‘ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ’ งานจิตอาสารองหมู สู่อาชีพช่วยเกษตรกร

11 มิ.ย. 2564 | 05:00 น.

รถตุ๊ก ๆ "ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ By รองหมู"จอดแจกฟรีหน้าโรงพยาบาลลานนา เขียงใหม่ ทดสอบตลาด พัฒนาสูตร ก่อนเปิดขายเป็นทางการต่อไป จากกิจกรรมจิตอาสาสู่อาชีพเพื่อช่วยเกษตรกร

รถตุ๊ก ๆ "ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ By รองหมู"จอดแจกฟรีหน้าโรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ เพื่อให้กำลังใจทีมแพทย์พยาบาล และผู้รับบริการ ตลอดจนทดสอบตลาด พัฒนาสูตร ก่อนเปิดขายเป็นทางการต่อไป โดยต่อยอดจากกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชนบ้านแปะ จอมทอง เพิ่มช่องทางระบายผลผลิตให้ผู้เลี้ยงแพะ

‘ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ’ งานจิตอาสารองหมู สู่อาชีพช่วยเกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปลายเดือนพ.ค. 2564 ที่หน้าโรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ พันตำรวจเอก ปิยะพันธ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ จิตอาสาพระราชทาน 904 รหัส 3ก-365 ได้นำรถสามล้อตุ๊กๆ “ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ  By รองหมู” มาแจกจ่ายให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปได้รับประทานเพื่อคลายร้อน ในภารกิจควบคุมการระบาดเชื้อโควิด-19 ซึ่งได้รับความสนใจล้นหลาม ทั้งชื่นชมที่ไอศครีมมีรสชาติอร่อย และนมแพะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

‘ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ’ งานจิตอาสารองหมู สู่อาชีพช่วยเกษตรกร

แรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมนี้ พ.ต.อ.ปิยะพันธ์ บอกว่า ชอบรถรถตุ๊กตุ๊กอยู่ก่อนแล้ว เพราะน่ารัก และปีที่ผ่านมาได้ไปทำงานจิตอาสา ที่บ้านดงเย็น ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเกษตรผู้เลี้ยงแพะในโครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริ จึงศึกษาดูงานกิจกรรมฟาร์มแพะ และการทำไอศครีมจากนมแพะของชาวบ้าน ที่มีรสชาติอร่อย นมแพะจากฟาร์มได้รับใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ มีการจัดการฟาร์มที่ดี จึงสานฝันต่อด้วยการดัดแปลงรถสามล้อตุ๊กตุ๊กเก่าที่บ้าน มาตกแต่งทำสีใหม่ และจัดซื้อนมแพะมาผลิตเป็นไอศครีม ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมอาชีพช่วยชาวบ้านไปด้วย

 

‘ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ’ งานจิตอาสารองหมู สู่อาชีพช่วยเกษตรกร

 

‘ปิงปิง ไอศครีมนมแพะ’ งานจิตอาสารองหมู สู่อาชีพช่วยเกษตรกร

“ปิงปิง... ไอศครีมนมแพะ By รองหมู” เบื้องต้นนี้ลงทุนไปกว่า 8 หมื่นบาท สำหรับคันนี้เป็นรถสามล้อตุ๊กตุ๊กทดลองขายสินค้าคันแรก ขณะนี้กำลังทดลองสูตรไอศรีม และทดลองตลาด โดยนำไปจอดแจกจ่ายที่โรงพยาบาลลานนาเป็นที่แรก เมื่อพัฒนาสูตรได้รสชาดที่ดี และพัฒนาเทคนิคการขายลงตัวแล้ว ก็อาจจะทำเป็นศูนย์จำหน่ายนำไปจอดขาย ตามงานต่างๆ เพื่อระบายนมแพะ ให้กับชาวบ้านต่อไป ผู้สนใจสั่งไปเลี้ยงโรงทาน หรือจัดเลี้ยง ติดต่อได้ที่โทร. 065-431-3607 

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,687 หน้า 10 วันที่ 13 - 16 มิถุนายน 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง