“อุทัย” เต้น หลังทราบข่าวรัฐหั่นงบ กยท.เหลือ 80 ล้านโวยไม่เป็นธรรม ชี้ กยท.บทบาทส่งเสริมมากกว่าค้ากำไร วอนกรรมาธิการ วาระ 2 เห็นใจ อย่านำภาษีค่าธรรมเนียมชาวสวนมาใช้ แนะงบกลางบริหารพืช เหมือนสินค้าตัวอื่น
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่ออกมาในรัฐบาลยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา49(1)เป็นงบสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้บริหารซึ่งงบนี้มีการถกเถียงกันในกรรมาธิการ.ว่าไม่พอใช้ ซึ่งผมเองในฐานะกรรมาธิการได้ใด้เหตุผลว่างบบริหารของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ควรจะใช้งบกลางไม่มาเบียดเบียนค่าจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมส่งออก หรือเงินเซสส์ ของเกษตรกร
“เกษตรกรชาวสวนยางเสียภาษีที่ดิน ภาษีรายใด้ ภาษีหัก ณที่จ่าย ฯลฯเหมือนพืชอื่นๆแต่ต้องมาถูกเก็บเซสส์ในการส่งออกยางต่างพืชอื่นอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม ถึงจะขาดทุนก็ถูกเก็บเพื่อนำมาใช้ในการปลูกแทนยางเก่าดังนั้นงบบริหารก็ควรที่จะต้องใช้งบกลางขึ่งจะไม่เป็นสองมาตราฐาน
นายอุทัย กล่าว เหตุผลที่ กยท.ควรจะได้งบสนับสนุนมากกว่านี้ เเพราะบทบาทอของ กยท.เป็นรูปแบบส่งเสริมมากกว่าการหารายได้ควรที่จะนำเงินเซสส์ มาตรา 49 (2 ) ถึง (6) ให้คืนเกษตรกรส่วนงบบริหารควรใช้งบกลางจากภาษีแต่ตรงกันข้าพ.ร.บ. กยท.ฯ ที่ออกมาในยุค คสช.รัฐบาล ต่อจากคสช. ก็คือนายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2559 กยท.ของบกลางเพื่อบริหารไป1,292 ล้านบาท แต่ให้ 600 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ) ล่าสุดให้งบประมาณแค่ 80ล้านบาท ซึ่งผิดกับพระราชบัญญัติกองทุนสวนยาง พ.ศ.2503 จนถึงพศ.2557 ไม่เคยถูกตัดงบประมาณเลย
“ผมในฐานะตัวแทนเกษตรกรขอเรียกร้องรัฐบาลว่าไม่ควรตัดงบ เพราะว่า กยท.เป็นองค์กรส่งเสริมไม่แสวงหากำใรมาบริหารโปรดเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันและให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรชาวสวนยางที่ยอมเฉือนเนี้อตัวเองมาเป็นเงินกองทุนพัฒนาฯ ตามกฎหมาย ซึ่งรัฐ คสช.คลอดออกมาแต่ไม่ยอมให้ใช้งบกลางจากภาษีเหมือนพืชอี่นๆแล้วจะให้เกษตรกรยอมให้เงินเซสส์ได้อย่างไร ดังนั้นกรรมาธิการวาระ2.กำลังจะพิจารณาขอให้มีการทบทวนเพิ่มงบประมาณให้มากกว่านี้ด้วย”