกระบวนการของความทุกข์
ความสุขเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงและความสุขก็มีหลายระดับ เพราะคำสอนอันสูงสุดของพระพุทธเจ้านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
แต่ความสุขเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้นได้นั้นเรา จะต้อง รู้จักคำว่าทุกข์ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นแล้วเราก็พยายามฝึกฝนให้เข้าใจถึงเหตุนั้น พยายามทำให้เหตุนั้นหมดไป ความสุขก็จะปรากฏขึ้นเอง
นี่จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญ ที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำสอนเรื่องความทุกข์ คงไม่ต่างอะไรกับเมื่อเราอยากจะกินผลมะม่วง ถ้าเราไม่รู้จักต้นมะม่วงแล้วเราจะสามารถ ได้ผลมะม่วงมากินได้อย่างไร
เหตุผลที่พระพุทธเจ้าสอนในหลักสติปัฏฐานสูตร ทำไมต้องเริ่มต้นที่สัมมาทิฏฐิ ก็เพราะว่าความคิดความเห็นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรานั้นเกิดความสุขและความทุกข์ได้นั่นเอง
ความสุขทั้งหลายเกิดขึ้นจากความคิด ความทุกข์ทั้งหลายก็เกิดขึ้นจากความคิด ความคิดหรือใน ธรรมะเรียกว่าจิตใจ เป็นสิ่งเดียวกัน สำหรับปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป
ถ้าสำหรับนักปฏิบัติ ในขั้นลึกๆ ความคิดก็คือความคิดจิตใจก็คือจิตใจแยกออกจากกัน ดังนั้นเราเป็นปุถุชนเราควรคอนโทนความคิดเอาไว้ให้ได้ ด้วยตัวระลึกรู้ในความรู้สึก อะไรคือตัวระลึก คำตอบคือ ตัวสติ
เราจงมีสติให้มั่นคง เราจงมีความคิดระลึกก่อนทำ ก่อนพูด ให้เกิดขึ้นอยู่ประจำ แล้วความทุกข์จะจางคลายทีน้อยๆ จริงๆ
ความทุกข์เกิดจากความคิดแล้วไปถึงความรู้สึก
ความสุขเริ่มต้นจากความคิดแล้วไปถึงความรู้สึกเช่นกัน