ความคืบหน้าโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ มาตรการเยียวยาเกษตรกร ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือถึงสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อขอขยายเวลาการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนหรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงทะเบียนให้สมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม จำนวน 38,737 ราย รวมถึงกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการแต่ ยังไม่สามารถจ่ายเงินได้ทันภายใน 31 กรกฎาคม 63 โดยให้ขยายไปถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2563 และจ่ายงวดเดียว 15,000 บาท เกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ www.moac.go.th ตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com
อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ 10 ล้านราย ต้องไม่ซ้ําซ้อนกับการได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการ"เราไม่ทิ้งกัน" และผู้ที่ได้รับ สวัสดิการผ่านระบบข้าราชการบํานาญของกรมบัญชีกลาง และมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนของสํานักงานประกันสังคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ถึง 29 กรกฎาคม 2563 ธ.ก.ส.ได้โอนเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ไปแล้ว 3 รอบ รวมวงเงิน 112,025 ล้านบาท ดังนี้
หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร รัฐบาลยังมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรภายใต้โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ โครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า โครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง รัฐบาลจะประกันรายได้ที่หัวมันสำปะหลังสด เชื้อแป้ง 25% ในพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 100 ตัน
เกษตรกรที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาส่วนต่างโครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง ต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตร หลังจากปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว 15 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2563 – 31 มีนาคม 2564 เป็นเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังด้วยตนเอง และกรรมสิทธิ์เป็นของเกษตรกร แจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร นับจากวันที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน
กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 30 พฤศจิกายน 2564 ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกวันที่ 1 ของเดือน ระยะเวลา 12 เดือน
สำหรับการจ่ายเงินส่วนต่างงวดแรก ครอบคลุมเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งเพาะปลูก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ระบุวันคาดว่าเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2563
สำหรับการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดสุดท้าย ครอบคลุมเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคู่ขนาน 4 มาตรการ ประกอบด้วย