นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน ณ วันที่ 3 มีนาคม 2563 จำนวน 34,579ลำ รัฐบาลจดทะเบียนให้ และมีขนาดเกิน 10ตันกรอส ที่มีทะเบียน จำนวน 262 ลำ ไม่มีทะเบียน จำนวน 95 ลำ รวมแล้ว เรือที่ขนาดเกิน 10 ตันกรอส จำนวน 357ลำ ในจำนวน 95 ลำที่ไม่มีทะเบียน และมีขนาดเกินจะต้องยกระดับมาเป็นประมงพาณิชย์ เมื่อของเก่าไม่มีใบอนุญาตทำการประมงได้หรือไม่
“ก่อนหน้านี้พื้นบ้านไม่ได้เข้มงวดไม่มีทะเบียน ไม่มีใบอนุญาต สามารถนำเรือก็ออกไปทำการประมงทำมาหากินได้ แต่พอมาเป็นประมงพาณิชย์ต้องขอใบอนุญาตก็มองว่าคงจะขอไม่ได้ แต่ถ้าไปขอทำเครื่องมือประสิทธิภาพต่ำก็อาจจะทำประมงได้ แต่พอไปขอทำเครื่องมือใหม่จะมีความถนัดหรือไม่ ถ้าไม่ถนัดก็ทำยาก ส่วนอีก 200 กว่าลำ จะต้องเข้าไปคณะของทำงานของ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการ แก้ไขปัญหาการทำประมง และแรงงานในภาคประมง กรั่นกรองว่าเคยมีประวัติทำผิดหรือไม่
นายกำจร กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีประมงพาณิชย์กว่า 600 กว่าลำ จากเรือที่ได้ใบอนุญาตกว่าหมื่นลำ ยังมีปัญหาก้ำกึ่งผิดเล็กผิดน้อย กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา ส่วนอีก 8 พันลำไม่มีปัญหาก็สามารถต่อใบอนุญาตได้ปกติ ดังนั้นเมื่อรวมแล้วทั้งประพาณิชย์และพื้นบ้านรวม กว่า 700 ลำ มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้ใบอนุญาตทำการประมง อย่างไรก็ดีการเจรจายังไม่จบต้องรอลุ้นการประชุมรอบหน้าใหม่อีกครั้ง
ด้านนายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากพื้นบ้านที่วัดขนาดเกิน 10 ตันกรอส มีความเดือดร้อนจริงต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้อง เพราะทางสมาคมก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ก็แค่ทราบข้อมูลจากเจ้าหน้ากรมประมงเท่านั้น แนะนำว่าให้ไปหาองค์กรประมงพาณิชย์ก็ได้ หรือมาองค์กรนี้ก็ได้ แต่นี่ไม่ทราบจริงๆ ว่าต้องการอย่างไร
นายพิชัย แซ่ซิ้ม นายกสมาคมการประมงสมุทรปราการ กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่ขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์รอบปี 2563-2564 จะติดซีลล้อคเคร่าบน เป็นพลาสติกกับอวน ลำละ 1 ปาก โดยใส่ปากที่เคร่าอวนยาวที่สุด และหากตัวซีล ล้อค เคร่าบนหลุดหาย จะต้องแจ้งให้ศูนย์ปีโป้ ทราบ และให้มาติดใหม่ ซึ่งจากการสอบถามไต๋เรือ บอกว่า ไม่น่าจะทนทาน ปล่อยอวน ไม่กี่ครั้งก็หลุดหมดแล้ว
ส่วนกรอบระยะเวลาการขอรับใบอนุญาตประมงและหนังสือรับรองการต่อใบอนุญาตใช้เรือ ของกรมเจ้าท่า ขอให้มีการทบทวนให่มในปี2565-2566 เนื่องจากการต่อใบอนุญาตใช้เรือมในรอบนี้ไม่ใช่หมดอายุ พร้อมใบประมงพาณิชย์
แต่หมดอายุพร้อมกับใบสำคัญการตรวจเรือ ซึ่งจะทำให้ชาวประมง มีโอกาสผิดพลาดที่จะลืมต่อใบอนุยาดใช้เรือ และ อาจถูกยกเลิกทะเบียนเรือได้ จึงขอเสนอให้ ทำแบบที่ผ่านมาคือ หมดอายุพร้อมใบประมงพาณิชย์
นอกจากนี้การออกใบอนุญาตประมงพาณิชย์และหนังสือรับรองการต่อใบอนุญาตใช้เรือนั้น ควรเพิ่มเป็น 30 วัน เนื่องจากกรอบเวลา 15 วันนั้นน้อยไป เรือจะต้องกลับเข้ามาจำนวนมาก ที่จอดเรือ ไม่พอเพียง รวมถึงการวัดขนาดเครื่องมือก่อนออกทำประมง นี่เป็นเสียงสะท้อนของชาวประมงจังหวัดสมุทรปราการ
ท้ายสุดนี้ นายพิชัย กล่าว ทางสมาคมสมุทรปราการต้องขอขอบคุณ "คุณฉัตรชัย เวชสาร" ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรปราการ ที่ได้อำนวยความสะดวกทำให้การต่อใบอนุญาตใช้เรือให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว