แก้ปัญหาราคายางตก “ทำสวนยางยั่งยืน” จริงหรือ?

25 ส.ค. 2563 | 05:10 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ส.ค. 2563 | 12:17 น.

​​​​​​​บอร์ด กยท. ลั่นเล็งประกาศควบคุมยางโลก ปลุกชาวสวนไทย ทำสวนยางยั่งยืน นี่คือทางออกของประเทศ จะแก้ปัญหาราคายางตกต่ำได้ชัวร์

สุนทร รักษ์รงค์

 

นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) และเลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) เผยว่า การทำ "สวนยางยั่งยืน" คือการประกาศอธิปไตยทางเศรษฐกิจของชาวสวนยาง ซึ่งในช่วงแรก มีเป้าหมายสวนยางยั่งยืนรวม 8 ล้านไร่ มาจากสวนยางปลูกแทน 2 ล้านไร่ และสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 6 ล้านไร่

 

"แต่ถ้า ชาวสวนยางยั่งยืน 8 ล้านไร่ เมื่อมีรายได้จากการปลูกพืชร่วมยาง การปลูกต้นไม้ และทำเกษตรผสมผสาน จนมีรายได้เพียงพอ และไม่ง้อรายได้จากขายยางเพียงอย่างเดียว วันนั้นชาวสวนยางยั่งยืนประกาศหยุดกรีดยางทั่วประเทศผลผลิต หรือซัพพลายจะหายไป 2 ล้านตัน เราจะ "ควบคุมราคายางของโลก" ได้ ต่อไปถ้าเราสามารถทำสวนยางยั่งยืนได้ทั้ง 20 ล้านไร่ หยุดกรีดชั่วคราวแล้วผลผลิตยางหายไป 5 ล้านตัน ขณะที่โลกต้องการใช้ยาง 13 ล้านตัน อะไรจะเกิดขึ้น คิดเองได้"

 

 

แก้ปัญหาราคายางตก “ทำสวนยางยั่งยืน” จริงหรือ?

 

นายสุนทร กล่าวในตอนท้ายว่า ต้องใช้ชุดความคิดใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ทางออกและคำตอบ "สวนยางยั่งยืน" แต่การใช้วิธีการเดิมๆ เพื่อหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง เรียกว่าคนโง่(อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้) ควบคู่การแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า การเพิ่มการใช้ยางในประเทศ และการหาตลาดใหม่ก็ทำไป นี่คือทางออกที่ยั่งยืน ที่จะแก้ปัญหาทางออกแก้ปัญหาราคายางตกต่ำได้ หากทุกคนร่วมมือร่วมแรงใจ