1.สูตรปราศจากน้ำตาล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารทดแทนน้ำตาลออกมาจำหน่ายในตลาดจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โยเกิร์ต ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม
2. การผสมผสานของรสชาติที่หลากหลายเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยรสชาติที่นิยมนำมาเติมแต่งเป็นส่วนประกอบในอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ โซดา กาแฟ และแอลกอฮอล์ อาทิ ไอศกรีมผสมแอลกอฮอล์ชาผูเอ่อร์รสกาแฟ น้ำผลไม้ผสมโซดา เป็นต้น
3.รสชาติที่แปลกใหม่ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภคต่อเนื่อง อาทิ รสผักชี รสสาหร่ายวาซาบิ เป็นต้น
4. ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ที่มีผู้บริโภควัยหนุ่มสาวของจีนกำลังเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารถูกผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ อาทิ โปรตีนเวเฟอร์ เค้กเวย์โปรตีน และ เครื่องดื่มเวย์โปรตีน
5.การเพิ่มสรรพคุณหรือฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ให้กับอาหาร จากผู้บริโภคชาวจีนหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น โดยสรรพคุณที่นิยมนำมาเพิ่มลงในอาหาร ได้แก่ สรรพคุณการเสริมความงาม การดูแลและปรับสมดุลของลำไส้และการดูแลสภาพจิตใจ โดยมักนิยมผลิตออกมาในรูปแบบของขนมที่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น อาทิ เยลลี่กรดไฮยาลูรอนิก น้ำผลไม้โพรไบโอติกส์ เป็นต้น
6.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีระดับแอลกอฮอล์ต่ำ จากรายงานการค้าในช่วงเทศกาลคนโสดจีน 11.11 ปี 2563 เพียงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1-3 พ .ย.2563 เหล้า ผลไม้มียอดการจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 11 เท่าตัว โดยชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ เหล้าผลไม้เหล้าสาเก และเครื่องดื่ม โซดาผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น
7. อาหารสำเร็จรูปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงง่ายสุกเร็ว ที่ตลาดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังเกิดสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีแบรนด์สินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวรวมมิตร เป็นต้น
8.ซอสปรุงรส ที่ปัจจุบันถูกผลิตออกมาในรูปแบบเพื่อสุขภาพมากขึ้นและมีหลากหลายรสชาติอาทิ ซอสปรุงรสที่มีระดับเกลือต่ำ ซอสปรุงรส สูตรเกษตรอินทรีย์ ซอสรสบาร์บีคิว ซอสผักดอง เป็นต้น
9. อาหารที่มีโปรตีนสูง ที่นิยมบริโภคในกลุ่มชนชั้นกลางและกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างชาว Gen Z โดย ตลาดอาหารประเภทนี้เริ่มจากความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมไปจนถึงขนมหรืออาหารว่างที่มีส่วนประกอบของโปรตีน สูง อาทิ โยเกิร์ต Ambrosial สไตล์พื้นเมืองกรีซ, แผ่นปลาทอดกรอบแบรนด์ เป็นต้น
10.อาหารที่ทำจากพืช (Plant-based Food) เป็นที่นิยมอย่างมาก จากกระแสรักสุขภาพและกระแสรักษ์โลกที่ จากสถิติการลงทุนในช่วงปี 2562-2563 ธุรกิจอาหาร Plant-based Food ในจีนเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 500 โดยอาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากพืชถูกผลิตออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ เกี๊ยวน้ำ และ โยเกิร์ต เป็นต้น
ทูตพาณิชย์ระบุว่า ปัจจุบัน ตลาดอาหารและเครื่องดื่มในจีนมีแนวโน้มและรสนิยมแปลกใหม่เกิดขึ้นมากมาย ผู้ประกอบการไทย จึงต้องคอยติดตามรสนิยมใหม่ ๆ และศึกษาเทรนด์ตลาด รสนิยม ค่านิยม และพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสามารถเจาะลึกและเข้าถึงตลาดจีนได้อย่างแท้จริง
โดยหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวจีนนิยมจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ในปี 2563 มูลค่าการค้าปลีกออนไลน์คิดเป็น 11.76 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 58.8 ล้านล้านบาท) เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.9 โดยมูลค่าการค้าปลีกออนไลน์ของสินค้าอาหารเติบโตกว่าร้อยละ 30.6
ดังนั้น แพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซจึงถือเป็นช่องทางการนำสินค้าไทยเข้ามาเจาะตลาดจีนที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการไทยสามารถร่วมมือกับ KOL (บุคคลที่มีอิทธิพลทาง ความคิด) ที่มีชื่อเสียงในจีน หรือ KOC (ลูกค้าที่ใช้สินค้าด้วยตัวเอง) เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าไทยผ่านทางออนไลน์ หรือ ร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ของจีน อาทิ Tmall Global, JD.com, vip.com เป็นต้น เพื่อใช้ใช้แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าไทยได้ตรงตามโจทย์ของผู้บริโภคให้มากที่สุด
ที่มา : หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,661 วันที่ 14 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2564