วันนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญในการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคโควิด ที่ไม่มีใครอยากไปไหนไกลบ้าน
นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ฉายภาพภูมิทัศน์ของ “โชห่วยไทย” ที่เปลี่ยนไปและต้องปรับตัวให้ อยู่รอดอย่างยั่งยืน มีความ S-M-A-R-T และต้องเป็น “มิตรแท้ชุมชน”
- สมาร์ทโชห่วย
ด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจของตลาดร้านค้าโชห่วยไทย 1.03 ล้านล้านบาท ที่กรมพัฒนาธุรกิจเปิดเผย ทำให้ “โชห่วย” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ธรรมดา เพราะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และกำลังเป็นทางเลือกการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค และของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน สำหรับประชาชนที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเดินทาง เพื่อลดความเสี่ยงยุคโควิด
แม็คโครในฐานะที่คลุกคลีและใกล้ชิดกับธุรกิจโชห่วยมาเกือบ 32 ปี ได้เห็นประเด็นสำคัญและวิเคราะห์หาแนวทางการต่อยอดอย่างยั่งยืนให้ร้านค้าโชห่วย ด้วยโครงการ MRA Plus โมเดลความสำเร็จใหม่ภายใต้กลยุทธ์ S-M-A-R-T นั่นคือ S- Sustainable (การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน), M- Manageable (เก่งการจัดการ), A- Adaptable (ปรับตัวว่องไว), R-Relationship (มีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมในชุมชน) และ T- Technology (ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพร้านค้า) ที่เหมาะกับยุคสมัยของการฟันฝ่าทุกวิกฤติ
-เพิ่มช่องทางสร้างรายได้
หัวใจสำคัญของการทำร้านโชห่วยให้เติบโตอย่างยั่งยืนคือ การผสมผสานสินค้าที่ทำกำไรได้ดี ดังนั้นหากรู้จักบริหารจัดการ เพิ่มช่องทางสร้างรายได้จากสินค้าและความแตกต่างที่ช่วยเพิ่มยอดขายและทำกำไรได้ดี ก็จะช่วยให้ธุรกิจเล็กๆ เดินหน้าต่อไปได้ กลายเป็น “สมาร์ทโชห่วย” ที่เข้มแข็ง
“ในโครงการนี้ แม็คโครวางบันไดการเติบโตของร้านค้ารายย่อยสู่เป้าหมายการเป็น ‘มิตรแท้ชุมชน’ ผ่านการเชื่อมโยงบริการต่างๆ ที่จะเข้ามาต่อยอด สร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ ที่เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ พร้อมกับเติมเต็มองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ครบเครื่องผ่านการทำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการบริหารจัดการร้านค้า สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์โชห่วย แนะนำการให้บริการดีลิเวอรี่ และการปรับปรุงร้านให้มีความทันสมัย”
สำหรับ บริการเสริมเพิ่มรายได้ ที่แม็คโคร สนับสนุนและส่งเสริมให้โชห่วย ประกอบด้วย
• ‘ตู้ครัวชุมชน เพิ่มกำไร’ จากตู้อาหารแช่แข็งอาหารพร้อมปรุง ตู้แช่ผักผลไม้ ชั้นวางเครื่องปรุง เพื่อตอบกระแสการซื้ออาหารบริโภคจากร้านใกล้บ้านในชุมชน
• ‘คาเฟ่ชุมชน’ ที่นำตู้กดกาแฟสดมาสร้างรายได้ เรียกคืนกลุ่ม สภากาแฟ ในชุมชน
• ‘โชห่วยสะดวกซัก’ จากเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าปัจจุบัน
• ‘เพิ่มจุดบริการออนไลน์’ เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น รับประกันภัย ต่อ พ.ร.บ. ส่งพัสดุ ฯลฯ
-“มิตรแท้ชุมชน”
ด้วยเครื่องมื่อและบริการเสริมเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ที่แม็คโครออกแบบนั้น จะมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ถ้าโชห่วย ก้าวไปนั่งอยู่ในใจของคนในชุมชน เป็น ‘มิตรแท้ชุมชน’ ที่เกิดขึ้นจากการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเหนียวแน่น ซึ่งที่ผ่านมา มีร้านค้าที่ทดลองนำโมเดลนี้ไปใช้แล้ว ปรากฏว่า ประสบความสำเร็จ ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบ 50% จากการเป็นทุกอย่างให้คนในชุมชนจริง ๆ
นอกจากธุรกิจค้าปลีกเล็ก ๆ ในชุมชน เป็นตัวเลือกสำคัญในการจับจ่ายสินค้าจำเป็นใกล้บ้านแล้ว ปัจจุบันยังเป็นช่องทางสำคัญของรัฐบาลในการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังประชาชน ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ม.33 เรารักกัน รวมถึงเป็นแหล่งจ้างงานในชุมชนและช่องทางการกระจายสินค้าที่สำคัญในระดับท้องถิ่น
นางศิริพร ยังกล่าวอีกว่า “แม็คโครเชื่อว่า โมเดลการพัฒนาสมาร์ทโชห่วย จะเป็นโมเดลต้นแบบในการช่วยเหลือโชห่วยไทยที่มีมากกว่า 500,000 รายให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนภายใต้การเป็นมากกว่าร้านค้า แต่เป็น มิตรแท้ให้ชุมชน”
ทั้งนี้ แม็คโคร ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “มหกรรมสินค้าลดแรงเพื่อผู้ประกอบการ” ที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือนยาวไปถึงสิ้นปี ล่าสุดจัดขึ้นวันที่ 16-20 มิถุนายนนี้ ณ สาขาของแม็คโครทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอสินค้าราคาดีทำกำไรได้ มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเล็กๆ ในระบบเศรษฐกิจฐานรากมีกำลังใจฟันฝ่าธุรกิจไปด้วยกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“แม็คโคร”ลุยรับซื้อสินค้าจากเกษตรกรเพิ่ม 20% ช่วยฝ่าโควิด
“แม็คโคร”ผนึกกระทรวงเกษตรฯ เร่งระบายฟักทอง
แม็คโครจัดสินค้าฟรี3,500ร้านค้าหมู่บ้าน